ReadyPlanet.com


ลูกไม่ยุติธรรมกับพ่อ


ผู้เขียนมีเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับที่ บ้านอย่างเหนียวแน่น เพราะมีกำแพงบ้านติดกัน เพื่อนบ้านคนนี้เป็นแม่ม่ายลูกชายติดสามคน แต่อยู่มาวันหนึ่งเธอแต่งงานใหม่และมีลูกชายเพิ่มอีกหนึ่งคน เธอรักลูกคนนี้มาก เฝ้าฟูกฟัก รักและเอาอกเอาใจทุกอย่างจนเติบใหญ่ เวลาผ่านไป 25 ปี ลูกชายคนเล็กนี้แต่งภรรยาเข้าบ้าน ส่วนลูกคนอื่นๆ ย้ายไปทำมาหากินที่อื่น

ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเพื่อนบ้านหญิงคนนี้ดู จะอบอวนด้วยความสุข จนกระทั่งสามีเธอได้ตายจากไป ลูกชายและลูกสะใภ้ยังดูแลเธอเป็นอย่างดีต่อมา จนกระทั่ง 3 ปีให้หลังเธอคิดว่าเธอคงสามารถฝากชีวิตไว้กับพวกเขาทั้งสองคนได้เพราะพวกเขา ดีกับเธอเหลือเกิน เธอจึงตัดสินใจตอบแทนพวกเขาโดยการโอนบ้านและที่ดินที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน ให้ด้วยความเสน่หา แต่เมื่อพวกเขาได้รับมอบบ้านและที่ดินแล้ว พวกเขากลับมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน จากที่เคยดูแลอย่างดี, พูดจาอ่อนหวานไพเราะ กลับกลายเป็นว่าไม่ให้ความสนใจ มีวาจาหยาบคายด่าทอประชดประชัน และไล่ผู้เป็นบุพการีออกจากบ้าน

ผู้ เป็นแม่แสนจะกลุ้มใจ แต่ไม่มีที่ไป เพราะว่ากับลูกอีกสามคนเธอไม่เคยใส่ใจดูแลพวกเขามาตั้งนานแล้ว กับลูกที่คาดหวังว่าจะพึ่งได้กลับไม่เป็นไปตามที่หมาย ผู้เป็นแม่ควรจะทำอย่างไร?

- ตามกฏหมายมาตรา 251 บัญญัติว่า "อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนี่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับทรัพย์สินนั้น" ลักษณะของสัญญาให้ คือ เป็นสัญญา 2 ฝ่าย, เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน, ให้ด้วยความเสน่หา และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินที่ให้
- การถอนคืนการให้ สามารถทำได้โดยมีสาเหตุจาก ผู้ให้ได้กำหนดเงื่อนไขและผู้รับให้ทำผิดเงื่อนไขสัญญาให้, หรือผู้รับเนรคุณผู้ให้

ใน กรณีเพื่อนบ้านที่ได้กล่าวอ้างถึงข้างตน ผู้เป็นแม่ได้ร้องขอต่อศาลเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินที่ได้เคยให้แก่บุตรชายของ เธอ และการต่อสู้ในศาลเธอชนะในทุกศาลได้รับทรัพย์สินคืน และลูกชายของเธอสามคนที่เธอไม่เคยสนใจกลับเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาช่วยเธอในยาม ยาก และสำหรับลูกชายคนเล็กที่เนรคุณต่อมารดาก็ไม่สามารถทนอยู่ในสังคมต่อไปจึง ย้ายไปอยู่ที่อื่น

เพราะฉะนั้น การให้ด้วยความเสน่หานั้นจึงสามารถอนคืนการให้ โดยมีเงื่อนไขว่า
1. ผู้ให้ มีสิทธิถอนคืนการให้หากผู้รับทำผิดเงื่อนไขหรือผู้รับประพฤติเนรคุณ
2. ทายาทของผู้ให้ จะเรียกคืนได้ในสองกรณี
- ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฏหมาย
- ผู้รับได้กีดกันผู้ให้มิให้ถอนคืนการให้ และผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้ว ผู้รับต้องคืนสินทรัพย์ให้แก่ผู่ให้ในฐานะลาภมิควรได้ (มาตรา 534)

ผู้ เขียนหวังเพียงว่านี้จะเป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยส่วนน้อยเท่านั้น เพราะปัจจุบันสังคมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น เรื่อยๆ รวมไปถึงสังคม "Social Media" ที่ทำให้เราวุ่นวายอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์มาจนเกินความจำเป็นจนทำให้เราหลง ลืมผู้มีพระคุณยิ่งของเราที่บ้านค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ จุ๊ :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-23 17:06:06


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล