
แบบฟอร์ม หนังสือยินยอมของคู่สมรส (แบบที่สอง)
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
หนังสือยินยอมของคู่สมรส ทำที่..... วันที่......เดือน.......พ.ศ. .. ข้าพเจ้า.......อายุ.....ปี อยู่บ้านเลขที่......ตรอก/ซอย.......ถนน......ตำบล/แขวง....อำเภอ/เขต......จังหวัด.......ยินยอมให้......ซึ่งเป็นสามี/ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของข้าพเจ้า ทำนิติกรรมและ/หรือกิจการดังต่อไปนี้ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของข้าพเจ้าอีก ๑. ............ ๒. ........... ๓. .......... การใดที่......สามี/ภรรยาของข้าพเจ้าได้กระทำไปในขอบอำนาจของหนังสือยินยอมนี้ ให้มีผลผูกพันข้าพเจ้าเสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกระทำด้วย เพื่อเป็นหลักฐานในการนี้ ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน ลงชื่อ..................ผู้ให้ความยินยอม (.........................) ลงชื่อ..................พยาน (..........................) ลงชื่อ..................พยาน (..........................)
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่6และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินแม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่7เป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมายการที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอมกับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่1แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้จำเลยที่1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยที่1ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ย่อมไม่มีสิทธิใดๆในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกันดังนั้นแม้จำเลยที่4และที่5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่1โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่4และที่5ก็ตามจำเลยที่4และที่5ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอนผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้ คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้างที่กฎหมายให้ความคุ้มครองอันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งหาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ1ลักษณะ6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา193/9และ193/30 ข้อที่จำเลยที่4และที่5ฎีกาว่าจำเลยที่4และที่5ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382นั้นจำเลยที่4และที่5ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่7ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่7ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 3 และที่ 7 ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และผู้มีชื่อปลอมหนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดรวม 3 แปลงตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 จำเลยที่ 3 จดทะเบียนการยกให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ไปตามหน้าที่โดยลงลายมือชื่อและประทับตราที่แท้จริงในหนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดรวม 3 แปลง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอมทั้งฉบับ และจำเลยที่ 3 มิได้กระทำการหรือร่วมกับผู้อื่นกระทำการปลอมในช่องอายุและช่องลายมือชื่อผู้รับให้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดรวม 3 แปลงแต่อย่างใด เมื่อจดทะเบียนเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 7ได้มอบสัญญาให้ที่ดินให้โจทก์ไป 1 ฉบับ ส่วนอีก 3 ฉบับ แยกเก็บไว้ในสารบบจดทะเบียนเป็นรายโฉนดหลังจากนั้นในปี 2519 จำเลยที่ 3ได้ย้ายไปรับราชการที่อื่น มิได้เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนที่ดินของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนงอีกเลยส่วนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินระหว่างผู้ที่อ้างตัวเป็นโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก่อนที่นายมะน้อม บุญกระโทก จะจดทะเบียนให้เจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 7 ได้ทำการสอบสวนและตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบของทางราชการแล้วเห็นว่าผู้ขายเป็นโจทก์ จึงรับดำเนินการจดทะเบียนให้โดยไม่ได้ประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ปลอมหนังสือสัญญาให้ที่ดิน และนายมะน้อมมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7ในฐานะนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ หากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3กระทำการปลอมหนังสือสัญญาให้ที่ดินจำเลยที่ 7 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะเป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 3 ค่าเสียหายไม่ควรเกิน 1,200,000 บาท ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การว่า โจทก์ได้ที่ดินโฉนดเลขที่73784 และ 73785 มาโดยไม่ชอบ เพราะเป็นโฉนดที่ดินปลอมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย และจะยกขึ้นยันจำเลยที่ 4และที่ 5 ซึ่งได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วไม่ได้โจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จึงเป็นห้องที่เคลือบคลุมขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 6 ให้การว่า จำเลยที่ 6 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 6 ได้แบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลง ให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้วตามสัญญาการเข้าเป็นสมาชิกจำเลยที่ 6 ไม่มีวัตถุประสงค์ในการดูแลคุ้มครองสิทธิของสมาชิกและไม่มีหน้าที่ใด ๆ ในการดูแลรักษาที่ดินของโจทก์จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3กระทำละเมิด ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นราคาที่ดินไม่ควรเกิน4,800,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง ในวันนัดฟังคำพิพากษาโจทก์แถลงว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน2532 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ตามสำเนาราชกิจจานุเบกษาฉบับลงวันที่19 ธันวาคม 2532 ศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ร่วมกันแก้ไขเพิกถอนสารบัญการจดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ 73784 และ 73785ตำบลสวนหลวง (คลองประเวศฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนครให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังเดิม หากจำเลยที่ 4 ที่ 5และที่ 7 ไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7คำขอนอกนั้นให้ยก จำเลย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 7 อุทธรณ์ จำเลย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 7 ฎีกา ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยมูลละเมิดและเรียกทรัพย์คืน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 และ 193/30เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความนั้น ในเรื่องมูลละเมิดศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า คดีโจทก์ขาดอายุความจึงไม่จำต้องวินิจฉัยซ้ำอีก แต่ในเรื่องเรียกทรัพย์คืน ในคดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ได้เสมอ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความที่จำเลยที่ 4และ 5 อ้างว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติว่า"ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอบและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย" การเรียกทรัพย์คืนจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/9 และ 193/10 นั้น เห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 1336 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองอันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9และ 193/30 ดังที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 อ้าง ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยที่ 7 ฎีกาว่า นายมะน้อม บุญกระโทก เจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการจดทะเบียนไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งมูลคดีในเรื่องละเมิดขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 7 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 ได้ร่วมกันวางแผนมาตั้งแต่ต้นโดยออกโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2(ล.21 และ ล.22) ให้แก่โจทก์ส่วนโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ล.13 และล.14 เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 เก็บไว้ มิฉะนั้นการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อาจกระทำได้และทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินโดยระบุอายุโจทก์ไม่ตรงต่อความจริงกับปลอมลายมือชื่อโจทก์ในฐานะผู้รับให้ตามเอกสารหมาย ล.12เก็บไว้ในสารบบที่ดินพิพาทไว้ด้วยต่อมาก็นำบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือให้ความยินยอมของภริยาโจทก์ปลอมมาจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างเอาเอกสารหมาย ล.12 เป็นหลักฐานในการตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าวหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 ไม่ได้ร่วมกระทำด้วย บุคคลภายนอกโดยลำพังไม่มีทางที่จะกระทำได้เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง
|