
แบบฟอร์ม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน (ตามที่รังวัดได้จริง)
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นที่ …เมื่อวันที่..ระหว่าง…อายุ..ปี อยู่บ้านเลขที่…ถนน…ตำบล/แขวง……อำเภอ/เขต…จังหวัด…ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้จะขาย” ฝ่ายหนึ่งกับ…อายุ …ปี อยู่บ้านเลขที่...ถนน...ตำบล/แขวง...อำเภอ/เขต...จังหวัด…ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้จะซื้อ” อีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยมีข้อความดังต่อไปนี้คือ ข้อ 1 ผู้จะขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ที่ดินโฉนดเลขที่…ระวางที่…ตำบล…… อำเภอ……จังหวัด……มีเนื้อที่ตามโฉนดจำนวน…… ข้อ 2 ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินดังกล่าวในข้อ 1 โดยเป็น การซื้อขายตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เป็นจริง ในราคาตารางวาละ…บาท (……)รวมเป็นเงินทั้งสิ้น…… บาท (………) และในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจำนวน……บาท (………)โดยชำระเป็นเช็คธนาคาร………สาขา.……หมายเลขเช็ค………ลงวันที่.……จำนวนเงิน……บาท (……) เพื่อเป็นการวางมัดจำไว้กับผู้จะขาย ข้อ 3 ราคาที่ดินที่จะซื้อจะขายกันที่ยังคงค้างอยู่อีก…….บาท (……)นั้น คู่สัญญาตกลงให้แบ่งชำระเป็นงวดรวม 2 งวด ดังนี้ งวดที่หนึ่ง ชำระในวันที่…เป็นเงินจำนวน…บาท (…………) งวดที่สอง ชำระในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซ้อขายกันตามสัญญานี้เป็นเงินจำนวน…………บาท (…………) ข้อ 4 ภายใน……วันนับแต่วันทำสัญญานี้ ผู้จะขายมีหน้าที่ไปยื่นคำร้องขอรังวัดสอบเขตที่ดินตามโฉนดในข้อ 1หากปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ที่รังวัดสอบเขตได้มีจำนวนมากกว่า หรือมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ปรากฏตามหน้าโฉนดดังกล่าวแล้วคู่สัญญาตกลงว่าการคิดราคาที่ดินทั้งหมดให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ปรากฏจากการรังวัดสอบเขต ในราคาตารางวาละตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อ 2 ข้อ 5 ค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ ตลอดจนค่าธรรมเนียมการรังวัดสอบเขตที่ดินผู้จะขายเป็นผู้รับภาระเองทั้งสิ้น ข้อ 6 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเข้าครอบครองและทำประโยชน์หรือปรับปรุงที่ดินตามสัญญานี้ได้ตามความประสงค์ของผู้จะซื้อ และผู้จะขายรับว่าจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้จะซื้อ ในกรณีที่ผู้จะซื้อจะต้องยื่นแบบเรื่องราวคำร้องหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นขออนุญาตดังกล่าวทันที ตามที่ผู้จะซ้อได้แจ้งให้ผู้จะขายทราบ และส่งเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวมาให้ผู้จะขายลงลายมือชื่อทุกครั้งไป ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินที่ผู้จะซื้อได้ชำระให้แก่ผู้จะขายไว้แล้วทั้งหมดในทางกลับกัน หากผู้จะขายผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดแล้ว ผู้จะขายยอมคืนเงินที่ผู้จะซื้อได้ชำระไวแล้วทั้งหมดให้แก่ผู้จะซื้อและยอมให้ผู้จะซื้อปรับเป็นเงินจำนวนหนึ่งเท่าของเงินที่ผู้จะขายได้คืนให้แก่ผู้จะซื้อดังกล่าว สัญญานี้ทำขึ้นไว้เป็นสองฉบับ มีข้อความตรงกันทุกประการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาโดยตลอดแล้วจึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน และต่างยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับ ลงซื่อ ผู้จะขาย ( ) ลงซื่อ ผู้จะซื้อ ( ) ลงซื่อ พยาน ( ) ลงซื่อ พยาน ( )
สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรทราบ 1. ที่ดินที่ครอบครองอยู่มีหลักฐานอะไร ให้นำหลักฐานที่มีไปประกอบการยื่นคำขอ รังวัดที่ดิน 2. ที่ดินตั้งอยู่ หมู่ที่เท่าใด ตำบล อำเภอ อะไร 3. เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้ใดบ้าง ติดที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ 4. สภาพที่ดินเป็นอย่างไร เช่น ที่นา ที่สวน ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย การยื่นคำขอรังวัดที่ดิน ยื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ คือ โฉนดที่ดิน ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้น ตั้งอยู่ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ติดต่อที่สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เว้นแต่ ได้มีการยกเลิกอำนาจนายอำเภอ ให้ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ หลักฐานประกอบการขอรังวัด แบ่งแยก หรือสอบเขตโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี) โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หลักฐานประกอบการขอรังวัดรวมโฉนดที่ดิน บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี) โฉนดที่ดินที่จะขอรวม ต้องมีลักษณะดังนี้ ( 1 ) ต้องเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่ โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้ ( 2 ) ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับและต้องยังมีชีวิตอยู่ทุกคน ( 3 ) ต้องเป็นที่ดินติดต่อผืนเดียวกัน ในจังหวัดและสำนักงานที่ดินเดียวกัน ขั้นตอนการรังวัด แบ่งแยก รวม สอบเขตที่ดิน รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์ รับคำขอสอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียมคำขอ ส่งฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดวันทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด กำหนดเงินมัดจำรังวัด ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หนังสือแจ้งข้างเคียง รับหนังสือแจ้งข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัด รับหลักเขตที่ดิน ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดตามวันที่กำหนดไว้ คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่ในโฉนดที่ดิน ส่งเรื่องรังวัดคืนฝ่ายทะเบียน เรียกผู้ขอมาจดทะเบียน สอบสวนจดทะเบียนแบ่งแยก ตรวจอายัด ชำระเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน และค่าโฉนด แก้รายการทะเบียน และจดทะเบียนแบ่งแยก สร้างโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามและประทับตรา แจกโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก ขั้นตอนการขอแบ่งแยกตรวจสอบเนื้อที่ และรวมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ 1. เจ้าของที่ดินนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นคำขอ 2. ให้ถ้อยคำในการนัดรังวัด เพื่อ - กำหนดวันทำการรังวัด - กำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด - กำหนดเจ้าหน้าที่และสถานที่นัดพบ 3. รับเจ้าหน้าที่ไปทำการรังวัดและปักหลัก จนเสร็จการ 4. ลงนามในเอกสารต่าง ๆ 5. รอรับหนังสือแจ้งให้ไปดำเนินการจดทะเบียน ฯ ล ฯ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรังวัดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และโฉนดที่ดิน 1. ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ - ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 30 บาท - ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน( เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่) ไร่ละ 2 บาท 2. ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ - ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 30 บาท - ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 30 บาท - ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท - ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท - ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท 3. ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน - ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท - ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน( เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่ ) ไร่ละ 2 บาท 4. ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน - ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 40 บาท - ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 40 บาท - ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท - ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท - ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท 5. ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด - ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท - ค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท - ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท - ค่าพยานให้แก่พยาน คนละ 10 บาท - ค่าหลักเขต หลักละ 15 บาท 6. ค่าใช้จ่ายการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ และคนงานจ้างไปทำการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ และค่าจ้างคนงานที่จ้างไปทำการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ค่าป่ายการให้แก่เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ หรือผู้แทนที่ไปในการรังวัด คนหนึ่งวันละ 50 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรังวัดให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เรื่องละ 100 บาท การคิดค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดิน ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินที่ผู้ขอจะต้อชำระตามกฎหมาย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 และ 48 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) มีดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมรังวัด - เกี่ยวกับโฉนดที่ดิน แปลง/วัน/ละ 40 บาท - เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แปลง/วัน/ละ 30 บาท 2. ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท (ตามที่ใช้จริง) 3. ค่าใช้จ่ายในการรังวัดลักษณะเหมาจ่าย ดังนี้ 3.1 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าส่งหมายข้างเคียงทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ 100 บาท 3.2 ค่าป่วยการเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ วันละ 50 บาท 3.3 ค่าพาหนะพนักงานเจ้าหน้าที่และคนงานรังวัด วันละไม่เกิน 800 บาท 3.4 ค่าคนงานรังวัด คน/วัน 200 บาท หรือ 250 บาท (ตามเขตจังหวัดที่กระทรวงการคลังกำหนด) ทั้งนี้ การกำหนดวันทำการรังวัดตามข้อ 3.3 และ 3.4 กำหนดตามจำนวนเนื้อที่ ดังนี้ การรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน 1. เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 1,950 บาท 2. เนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 3,750 บาท 3. เนื้อที่ไม่เกิน 30 ไร่ เวลาทำการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 5,550 บาท 4. เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ เวลาทำการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 7,350 บาท 5. เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ เวลาทำการ 5 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 9,150 บาท 6. เนื้อที่ไม่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 6 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 10,950 บาท 7. เนื้อที่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 7 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 12,750 บาท การรังวัดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 1,450 บาท เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 2,750 บาท เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ เวลาทำการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 4,050 บาท เนื้อที่ไม่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 5,350 บาท เนื้อที่เกิน 150 ไร่ เวลาทำการ 5 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 6,650 บาท หมายเหตุ ให้ใช้สำหรับพื้นที่โล่งเตียน ส่วนพื้นที่ชุมชุน ที่นา ที่ไร่ ที่สวน ที่มีแนวเขตคดโค้งและมีปัญหาอุปสรรค ซึ่งต้องแก้ไขตามหลักวิชาการรังวัดและทำแผนที่ เช่น หมุดหลักฐานโครงงานแผนที่สูญหาย จำกัดเนื้อที่ ให้เพิ่มจำนวนวันทำการรังวัด 1 วัน ในกรณีรังวัดออกโฉนดที่ดิน หากมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่ดินตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ให้เพิ่มค่าพาหนะ 1 วัน สำหรับการรังวัดแบ่งแยก(จัดสรร) ให้ทำการรังวัดและปักหลักเขต ให้คำนวณวันทำการทุก 12 แปลงต่อหนึ่งวัน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง
|