
สัญญากู้ยืมเงิน (จดทะเบียนจำนองทรัพย์สินเป็นประกัน)
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
สัญญากู้ยืมเงิน
ทำที่......................................... วันที่........เดือน.......................พ.ศ.............. สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง..................อายุ.......ปี อยู่บ้านเลขที่.....ซอย...................... ถนน............แขวง/ตำบล......………..เขต/อำเภอ...........….....จังหวัด.........…………...ซึ่งต่อไปใน สัญญานี้เรียกว่า “ผู้กู้” ฝ่ายหนึ่ง กับ.........................อายุ.........ปี อยู่บ้านเลขที่..…...... ซอย...........……..ถนน..........……....แขวง/ตำบล...........….........เขต/อำเภอ.....…….......... จังหวัด.............................ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ให้กู้” อีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันมีข้อความดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ผู้กู้ตกลงกู้เงินจากผู้ให้กู้และผู้ให้กู้เงินตกลงให้ผู้กู้กู้เงินเป็นจำนวน...................... บาท (..............................................) และผู้กู้ได้รับเงินจากผู้ให้กู้ไปถูกต้องครบถ้วนแล้วในวัน ทำสัญญานี้ โดยรับเป็นเงินสด/เช็คของธนาคาร....................................สาขา........….…....เช็ค เลขที่..................ลงวันที่...............จำนวนเงิน............................บาท(.............................)
ข้อ 2 ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ..........ต่อปี โดยกำหนดส่งดอกเบี้ยเป็น รายเดือน ๆ ละ...........................บาท (.............................) ภายในวันที่............................ ของเดือนทุก ๆ เดือน
ข้อ 3 ผู้กู้ตกลงชำระเงินต้นคืนให้แก่ผู้ให้กู้ในวันที่.............................และในกรณีที่ผู้กู้ ชำระเงินต้นคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อนี้ ผู้ให้กู้จะคิด ดอกเบี้ยจนถึงวันชำระต้นเงินคืนเท่านั้น
ข้อ 4 เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ ผู้กู้ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์สิน ให้ผู้กู้ยึดถือไว้เป็นประกัน จนกว่าผู้ให้กู้จะได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญานี้โดยสิ้นเชิง
ข้อ 5 ค่าอากรแสตมป์ที่ใช้ปิดสัญญานี้ รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียน เพื่อจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ตามสัญญาข้อ 4 และเพื่อไถ่ถอนทรัพย์สินดังกล่าว ผู้กู้เป็นผู้ ออกฝ่ายเดียว
ข้อ 6 การติดต่อใด ๆ ระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้นั้น ตกลงให้ถือว่าการบอกกล่าวหรือการแจ้งเป็น หนังสือไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ว่าเป็นที่อยู่ของผู้กู้ข้างต้นนี้ โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลง ทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียน ไม่ว่าจะถึงหรือไม่ถึงตัวผู้กู้ และไม่ว่าจะมีผู้ใดรับหรือไม่มีผู้ใดยอมรับ ไว้ก็ตาม หรือส่งให้ไม่ได้ เพราะผู้กู้ย้ายสถานที่อยู่ไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้ให้กู้ทราบ หรือสถานที่อยู่ ให้ไว้ค้นหาไม่พบหรือถูกรื้อถอนทำลาย ทุกกรณีที่กล่าวนี้เป็นการบอกกล่าวหรือการแจ้งหรือ หนังสือดังกล่าวเหล่านี้ได้ส่งไปให้แก่ผู้กู้ โดยชอบด้วยกฎหมาย สัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาโดย ตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้อง จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน แล้วยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับ
ลงชื่อ.............................…ผู้กู้ (.............................................) ลงชื่อ..................................คู่สมรสผู้ให้ความยินยอม (.........................….....….......) ลงชื่อ..........................……….....…ผู้กู้ (.............................................) ลงชื่อ.................................................พยาน (..........................................) ลงชื่อ.................................................พยาน (..........................................)
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง
|