
แบบฟอร์ม พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่3)
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
พินัยกรรม
ทำที่................................................ วันที่....เดือน........พ.ศ.....
ข้าพเจ้า..............................อายุ............ปี อยู่บ้านเลขที่.….............หมู่ที่.…...... ถนน....................ตำบล/แขวง..............อำเภอ/เขต.......................…............ จังหวัด....................ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ แบ่งทรัพย์สินต่างๆ ของข้าพเจ้าให้บุคคลดังต่อไปนี้
1. ที่ดินโฉนดเลขที่..........พร้อมสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ตำบล................................ อำเภอ...............................จังหวัด...............................ขอมอบให้แก่..................
2. เงินสดจำนวน..................บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร........................... สาขา........... ตามสมุดเงินฝากประเภท.............หมายเลขบัญชี....................... มอบให้ แก่..............................
3. เครื่องเพชร พลอย ทอง นาค เงิน (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ขอมอบให้แก่...............
4. ทรัพย์สินของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุตามข้อ 1, 2, 3 นี้แล้ว ขอมอบให้แก่........................ 5. ขอให้.............................เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้า เพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้ เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้า
พินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นเป็นจำนวน..................ฉบับ ทุกฉบับมีข้อความตรงกัน และข้าพเจ้าเห็น ว่ามีข้อความถูกต้องตรงตามเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน และพยานทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าข้าพเจ้า
ลงชื่อ................................................ผู้ทำพินัยกรรม (.................................................) ลงชื่อ..................................................พยาน (.................................................) ลงชื่อ............................................พยานและผู้เขียน (............................................)
ข้าพเจ้านายแพทย์………………………แพทย์ประจำโรงพยาบาล……………………… ขอรับรองว่าในขณะที่ทำพินัยกรรมนี้………………………………ผู้ทำพินัยกรรมมีสติ สัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ลงชื่อ…………………………นายแพทย์และพยาน (..............................................)
ข้อสังเกตในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา 1. การทำพินัยกรรมแบบนี้ จะทำโดยใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ หากใช้วิธีเขียนก็ต้องเขียนทั้งฉบับ หากใช้วิธีพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ 2. ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรม ใครจะเป็นผู้เขียน หรือผู้พิมพ์ก็ได้ แต่ในการเขียนต้องใช้คนๆ เดียวเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ และในการพิมพ์ก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันทั้งฉบับ เพื่อมิให้เกิดปัญหาแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว 3. ต้องลงวันเดือนปีขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมแล้วย่อมไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย 4. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน 5. พยานทั้งสองคนตามข้อ 4 ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรมและต่อหน้าพยานด้วยกันในขณะนั้นด้วย 6. พยานในพินัยกรรม จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วคืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือกรณีสมรสกันเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว แม้อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ และพยานดังกล่าวต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ทั้งต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง 7. ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง
|