
ตัวอย่างสัญญาให้สิทธิอาศัย
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
สัญญาให้สิทธิอาศัย
ทำที่…………………………… วันที่………..เดือน…………………..พ.ศ……… หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง……………………………………… อยู่บ้านเลขที่………….ตรอก/ซอย……………ถนน……………ตำบล……………อำเภอ……… จังหวัด……………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ให้อาศัย” ฝ่ายหนึ่ง กับ…………………… อยู่บ้านเลขที่………….ตรอก/ซอย………………..ถนน……………ตำบล……………อำเภอ……… จังหวัด……………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้อาศัย” อีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้ให้อาศัย เป็นเจ้าของอาคาร/บ้านซึ่งอยู่เลขที่…………ตรอก/ซอย……………………… ถนน……………ตำบล……………อำเภอ………...จังหวัด……………รวมทั้งทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอยู่ ในบ้านดังกล่าว ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “โรงเรือน” ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ให้อาศัยตกลงให้ผู้อาศัยมีสิทธิอาศัยในโรงเรือนซึ่งเป็นของผู้ให้อาศัย โดยผู้อาศัย ไม่ต้องเสียค่าเช่าแก่ผู้ให้อาศัย
ข้อ 2. สิทธิอาศัยดังกล่าว ให้มีกำหนดระยะเวลา…………ปี
ข้อ 3. เมื่อกำหนดระยะเวลาแห่งสิทธิอาศัยได้หมดสิ้นลงแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลง กันต่ออายุในการให้สิทธิอาศัยต่อไปได้อีก แต่ต้องตกลงกันก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาแห่งสิทธิ อาศัยตามสัญญานี้
ข้อ 4. สิทธิอาศัยในโรงเรือนนี้ ให้รวมถึงการอยู่อาศัยของบุคคลในครอบครัว และบริวาร ของผู้อาศัย
ข้อ 5. ผู้อาศัยมีสิทธิที่จะเก็บเอาดอกผลธรรมดาแห่งที่ดินที่โรงเรือนตั้งอยู่ เพียงที่จำเป็นแก่ ความต้องการของครัวเรือนเท่านั้น
ข้อ 6. ผู้อาศัยจะโอนสิทธิอาศัยไปให้แก่ผู้อื่น หรือบุคคลภายนอกไม่ได้ และหากผู้อาศัย ตายสิทธิอาศัยดังกล่าวย่อมถือว่า เป็นอันสิ้นสุดลงทันที แม้จะยังไม่ครบตามกำหนดระยะเวลาใน สัญญานี้ก็ตาม
ข้อ 7. เมื่อสิทธิอาศัยของผู้อาศัย ได้สิ้นสุดลงแล้วไม่ว่าในกรณีใด ผู้อาศัยต้องส่งมอบ ทรัพย์สินซึ่งเป็นของผู้ให้อาศัย พร้อมทั้งโรงเรือนแก่ผู้ให้อาศัยโดยทันที
ข้อ 8. ผู้อาศัยจะใช้โรงเรือนเพื่อการอย่างอื่น นอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติไม่ได้
ข้อ 9. ผู้อาศัยจำต้องสงวนรักษาโรงเรือนเสมือนกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน เองและจะต้องบำรุงรักษา ทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย
ข้อ 10. ผู้อาศัยจะทำการดัดแปลง หรือต่อเติมอย่างหนึ่งอย่างใดแก่โรงเรือนไม่ได้ เว้นแต่ จะได้รับความยินยอมจากผู้ให้อาศัย
ข้อ 11. ผู้อาศัยจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่โรงเรือนที่อาศัย เว้นแต่ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ
หนังสือสัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจ ข้อความในสัญญาโดยตลอดแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ลงชื่อ……………………………………ผู้ให้อาศัย ( .............................) ลงชื่อ…………………....…………………ผู้อาศัย ( ............................) ลงชื่อ………......……………………………พยาน (............................ ) ลงชื่อ………………….....…………………พยาน (............................ )
หมายเหตุ 1. สิทธิอาศัยนั้น มีเฉพาะสิทธิอาศัยในโรงเรือนเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ดินอาจเป็นเรื่องสิทธิเหนือพื้นดิน หรือ สิทธิเก็บกิน 2. ผู้อาศัยไม่ต้องเสียค่าเช่าแก่ผู้ให้อาศัย เพราะถ้าหากมีการเสียค่าเช่าแล้วก็ไม่เรียกว่า เป็นสิทธิอาศัย แต่เป็นเรื่องการเช่า 3. สิทธิอาศัยอาจมีกำหนดเวลา หรือไม่มีกำหนดเวลา หรือจะกำหนดว่าให้มีสิทธิอาศัยตลอดอายุผู้อาศัยก็ได้ กรณีมีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี ถ้ากำหนดไว้เกินกว่านั้น ใช้บังคับได้ เพียง 30 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วจะต่ออายุอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันต่ออายุสัญญา 4. สิทธิอาศัยจะโอนกันไม่ได้ แม้โดยทางมรกดก็จะไม่ตกทอดไปยังทายาทสัญญาให้สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ควรมีสัญญาข้อหนึ่ง กำหนดให้ผู้ให้สัญญาต้องไปจดทะเบียนด้วย
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258 * www.peesirilaw.com *
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้
ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง
|