ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont 

เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ

เช่าซื้อรถยนต์ยังไม่ทันได้ใช้ก็ขายดาวน์ให้ผู้อื่น เป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อตกลงว่าผู้ซื้อดาวน์จะเป็นผู้ผ่อนชำระค่างวดแทนผู้เช่าซื้อ ต่อมาผู้ซื้อดาวน์ผ่อนไปแค่ 5 งวดก็มีปัญหาการเงินจึงไม่ส่งต่อ นอกจากนี้ยังนำรถยนต์ไปโอนสิทธิการเช่าซื้อให้บุคคลอื่นต่อไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อเดิม ต่อมาไฟแนนซ์หรือผู้ให้เช่าซื้อจึงบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อไม่รู้จะทำอย่างไรจึงไปแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนว่า ผู้ซื้อดาวน์ยักยอกทรัพย์ ในเรื่องนี้ศาลตัดสินว่า ผู้ซื้อดาวน์ (จำเลย) ไม่มีเจตนายักยอกทรัพย์เพราะได้ผ่อนชำระค่างวดไปแล้วถึง 5 งวด และมีข้อตกลงกับบุคคลภายนอกที่ซื้อดาวน์ต่อจากจำเลยว่าจะต้องเป็นผู้ผ่อนค่างวดต่อไปในนามของผู้เช่าซื้อเดิม ในการขายดาวน์รถยนต์นั้นต้องพึงจดจำไว้ว่าผู้เช่าซื้อในฐานะคู่สัญญากับไฟแนนซ์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนไม่ว่าจะได้ขายดาวน์ให้แก่ผู้ใดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2716/2554
 
          การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกันต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 5,000 บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด

          การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
  
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ให้จำเลยคืนรถกระบะดังกล่าว หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 631,491 บาท แก่ผู้เสียหาย
          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก ลงโทษจำคุก 1 ปี ให้จำเลยคืนรถกระบะที่ยักยอกไป หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 631,491 บาท แก่ผู้เสียหาย
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งในชั้นฎีการับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2547 นางอาภรณ์ ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อรถกระบะใช้แล้ว หมายเลขทะเบียน บง 7953 สิงห์บุรี จากบริษัทจีอีแคปปิตอลออโตลีส จำกัด (มหาชน) ในราคา 631,491.74 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ 74 งวด โดยชำระงวดละเดือนเป็นเงิน 7,044 บาทตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.1 ระหว่างตกลงทำสัญญานั้น จำเลยซึ่งเป็นพี่สาวของนายสถาพร น้องเขยของนางอาภรณ์ขอซื้อรถกระบะดังกล่าวต่อจากนางอาภรณ์ นางอาภรณ์ตกลงให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อรถดังกล่าวแทนนางอาภรณ์ และให้จำเลยชำระเงินค่าจดทะเบียนกับเบี้ยประกันภัยด้วยตามเอกสารหมาย ล.2 และ ล.1 โดยระบุให้จำเลยเป็นผู้ขับขี่ จำเลยรับรถกระบะที่เช่าซื้อไปใช้ตั้งแต่ต้น แล้วชำระค่าเช่าซื้อเพียง 5 งวด จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 6 ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2547 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2547 จำเลยไปพบนางสมศรี เจ้าของร้านสิงห์บุรีคาร์เซ็นเตอร์ข้างที่ทำการประปาจังหวัดสิงห์บุรี ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอ เมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นร้านขายรถมือสอง จำเลยจะหาคนซื้อรถกระบะดังกล่าว เพราะไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อได้ต่อไป นางสมศรีแนะนำให้จำเลยพบกับนายเชาวลิต ซึ่งเป็นลูกค้าประจำของนางสมศรี จำเลยตกลงขายรถกระบะดังกล่าวให้นายเชาวลิต โดยนายเชาวลิตเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อต่อไปตามสัญญาซื้อขายรถยนต์เอกสารหมาย จ.7 นายเชาวลิต รับรถกระบะดังกล่าวไปจากจำเลยแล้ว ภายหลังจากนั้นจำเลยติดต่อกับนายเชาวลิตไม่ได้ ทั้งจำเลยและนายเชาวลิตต่างก็ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 6 ต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.2 ถึง จ.4 ไปยังนางอาภรณ์ นางอาภรณ์ไปสอบถามจำเลย จำเลยเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง นางอาภรณ์แจ้งเรื่องดังกล่าวให้ผู้ให้เช่าซื้อทราบ ผู้ให้เช่าซื้อให้นางอาภรณ์ไปร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยเอง แต่ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องคดีแพ่งบังคับให้นางอาภรณ์รับผิดตามสัญญา นางอาภรณ์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 จำเลยไปมอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกรถกระบะตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่

          พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่นางอาภรณ์ ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครอง ใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกัน ต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้นายเชาวลิต โดยทำความตกลงกับนายเชาวลิตให้นายเชาวลิตเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไปปรากฏตามสัญญาซื้อขายรถยนต์เอกสารหมาย จ.7 พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจากนายเชาวลิตในวันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.7 เป็นเงิน 5,000 บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและนายเชาวลิตซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเชาวลิต โดยมีข้อตกลงให้นายเชาวลิตมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายต่อไป จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเชาวลิตโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อเป็นการไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น เห็นว่า การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเชาวลิตแม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากผู้เสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ดังที่โจทก์ฎีกา จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ยกฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน
 
 
( นพวรรณ อินทรัมพรรย์ - ไชยยงค์ คงจันทร์ - ทัศนีย์ ธรรมเกณฑ์ )
 
 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน  คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม 

 

  




สัญญาซื้อขายเช่าซื้อและขายฝาก

ผิดนัดให้สัญญาเลิกกันทันทีโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย-แบ่งชำระราคาเป็น 2 งวด
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาจะซื้อขาย รับผิดชำระดอกเบี้ย
ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า
สัญญาขายฝาก | การวางทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ |รถยนต์ถูกลักไป | ใช้สิทธิไม่สุจริต
ข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ
ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การฝากเงินกับธนาคารเป็นสัญญาฝากทรัพย์
พนักงานธนาคารฝากเงินผิดบัญชีเรียกคืนได้