
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย ผู้ให้เช่าซื้อได้รับรถที่เช่าซื้อคืน สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายจากผู้เช่าซื้อได้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพรถที่เช่าซื้อซึ่งเป็นรถใหม่ และการนำรถไปใช้บรรทุกดินเพื่อรับจ้างแล้ว เห็นควรกำหนดค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าซื้อที่คู่สัญญา ต้องชำระแก่กันในแต่ละเดือน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2549 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อจำนวน 408,753 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 392,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 177,100 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 168,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 29 เมษายน 2541) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 3,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2539 จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อ 1 คัน จากโจทก์ ในราคา 2,016,000 บาท กำหนดผ่อนชำระงวดละ 56,000 บาท รวม 36 งวด ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อ จำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าให้แก่โจทก์จำนวน 7 ฉบับ สั่งจ่ายเงินฉบับละ 56,000 บาท เมื่อถึงกำหนดเวลาตามเช็คแต่ละฉบับ โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บ แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ปรากฏตามเช็คและใบคืนเช็ค ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2540 โจทก์ได้รับรถที่เช่าซื้อคืนจากจำเลย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่ง จ่าย จำเลยมิได้ปฏิเสธลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่ามิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ถือว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจริง จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค เมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดโดยอ้างว่า สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย หาใช่ตกแก่โจทก์ดังที่จำเลยอ้างในฎีกาไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 คืองวดวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันในวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ดังนั้น เช็คพิพาทที่จำเลยชำระหนี้ค่าเช่าซื้อประจำงวดวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 วันที่ 1 สิงหาคม 2540 และวันที่ 1 กันยายน 2540 จึงไม่มีมูลหนี้ จำเลยไม่มีภาระต้องชำระแก่โจทก์นั้น เห็นว่า จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ที่จำเลยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 จึงแตกต่างจากคำให้การ ทั้งปรากฏตามหลักฐานใบรับรถซึ่งจำเลยเป็นฝ่ายอ้างส่งว่า โจทก์ได้รับรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ดังนั้น จึงต้องฟังว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ดังนั้น คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายจากจำเลยได้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพรถที่เช่าซื้อซึ่งเป็นรถใหม่ และการนำรถไปใช้บรรทุกดินเพื่อรับจ้างของจำเลยแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายแก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ในแต่ละเดือน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 วันที่ 1 สิงหาคม 2540 และวันที่ 1 กันยายน 2540 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับให้แก่ โจทก์จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้ อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็น อยู่เดิมแต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร? ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม
|