ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont              

 

สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ

เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้ว แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ข้อตกลงใดที่กำหนดความรับผิดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ 
 
              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2548
 
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์จำนวน 1 คัน ราคา 394,704 บาท แบ่งชำระค่าเช่าซื้อรวม 36 งวด โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและมีจำเลยที่ 3 ภริยาของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมและยอมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมอีก ฐานะหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ตั้งแต่งวดที่ 4 โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพ เรียบร้อยใช้การได้ดี หากส่งมอบคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำนวน 330,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทนกับให้ร่วมกัน ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกกันจำนวน 87,712 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ร่วมกันชำระค่าใช้สอยรถยนต์จำนวน 46,500 บาท และชำระอัตราวันละ 500 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

จำเลยที่ 2 ให้การว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้ติดต่อให้โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหลายครั้ง แต่โจทก์เพิกเฉย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำนวน 87,712 บาท ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อในท้องตลาดไม่น่าจะเกิน 200,000 บาท โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าใช้สอยรถยนต์หรือค่าขาดประโยชน์เนื่องจากโจทก์ประกอบ ธุรกิจเกี่ยวกับการเงินมุ่งหวังในดอกเบี้ยซึ่งเป็นธุรกิจหลักของโจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
            จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่ โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี ถ้าส่งคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 236,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542) ไปจนกว่าจะส่งมอบรถคืนหรือใช้ราคาแทน และร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน 40,000 บาท โดยให้ชำระค่าเสียหายต่อไปอีกเดือนละ 4,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถคืนหรือใช้ราคาแทนแต่ไม่เกิน 3 เดือน และร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระจำนวน 21,928 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท
           โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ถ้าจำเลยทั้งสามไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ได้ก็ให้ร่วมกัน ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 250,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระเป็นเงิน 32,000 บาท และร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทน แต่กำหนดให้ไม่เกิน 10 เดือน กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์เฉพาะค่า ขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์โดยกำหนดค่าทนายความ รวม 4,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
           โจทก์ฎีกา

           ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน 5 ธ-4240 กรุงเทพมหานครไปจากโจทก์ในราคา 394,704 บาท แบ่งชำระค่าเช่าซื้อรวม 36 งวด งวดละเดือน เดือนละ 10,964 บาท ชำระงวดแรกวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไป โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำ ประกันเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและยอมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.6 หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้ว จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์เพียง 3 งวด ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 8 กันยายน 2541 โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 8 งวด เป็นเงินจำนวน 87,712 บาท

พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ก่อนเลิกสัญญารวม 8 งวด เป็นเงิน 87,712 บาท เป็นเบี้ยปรับที่ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแต่ก่อนเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ 8 งวด ส่วนที่สัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย กำหนดว่า “อนึ่ง แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้า สัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่ เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ” ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือ หากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
           พิพากษายืน จำเลยทั้งสามไม่แก้ฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้
      ( เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์ - ปัญญา ถนอมรอด - สุภิญโญ ชยารักษ์ )
 
              ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

              มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป
     นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 379 และ มาตรา 382 ท่านให้ใช้วิธีเดียวกันนี้บังคับในเมื่อบุคคลสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตน กระทำหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งอันใดนั้นด้วย

     มาตรา 574 ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กันหรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญเจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิก สัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้า ครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย
     อนึ่ง ในกรณีกระทำผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้นท่านว่า เจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนและกลับเข้า ครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่ง
 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน  คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม

 

 




สัญญาซื้อขายเช่าซื้อและขายฝาก

ผิดนัดให้สัญญาเลิกกันทันทีโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย-แบ่งชำระราคาเป็น 2 งวด
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาจะซื้อขาย รับผิดชำระดอกเบี้ย
ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า
สัญญาขายฝาก | การวางทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ |รถยนต์ถูกลักไป | ใช้สิทธิไม่สุจริต
ข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ
ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การฝากเงินกับธนาคารเป็นสัญญาฝากทรัพย์
พนักงานธนาคารฝากเงินผิดบัญชีเรียกคืนได้