
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า บิดามารดาตกลงยกที่ดินให้ลูกจะมีผลเมื่อลูกแสดงเจตนารับเอาสัญญายกให้จากบิดามารดานั้นตามสัญญา เมื่อได้แสดงเจตนาแล้วสิทธิในที่ดินย่อมตกได้แก่ลูกทันที บิดามารดาไม่อาจยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงได้ การให้ในลักษณะนี้ไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดินก็มีผลผูกพัน เพราะไม่ใช่การให้ หรือคำมั่นว่าจะให้อสังหาริมทรัพย์ ตาม มาตรา 525, 526 มาตรา 374 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ มาตรา 375 เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามบทบัญญัติแห่งมาตราก่อนแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ มาตรา 525 การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่จำต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายทะเบียนหย่าเพราะทรัพย์สินที่ระบุในบันทึกเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินเลขที่ 25หมายเลข 5443 (เลขทะเบียน 86) จำนวน 1 ไร่ 2 งาน82 ตารางวา ที่ดินเลขที่ 100 หมายเลข 5443 (เลขทะเบียน 1761)จำนวน 3 งาน 20 ตารางวา และที่ดินเลขที่ 102 หมายเลข 5443(เลขทะเบียน 1763) จำนวน 1 ไร่ (ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี) ที่ดินเลขที่ 810 (ที่ถูกเป็น 812) หมายเลข 5443 (เลขทะเบียน 4319) จำนวน 6 ไร่ 2 งาน ที่ดินเลขที่ 810 หมายเลข 5443 (เลขทะเบียน 4319) จำนวน 11 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา ที่ดินเลขที่ 526 หมายเลข 5443 (เลขทะเบียน 5859) จำนวน 1 งาน 68 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างและที่ดินเลขที่ 542 หมายเลข 5443 (เลขทะเบียน 3868) จำนวน 96 ตารางวา(ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี) ให้แก่นายเขมพันธ์ และนางสาวจีรพันธ์ จันทร์ชมภู ร่วมกันโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพราะไม่ปรากฏว่าบุตรทั้งสองของโจทก์จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนามายังจำเลยจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้นเห็นว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ความว่าภายหลังที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงนั้นแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องให้แก่บุตรทั้งสองของโจทก์กับจำเลย โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องให้แก่บุตรทั้งสองตามข้อสัญญา ตามหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2536ซึ่งจำเลยได้ทราบแล้วแต่เพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ในฐานะคู่สัญญาและได้กระทำการแทนบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากข้อตกลงในสัญญานั้นแล้ว จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเพื่อให้ระงับสิทธินั้นหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงระบุยกทรัพย์สินให้แก่บุตรทั้งสองเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม โดยจำเลยเข้าใจว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส จึงเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับไม่ได้ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 นั้น เห็นว่าประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยได้แถลงสละประเด็นไว้แล้วตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ลงวันที่3 สิงหาคม 2538 ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย จำเลยฎีกาปัญหาข้อสุดท้ายว่า ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์สินตามบันทึกการหย่าเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยต้องปฏิบัติตามบันทึกการหย่านั้นหรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่าทรัพย์สินตามบันทึกการหย่านั้นเป็นทรัพย์สินประเภทใดของจำเลย แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามบันทึกการหย่านั้นหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นได้สั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้หาข้อยุติไม่ได้ดังกล่าว และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย โจทก์ก็ไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบสนับสนุนตามฟ้อง ศาลต้องยกฟ้องโจทก์นั้น เห็นว่าอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การและคำรับของคู่ความเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังยุติได้หรือไม่ อย่างไรเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 104 ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น" สัญญาใดมีข้อกำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์ถือว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกทั้งสิ้นซึ่งบุคคลภายนอกในที่นี้ หมายถึง บุคคลอื่นทั้งหมดที่มิใช่คู่สัญญาโดยไม่คำนึงว่าจะมีความเกี่ยวพันเป็นญาติหรือมีสิทธิอย่างใด ๆกับคู่สัญญาหรือไม่ แม้จะปรากฎว่ามีความเกี่ยวพันเป็นญาติกับคู่สัญญา แต่เมื่อคู่สัญญากำหนดให้เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาก็ถือว่าเป็นบุคคลภายนอกในความหมายนี้เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2516 คู่สัญญาทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อสัญญาว่าให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมและผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อไว้แล้ว ข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ฉะนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาต่อผู้ให้เช่าซื้อ ตามมาตรา 374 วรรคสองแล้ว สิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นมรดกของผู้ตายต่อไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537 บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้ว ยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน2 แปลง และบ้านอีก 1 หลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากันสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา กรณีสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกนี้ เมื่อบุคคลภายนอกแสดงเจตนาเพื่อจะถือเอาประโยชน์ตามสัญญาแล้วก็เกิดสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลภายนอก ถือว่าบุคคลภายนอกนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาโดยตรง มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่ตนเองได้โดยตรง ไม่ต้องอาศัยสิทธิของคู่สัญญา(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536) แต่หากบุคคลภายนอกยังไม่ได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ตามสัญญา สิทธิเรียกร้องก็ยังไม่เกิดแก่บุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกตายไปทายาทจะแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาแทนไม่ได้เพราะไม่ถือว่าสิทธิดังกล่าวตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของบุคคลภายนอกนั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515) อย่างไรก็ตามแม้บุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาทำให้บุคคลภายนอกเป็นเจ้าหนี้โดยตรงตามสัญญาก็ตาม แต่ความผูกพันกันระหว่างคู่สัญญาก็ยังคงมีอยู่ตามที่ทำสัญญากันไว้ ดังนั้น หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2536) จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้ โจทก์และจำเลยทำสัญญายกที่ดินให้แก่บุตรถึงแม้ว่าบุตรจะเป็นทายาทของโจทก์และจำเลยตามกฎหมาย มีสิทธิสืบมรดกของโจทก์และจำเลยในฐานะผู้สืบสันดานก็ตาม แต่เมื่อบุตรไม่ใช่คู่สัญญาเป็นเพียงบุคคลที่ถูกระบุให้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเท่านั้นถือว่าโจทก์และจำเลยทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่งสามารถใช้บังคับได้และแม้บุตรจะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาโดยตรงก็ตาม หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาก็ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร? ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม
|