
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย บิดาได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินและอาคารกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุว่าหากผู้เช่าซื้อเสียชีวิตลงในระหว่างที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดผู้ให้เช่าซื้อยินยอมให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิแทนไว้ในภายหน้าได้ คือบุตร ต่อมาบิดาได้เสียชีวิต มารดาในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรได้ขอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์โอนสิทธิในการเช่าซื้อให้ตามความประสงค์ของผู้ตาย การที่ผู้ตายระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิการเช่าซื้อเป็นการยกสิทธิการเช่าซื้อให้โดยเฉพาะเจาะจงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อบุตรได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากผู้ให้เช่าซื้อแล้ว สิทธิการเช่าซื้อจึงตกเป็นสิทธิของบุตร ผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นได้ โดยนายสวัสดิ์ได้ระบุชื่อเด็กชายวิวัฒน์เป็นผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อต่อไป จึงเป็นกรณีที่นายสวัสดิ์ได้ยกสิทธิในการเช่าซื้อรายนี้ให้แก่เด็กชายวิวัฒน์โดยเฉพาะเจาะจงผู้เดียว ซึ่งเป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อเด็กชายวิวัฒน์ได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แก่ธนาคารผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรค 2 แล้ว สิทธิของเด็กชายวิวัฒน์ได้เกิดมีผลขึ้นนับแต่วาระนั้นแล้ว คู่สัญญาเช่าซื้อหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของบุคคลภายนอกได้ไม่ตามมาตรา 375 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสวัสดิ์จึงไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของเด็กชายวิวัฒน์ผู้เข้าถือประโยชน์จากสัญญานี้แล้วได้เช่นเดียวกัน สิทธิการเช่าซื้อรายนี้จึงตกเป็นของเด็กชายวิวัฒน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นมรดกของนายสวัสดิ์ผู้ตายต่อไป นอกจากนั้นธนาคารผู้ให้เช่าซื้อได้ตกลงให้เด็กชายวิวัฒน์เป็นผู้เช่าซื้อต่อไปแล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ารับสิทธิเป็นผู้เช่าซื้อร่วมกับเด็กชายวิวัฒน์ซึ่งเป็นการบังคับธนาคารผู้ให้เช่าซื้อด้วย โดยโจทก์มิได้ฟ้องธนาคารผู้ให้เช่าซื้อให้รับผิดอย่างไรดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาหาได้ไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลย คู่สัญญาทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อสัญญาระบุว่า ให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อไว้แล้ว ข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ฉะนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้ต่อผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรค 2 แล้วสิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นมรดกของผู้ตายต่อไป มาตรา 572 อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว จำเลยให้การว่า สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สิทธิที่จะอยู่ในกองมรดกของนายสวัสดิ์ ตามข้อตกลงในสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นสิทธิเฉพาะตัวการเช่าซื้อดังกล่าวจำเลยมอบหมายให้นายสวัสดิ์เป็นตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวติดต่อทำสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อระหว่างธนาคารกับจำเลยในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนายวิวัฒน์ เป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยมิได้ยักยอกทรัพย์สินอันเป็นกองมรดกของนายสวัสดิ์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรายนี้เป็นมรดกของนายสวัสดิ์ผู้ตาย และตามสัญญาเช่าซื้อนายสวัสดิ์ได้ระบุให้เด็กชายวิวัฒน์เป็นผู้รับสิทธิแทน การที่จำเลยขอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์โอนสิทธิการเช่าซื้อให้เด็กชายวิวัฒน์เป็นการใช้สิทธิตามที่ผู้ตายระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อโดยสุจริตไม่เป็นการฉ้อฉลยักยอกทรัพย์มรดกข้อที่จำเลยจะขอสืบว่านายสวัสดิ์เป็นตัวแทนจำเลยนั้น เห็นว่า จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงจึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลตามที่จำเลยขอ และเชื่อว่านายสวัสดิ์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามของตนเอง พิพากษาให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนายสวัสดิ์ พรอัมรา เป็นผู้รับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อร่วมกับนายวิวัฒน์ พรอัมรา คำขออื่นให้ยก จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าซื้อก็คือสัญญาเช่าทรัพย์บวกด้วยคำมั่นจะขายทรัพย์สินนั้น สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่าคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของคู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้ แต่เมื่อคู่สัญญาเช่าซื้อได้ทำสัญญาตกลงกันให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม โดยนายสวัสดิ์ได้ระบุชื่อเด็กชายวิวัฒน์เป็นผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อต่อไป จึงเป็นกรณีที่นายสวัสดิ์ได้ยกสิทธิในการเช่าซื้อรายนี้ให้แก่เด็กชายวิวัฒน์โดยเฉพาะเจาะจงผู้เดียว ซึ่งเป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อเด็กชายวิวัฒน์ได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แก่ธนาคารผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรค 2 แล้ว สิทธิของเด็กชายวิวัฒน์ได้เกิดมีผลขึ้นนับแต่วาระนั้นแล้ว คู่สัญญาเช่าซื้อหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของบุคคลภายนอกได้ไม่ตามมาตรา 375 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสวัสดิ์จึงไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของเด็กชายวิวัฒน์ผู้เข้าถือประโยชน์จากสัญญานี้แล้วได้เช่นเดียวกัน สิทธิการเช่าซื้อรายนี้จึงตกเป็นของเด็กชายวิวัฒน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นมรดกของนายสวัสดิ์ผู้ตายต่อไป นอกจากนั้นธนาคารผู้ให้เช่าซื้อได้ตกลงให้เด็กชายวิวัฒน์เป็นผู้เช่าซื้อต่อไปแล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ารับสิทธิเป็นผู้เช่าซื้อร่วมกับเด็กชายวิวัฒน์ซึ่งเป็นการบังคับธนาคารผู้ให้เช่าซื้อด้วย โดยโจทก์มิได้ฟ้องธนาคารผู้ให้เช่าซื้อให้รับผิดอย่างไรดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาหาได้ไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลย พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร? ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม
|