ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont                   

 

สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน

ผู้เช่าซื้อผิดนัดตกลงจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จเท่ากับ ผู้เช่าซื้อต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงิน 113,900 บาท และดอกเบี้ยล่าช้าอีก 50,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ เห็นสมควรกำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าปรับให้แก่ ผู้ให้เช่าซื้อ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น เพียง 10,000 บาท

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549

               ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยโดยผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ทุก 7 วัน ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จเท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

               โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2541 โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 ท ? 7851 กรุงเทพมหานคร ไปจากจำเลย และโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 8 ท ? 7851 กรุงเทพมหานคร แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแสดงแทนเจตนาจำเลย กับให้ชำระค่าเสียหายวันละ 100 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แก่โจทก์

จำเลยให้การว่า โจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อเพราะค้างชำระค่าเช่าซื้อเกินกว่าสองงวดติดต่อกัน จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ชำระค่าเช่า ซื้อล่าช้า จำเลยจึงนำเอาเงินที่โจทก์ชำระไปหักเป็นค่าปรับ เป็นเหตุให้โจทก์ยังคงค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่อีกประมาณ 200,000 บาท สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เจ้าของที่แท้จริงคือ สหกรณ์ธนบุรีแท็กซี่ จำกัด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 8 ท ? 7851 กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงแทนเจตนาจำเลย กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 2,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
                 จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองให้เป็นพับ
                 โจทก์ฎีกา

                  ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ?เห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แสดงว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระค่าปรับ ปัญหาที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าปรับกรณีชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าหรือไม่ และต้องชำระค่าปรับให้แก่จำเลยหรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับประเด็นที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลย หรือไม่ ประกอบกับคู่ความได้นำสืบข้อเท็จจริงในเรื่องค่าปรับไว้แล้ว เพื่อความสะดวกและรวดเร็วและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยไปเสียทีเดียว ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันว่า โจทก์ยังค้างชำระค่าปรับ โจทก์ฎีกาโดยไม่โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยังค้างชำระค่าปรับ แก่จำเลยตามสัญญาจริง แต่โจทก์ฎีกาว่าการคิดค่าปรับตามสัญญาเช่าซื้อ เอกสารหมาย จ. 1 เป็นการเรียกค่าปรับสูงเกินไป จึงมีปัญหาว่าค่าปรับตามสัญญาเอกสารหมาย จ. 1 เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนหรือไม่ โจทก์เบิกความว่า จำเลยคิดเบี้ยปรับกรณีชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าวันละ 100 บาท คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน หรือ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่วนจำเลยเบิกความว่า คดีนี้โจทก์ส่งเงินล่าช้าและขอร้องจำเลยให้นำเงินดังกล่าวไปชำระค่าเช่าซื้อ ก่อน เมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบแล้ว จึงจะหาเงินมาชำระค่าเบี้ยปรับและดอกเบี้ยภายหลัง จำเลยตกลงแต่จะขอคิดเบี้ยปรับและดอกเบี้ยในการส่งค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าเป็นเวลา 2,139 วัน คิดค่าปรับวันละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 113,900 บาท และโจทก์ยังค้างชำระดอกเบี้ยล่าช้าอีก 50,000 บาท แต่จำเลยขอคิดเพียง 200,000 บาท เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อ เอกสารหมาย จ. 1 ข้อ 1 โจทก์ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยโดยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ทุก 7 วัน ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จเท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการผิดนัด มากน้อยเพียงใด ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจจึงเห็นสมควรกำหนดให้โจทก์ชำระค่าปรับให้ แก่จำเลยรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจยังไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน?
           พิพากษากลับว่า ให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 ท ? 7851 กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์ชำระค่าปรับแก่จำเลยเป็นเงิน 10,000 บาท ก่อน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ.
             ( มานัส เหลืองประเสริฐ - สุรพล เจียมจูไร - ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช )

             ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป
     นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 379 และ มาตรา 382 ท่านให้ใช้วิธีเดียวกันนี้บังคับในเมื่อบุคคลสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตน กระทำหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งอันใดนั้นด้วย

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน  คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม

 

  




สัญญาซื้อขายเช่าซื้อและขายฝาก

ผิดนัดให้สัญญาเลิกกันทันทีโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย-แบ่งชำระราคาเป็น 2 งวด
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาจะซื้อขาย รับผิดชำระดอกเบี้ย
ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า
สัญญาขายฝาก | การวางทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ |รถยนต์ถูกลักไป | ใช้สิทธิไม่สุจริต
ข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ
ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การฝากเงินกับธนาคารเป็นสัญญาฝากทรัพย์
พนักงานธนาคารฝากเงินผิดบัญชีเรียกคืนได้