ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า

การที่จำเลยปรับปรุงตกแต่งอาคารพิพาทนั้น เป็นการซ่อมแซมตามปกติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้เช่าจะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 553 แม้จำเลยจะปรับปรุงพื้น ซ่อมหลังคา ทาสี กั้นห้องก็ทำเพื่อให้สวยงามและความสะดวกสบายของจำเลยเองเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3496/2535
 
          การที่จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในอาคารพิพาทที่เช่าต่อมา และโจทก์ผู้ให้เช่าได้นำเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระค่าเช่าไปเรียกเก็บเงินถือว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าโดยบอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ถือว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทได้เลิกกันแล้ว การที่จำเลยยังคงครอบครองอาคารพิพาทหลังจากนั้น ย่อมเป็นการละเมิดซึ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้นำเช็คที่จำเลยออกให้ไปเรียกเก็บเงินอีก ก็เป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อเป็นค่าเสียหายเท่านั้น หามีผลเกิดเป็นสัญญาเช่าไม่ การที่จำเลยทำการปรับปรุงพื้น ซ่อมหลังคา ทาสีและกั้นห้องในอาคารพิพาท นั้น ถือว่าเป็นการซ่อมแซมตามปกติซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 และเป็นการทำเพื่อให้สวยงามและความสะดวกสบายของจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าอาคารเลขที่ 217 และเครื่องอุปกรณ์ประกอบสำนักงานจากโจทก์ เมื่อครบกำหนดการเช่าแล้วจำเลยยังคงอยู่ในอาคารที่เช่าและให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอาคารดังกล่าวไม่ยอมส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายถึงวันฟ้องจำนวน 100,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากอาคารของโจทก์

          จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยโจทก์ให้จำเลยซ่อมแซมปลูกสร้างต่อเติมอาคารพิพาทหลายอย่าง และตกลงให้สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทำขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และโจทก์ยินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทมีกำหนด 20 ปี จนถึงปี 2540 ขอให้ยกฟ้อง และให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา โดยให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปจนครบกำหนด 20 ปี

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมิใช่สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา การที่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทภายหลังครบกำหนดการเช่าแล้ว เป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งโจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้จำเลยมีสิทธิเช่าอาคารพิพาทไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2536
          โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาทนับแต่เดือนพฤษภาคม 2528 เป็นต้นไปจนกว่าจะออกไปจากอาคารพิพาทของโจทก์

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทของโจทก์เดิมโจทก์ใช้เป็นสำนักงานจัดจำหน่ายรถยนต์เบ๊นซ์และมีอู่สำหรับบริการซ่อมรถยนต์รวมอยู่ด้วย จำเลยได้เช่าอาคารพิพาทเพื่อใช้เป็นสำนักงานจัดจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าและทำเป็นอู่ซ่อมรถยนต์โดยได้ทำสัญญาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 มีกำหนด 3 ปีเมื่อครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปอีก3 ปี ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 31 มีนาคม 2526 เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทต่อไป และโจทก์ได้รับค่าเช่าเป็นเช็คจากจำเลยลงวันที่ล่วงหน้าเป็นรายเดือนไว้จนถึงเดือนเมษายน 2528 ปัญหาแรกที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในส่วนนี้แล้วปรากฏว่าสัญญาเช่าทั้งสองฉบับมีอายุการเช่าฉบับละ 3 ปี รวมเป็นเวลาเช่า 6 ปี ครบกำหนดในวันที่ 31 มีนาคม 2526 หลังจากนั้นโจทก์ยังได้นำเอาเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระค่าเช่าไปเรียกเก็บเงินอยู่อีก ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 570 ซึ่งคู่ความฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยแต่ไม่จำต้องบอกล่วงหน้ากว่าสองเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ครั้นวันที่ 21 สิงหาคม2527 โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปอีก โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปและส่งมอบอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวและครบกำหนด 45 วันแล้ว จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมส่งมอบอาคารพิพาทคืนให้โจทก์ เมื่อกรณีเป็นดังนี้ต้องถือว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทได้เลิกกันแล้ว เมื่อจำเลยยังครอบครองอาคารพิพาทอยู่ต่อไปก็เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ฉะนั้น การที่โจทก์นำเช็คค่าเช่าที่ยังเหลืออยู่ไปเรียกเก็บเงิน จึงถือว่าเป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อเป็นค่าเสียหายหามีผลเกิดเป็นสัญญาเช่าไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ปัญหาข้อต่อไปมีว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตามเอกสารหมาย จ.6 และ จ.1 นั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่จำเลยปรับปรุงตกแต่งอาคารพิพาทนั้น เป็นการซ่อมแซมตามปกติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้เช่าจะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 553 แม้จำเลยจะปรับปรุงพื้น ซ่อมหลังคา ทาสี กั้นห้องก็ทำเพื่อให้สวยงามและความสะดวกสบายของจำเลยเองเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

          พิพากษายืน


( อัมพร เดชศิริ - สมปอง เสนเนียม - วิทูรย์ สุทธิประภา )

 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน  คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม

 

 




สัญญาซื้อขายเช่าซื้อและขายฝาก

ผิดนัดให้สัญญาเลิกกันทันทีโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย-แบ่งชำระราคาเป็น 2 งวด
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาจะซื้อขาย รับผิดชำระดอกเบี้ย
สัญญาขายฝาก | การวางทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ |รถยนต์ถูกลักไป | ใช้สิทธิไม่สุจริต
ข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ
ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การฝากเงินกับธนาคารเป็นสัญญาฝากทรัพย์
พนักงานธนาคารฝากเงินผิดบัญชีเรียกคืนได้