ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

 

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
   
  แบ่งขายที่ดินโดยผู้ซื้อแต่ละคนเข้าครอบครองที่ดิน ผู้ซื้อส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ซื้อแต่ละคนเข้าทำประโยชน์ที่ดินโดยทางผู้ขายสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อแต่ละคนในภายหลังตามเนื้อที่ที่แต่ละคนซื้อ แต่ผู้ขายถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยยังไม่ได้ไปดำเนินการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่แต่ละคน   แสดงว่าผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีเจตนาที่จะไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลัง  การซื้อขายที่ดินจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การเข้าครอบครองที่ดินในส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่นั้น จึงเป็นการครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิของผู้ขายตามสัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็นการยึดถือที่ดินแทนผู้ขาย มิใช่เป็นการยึดถือในฐานะเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าผู้ซื้อได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังผู้ขายว่าไม่เจตนายึดถือที่ดินพิพาทแทนอีกต่อไป ดังนั้น แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7422 - 7426/2549

          น. ได้แบ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเป็นบางส่วนที่ผู้ร้องแต่ละคนครอบครองอยู่พร้อมทั้งส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ร้องแต่ละคนเข้าทำประโยชน์ในที่ดินได้ โดย น. สัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องแต่ละคนในภายหลังตามเนื้อที่ที่ผู้ร้องแต่ละคนซื้อ แต่ น. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โดยยังไม่ได้ดำเนินการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่ผู้ร้องแต่ละคน แสดงว่า น. ผู้ขายที่ดินพิพาท และผู้ร้องทั้งห้า ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่างมีเจตนาจะไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินที่ซื้อขายกันเฉพาะส่วนได้กระทำสำเร็จแล้ว การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับผู้ร้องทั้งห้า จึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การที่ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่ จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ น. ตามสัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทน น. มิใช่การยึดถือในฐานะเจ้าของ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง น. ว่าไม่เจตนายึดถือที่ดินพิพาทแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

          ผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 ได้ต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นว่าซื้อที่ดินจาก น. แต่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน และ น. มิได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าขายที่ดินให้ไว้ แต่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนกันในภายหลังเมื่อแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นเพียงการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และการเข้าครอบครองที่พิพาทดังกล่าวเป็นการครอบครองแทน น. มิใช่การครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

          คดีทั้งห้าสำนวน ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยเรียกผู้ร้องตามลำดับสำนวนว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 5 และให้เรียกนางรัชนี ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของนางนิภา ว่าผู้คัดค้านที่ 2

          ผู้ร้องทั้งห้าขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

          ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

          ผู้คัดค้านที่ 1 ถอนคำคัดค้านที่คัดค้านผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ศาลชั้นต้นอนุญาต

          ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อนางนิภาเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงมีอำนาจเข้าว่าคดีดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้

          ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์ทั้งสองสำนวน

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ให้ผู้คัดค้านที่ 2 มีอำนาจเข้าว่าคดีในฐานะผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้ได้

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งห้า ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ

          ผู้ร้องทั้งห้าอุทธรณ์ โดยผู้ร้องที่ 5 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา

          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาโดยผู้ร้องที่ 4 และที่ 5 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อนางนิภาได้แบ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเป็นบางส่วนที่ผู้ร้องแต่ละคนครอบครองอยู่พร้อมทั้งส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ร้องแต่ละคนเข้าทำประโยชน์ที่ดินโดยนางนิภาสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องแต่ละคนในภายหลังตามเนื้อที่ที่ผู้ร้องแต่ละคนซื้อ แต่นางนิภาถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยยังไม่ได้ไปดำเนินการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่ผู้ร้องแต่ละคน ผู้ร้องทั้งห้าได้ครอบครองที่ดินในส่วนที่แต่ละคนซื้อจากนางนิภามาด้วยความสงบและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของคนละเกินกว่า 10 ปีแล้ว แสดงให้เห็นว่านางนิภาผู้ขายและผู้ร้องทั้งห้าผู้ซื้อต่างมีเจตนาที่จะไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลัง เมื่อการแบ่งแยกที่ดินที่ซื้อขายกันเฉพาะส่วนนี้ได้กระทำสำเร็จแล้ว ฉะนั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนางนิภากับผู้ร้องทั้งห้าจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพราะถ้านางนิภากับผู้ร้องทั้งห้าประสงค์จะทำนิติกรรมซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกันแล้วผู้ร้องทั้งห้าก็น่าจะต้องขอหลักฐานการรับเงินค่าที่ดินจากนางนิภาไว้เป็นหลักฐาน หรือมิฉะนั้นก็จะต้องขอให้นางนิภาใส่ชื่อของผู้ร้องทั้งห้าเป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว เลขที่ 175 ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว (บ้านบ่อ) จังหวัดสมุทรสาคร เสียเลย แต่ที่ยังไม่ได้ไปทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะมีอุปสรรคเนื่องจากนางนิภาเจ้าของที่ดินถึงแก่ความตายเสียก่อน ดังนี้จึงถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนางนิภากับผู้ร้องทั้งห้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดดังที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกา การที่นางนิภากับผู้ร้องทั้งห้าตกลงและซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้วผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่นั้น จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนางนิภาตามสัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนนางนิภา มิใช่เป็นการยึดถือในฐานะเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งห้าได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังนางนิภาว่าไม่เจตนายึดถือที่ดินพิพาทแทนนางนิภาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนั้น แม้ผู้ร้องทั้งห้าจะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องทั้งห้าก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

          ที่ผู้ร้องที่ 4 และที่ 5 ได้ต่อสู้ไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องที่ 4 และที่ 5 ซื้อที่ดินจากนางนิภาแต่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันและนางนิภาไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าขายที่ดินให้ไว้เป็นหลักฐาน ทั้งไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนกันในภายหลังเมื่อดำเนินการแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฉะนั้นการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ว่า การที่ผู้ร้องทั้งห้าได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทในส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่กับนางนิภาผู้ขายและมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลังจึงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยไม่มีเจตนาไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อันจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อกรณีเป็นสัญญาจะซื้อจะขายการที่ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่ยังมิได้ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนนางนิภา มิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ผู้ร้องทั้งห้าจะครอบครองเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ได้นั้น กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่ามิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นอันขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างตามฎีกาของผู้ร้องที่ 4 และที่ 5 จึงไม่อาจรับฟัง สำหรับฎีกาของผู้ร้องทั้งห้าในเรื่องอื่น ๆ เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยและความเห็นส่วนตัวซึ่งไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องทั้งห้าฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

( ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - สบโชค สุขารมณ์ - มนตรี ยอดปัญญา )

ศาลจังหวัดสมุทรสาคร - นายสุรวัฒน์ ภู่ภูมิรัตน์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 - นายไพโรจน์ วายุภาพ

 

มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

  มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบ ครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก

 มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบ ครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน  คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม

 

 




สัญญาซื้อขายเช่าซื้อและขายฝาก

ผิดนัดให้สัญญาเลิกกันทันทีโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย-แบ่งชำระราคาเป็น 2 งวด
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาจะซื้อขาย รับผิดชำระดอกเบี้ย
ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า
สัญญาขายฝาก | การวางทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ |รถยนต์ถูกลักไป | ใช้สิทธิไม่สุจริต
ข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ
การฝากเงินกับธนาคารเป็นสัญญาฝากทรัพย์
พนักงานธนาคารฝากเงินผิดบัญชีเรียกคืนได้