ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

 

การซื้อขายอะไหล่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้หรือไม่?

การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้หรือได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าอะไหล่รถยนต์ให้แก่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าอะไหล่รถยนต์แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ประกอบวรรคสาม (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2550
 
          สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยทำกันก่อนมีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 456 ฉบับใหม่ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 เดิม ก่อนมีการแก้ไข เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าอะไหล่รถยนต์ให้แก่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าอะไหล่รถยนต์แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ประกอบวรรคสาม (เดิม)

          จำเลยให้การว่า ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบอะไหล่รถยนต์ตามฟ้องแก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แล้ว แม้ไม่ได้ระบุว่ารายการซื้อขายใดขาดอายุความ 2 ปี รายการใดขาดอายุความ 5 ปี แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งอะไหล่ระยนต์รายการใดจะขาดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง

          โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าอะไหล่รถยนต์ที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย โดยจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยรวมทั้งผู้มีกรณีพิพาทกับผู้เอาประกันภัยในกรณีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นฝ่ายผิด อันเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นกิจการการประกันวินาศภัยภายในวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
  
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ทั่วไปจำเลยประกอบธุรกิจในการรับประกันภัยรถยนต์ จำเลยซื้ออะไหล่รถยนต์จากโจทก์หลายรายการตั้งแต่ปี 2538 ถึง 2541 รวมเป็นเงิน 551,709.20 บาท โจทก์ส่งสินค้าให้แก่จำเลยครบถ้วน จำเลยนำสินค้าไปใช้ไม่น้อยกว่า 3 ปี แล้ว โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี ในต้นเงิน 551,709.20 บาท นับถึงวันฟ้องเป็นเงิน 124,134 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 675,843 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 675,843 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

          จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ซื้ออะไหล่รถยนต์และค้างชำระราคาโจทก์ตามฟ้อง คงซื้อและค้างชำระไม่เกินจำนวน 10,000 บาท การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ไม่มีการวางประจำและไม่มีการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบ คดีโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) แล้ว ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 551,709.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (วันที่ 10 มิถุนายน 2545) จนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 20,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 361,117.58 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 19 มีนาคม 2545) จนกว่าชำระเสร็จ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์และจำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด..... พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้สั่งซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์และค้างชำระราคาแก่โจทก์ตามฟ้อง

          ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้หรือได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยนั้น เห็นว่า สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยทำกันก่อนมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ฉบับใหม่ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 เดิมก่อนมีการแก้ไข เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าอะไหล่รถยนต์ให้แก่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าอะไหล่รถยนต์แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ประกอบวรรคสาม (เดิม)

          ปัญหาประการต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่าคำให้การของจำเลยในเรื่องอายุความเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง หรือไม่ จำเลยให้การว่า ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบอะไหล่รถยนต์ตามฟ้องแก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แล้ว เห็นว่า แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ได้ระบุว่ารายการซื้อขายใดขาดอายุความ 2 ปี รายการใดขาดอายุความ 5 ปี ก็ตาม แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งอะไหล่รถยนต์รายการใดจะขาดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง

          ปัญหาประการสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ที่จำเลยผิดสัญญาซื้อขายกับโจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญา ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง ส่วนจำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์ส่งอะไหล่รถยนต์ไปให้อู่ซ่อมรถยนต์ตามที่จำเลยสั่งก็เพื่อให้อู่ซ่อมรถยนต์ทำการซ่อมแซมรถยนต์อันเป็นกิจการของอู่ซ่อมรถยนต์ มิใช่กิจการของจำเลย จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ เห็นว่า โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าอะไหล่รถยนต์ที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย โดยจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยรวมทั้งผู้มีกรณีพิพาทกับผู้เอาประกันภัยในกรณีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นฝ่ายผิด อันเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นกิจการการประกันวินาศภัยภายในวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
          พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท.
 
 
( บุญส่ง น้อยโสภณ - ชวลิต ตุลยสิงห์ - สิทธิชัย พรหมศร )
 
 

มาตรา 193/33  สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
(1)  ดอกเบี้ยค้างชำระ
(2)  เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
(3)  ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 193/34 (6)
(4)  เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
(5)  สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี
 
มาตรา 193/34  สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้  ให้มีกำหนดอายุความสองปี
(1)  ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(2)  ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้  เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทางเกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(3)  ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(4)  ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการเรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(5)  ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ
(6)  ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
(7)  บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่างๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(8)  ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป  หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(9)  ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างรายวัน รวมทั้งผู้ฝึกหัดงาน  เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(10)  ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่ได้ตกลงกันไว้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(11)  เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล  เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(12)  ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(13)  ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(14)  ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
(15)  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(16)  ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(17)  ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานดังกล่าวเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
 
มาตรา 456  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย (หมายเหตุ แก้ไขใหม่)

มาตรา 177  เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (3) โดยอนุโลม
 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

อายุความคดีมรดก กับอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก

ในกรณีที่เจ้ามรดก ขณะถึงแก่ความตายไม่มีคู่สมรสและบุตร บิดามารดาถึงแก่ความตายไปแล้วมรดกจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มีปัญหาว่าถ้าพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกแล้วส่วนของพี่น้องที่ตายก่อนเจ้ามรดกจะตกได้แก่ผู้ใด?

 

 




สัญญาซื้อขายเช่าซื้อและขายฝาก

ผิดนัดให้สัญญาเลิกกันทันทีโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย-แบ่งชำระราคาเป็น 2 งวด
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
สืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
เช่าซื้อรถยนต์แล้วนำไปขายดาวน์คนซื้อไม่ผ่อนต่อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระบุชื่อบุตรเป็นผู้รับสิทธิเมื่อตาย
ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกตามบันทึกการหย่า
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
ผิดสัญญาจะซื้อขาย รับผิดชำระดอกเบี้ย
ซ่อมหลังคา ทาสีเพื่อสวยงามเป็นหน้าที่ของผู้เช่า
สัญญาขายฝาก | การวางทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ |รถยนต์ถูกลักไป | ใช้สิทธิไม่สุจริต
ข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ (สัญญาเช่าซื้อรถยนต์)
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ
ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การฝากเงินกับธนาคารเป็นสัญญาฝากทรัพย์
พนักงานธนาคารฝากเงินผิดบัญชีเรียกคืนได้