ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




คนส่งมอบเงินไม่ใช่ผู้ให้กู้ยืมตามสัญญากู้ยืม

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

คนส่งมอบเงินไม่ใช่ผู้ให้กู้ยืมตามสัญญากู้ยืม

การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น ต้องเป็นกรณีที่สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องนั้น โจทก์ต้องมีชื่อเป็นผู้ให้กู้ยืมเงิน แม้โจทก์จะเป็นคนส่งมอบเงินที่ให้กู้ยืมกันตามสัญญากู้ยืมก็ตาม แต่ถ้าในสัญญากู้ยืมเงินมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ให้กู้และลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ กรณีเช่นนี้โจทก์ในคดีนี้จะนำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมาฟ้องผู้กู้หาได้ไม่ โจทก์ไม่มี่อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3784/2553 

        จำเลยสละข้อต่อสู้ตามคำให้การที่ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอม คงเหลือข้อต่อสู้เพียงว่า จำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ ไม่เคยกู้ยืมเงิน และรับเงินไปจากโจทก์ คำให้การของจำเลยที่เหลือหลังจากสละข้อต่อสู้บางข้อแล้ว ยังคงเป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธชัดแจ้งเป็นคำให้การที่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์

          โจทก์อ้างหนังสือสัญญากู้ยืมซึ่งมี ก. ลงชื่อในช่องผู้ให้กู้ โดยโจทก์ไม่ได้ลงชื่อ ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีที่โจทก์นำสืบนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ ที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยกู้ยืมเงินจาก ก. และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกู้ยืมเงินจาก ก. เป็นการนำสืบและวินิจฉัยเพื่อเป็นการให้เหตุผลหรืออธิบายว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ จึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยอยู่ในกรอบของคำให้การที่ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 53,028 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 40,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (วันที่ 25 ธันวาคม 2545) ต้องไม่เกิน 3,029 บาท กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยโดยกำหนดค่าทนายความให้ 600 บาท

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกู้ยืมเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จำเลยกู้ยืมเงินจากนางกมลกาณจน์ มิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนการกู้ยืมเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.3 จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ยืมแก่โจทก์ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเฉพาะตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.3 เท่านั้น ต่อมาจำเลยสละข้อต่อสู้ตามคำให้การที่ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม จึงคงเหลือข้อต่อสู้ตามคำให้การเพียงว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์และไม่เคยรู้จักโจทก์ จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้องแต่อย่างใดเท่านั้น คำให้การของจำเลยที่เหลือหลังจากสละข้อต่อสู้บางข้อแล้วนั้น ยังคงเป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธชัดแจ้งแล้ว เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง และจำเลยมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามคำให้การได้ว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ไม่เคยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ โจทก์มี
ภาระการพิสูจน์ โดยต้องนำสืบให้รับฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ แต่ในการสืบพยานของโจทก์ โจทก์อ้างหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เป็นพยานหลักฐาน ปรากฏว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวมีนางกมลกาญจน์ลงชื่อในช่องผู้ให้กู้ โจทก์เองมิได้ลงชื่อในช่องผู้ให้กู้หรือลงชื่อที่ใดในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเลย การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ เป็นการวินิจฉัยแล้วรับฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบนั่นเอง อันเป็นการวินิจฉัยและรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน หาเป็นการวินิจฉัยและรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่ ส่วนที่จำเลยนำสืบเกินเลยไปจากคำให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากนางกมลกาญจน์และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากนางกมลกาญจน์นั้น เป็นการนำสืบและวินิจฉัยเพื่อเป็นการให้เหตุผลหรืออธิบายว่าไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ เป็นการนำสืบและวินิจฉัยอยู่ในกรอบของคำให้การที่ว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำให้การของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยนำสืบดังที่นำสืบมาได้ และศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยนอกคำให้การนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่โจทก์อ้างมาในฎีกา รูปคดีไม่ตรงกับคดีนี้ นำมาเทียบเคียงกับคดีนี้ไม่ได้ ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ฎีกาของโจทก์ประการอื่นนอกจากที่วินิจฉัยมาแล้วเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

( ประทีป ดุลพินิจธรรมา - สนอง เล่าศรีวรกต - สุริยง ลิ้มสถิรานันท์ )
ศาลแขวงพระนครเหนือ - นายอรรถการ ฟูเจริญ
ศาลอุทธรณ์กลาง - นายบุญทอง ปลื้มวรสวัสดิ์

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
   (วรรคสอง)   ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
   (วรรคสาม)   จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้า
ฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
   (วรรคสี่)      ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
   (วรรคห้า)     บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม

กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแต่ยึดโฉนดที่ดินเป็นประกัน
จำเลยอ้างว่าโจทก์กู้ยืมเงิน 5 ล้านบาทโดยมอกโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันแต่การกู้ยืมตามอ้างไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืน เพราะการกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องโจทก์ให้ชำระหนี้จึงไม่ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืม ศาลวินิจฉัยว่า หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงินไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จำเลยไม่อาจอ้างเหตุที่จะยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้เป็นประกันได้

 

 




หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม
ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแต่ยึดโฉนดที่ดินเป็นประกัน
เช็คเป็นเพียงหลักฐานแห่งการชำระหนี้