ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ซื้อทรัพย์โดยสุจริตไม่ทราบว่าเป็นสินสมรส

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ซื้อทรัพย์โดยสุจริตไม่ทราบว่าเป็นสินสมรส

สามีภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน คู่สมรสที่ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ภายใน 1 ปี แต่มีข้อยกเว้นว่าบุคคบภายนอกที่ทำนิติกรรมด้วยความสุจริตและเสียค่าตอบแทน กฎหมายให้สันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมจึงเป็นหน้าที่ของผู้ฟ้องจะต้องพิสูจน์ว่าบุคคลภายนอกไม่สุจริตอย่างไรไม่ใช่หน้าที่ของผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้พิสุจน์
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1849/2551 

          จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จดทะเบียนสมรสกับนางสาว พ. จำเลยซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสของโจทก์และนาง พ. จากนาง พ. โดยเข้าใจว่านาง พ. เป็นหม้ายเนื่องจากโจทก์ไปมีภริยาใหม่และได้ทิ้งร้างนาง พ. จำเลยทำนิติกรรมกับนาง พ. โดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยกับนาง พ. ซึ่งถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา

           โจทก์ฟ้องว่า นางพิมพ์ผู้ตายได้ขายที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของโจทก์และผู้ตายให้แก่จำเลย จำเลยซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตเนื่องจากทราบว่าโจทก์เป็นสามีของนางพิมพ์และไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาดังกล่าว ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5249 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างนางพิมพ์กับจำเลย และเพิกถอนนิติกรรมจำนองเหนือที่ดินแปลงดังกล่าว

          จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของนางพิมพ์จำเลยซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  “ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสกับนางพิมพ์ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2508 ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 นางพิมพ์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5249 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยในราคา 1,000,000 บาท โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมและมิได้ให้สัตยาบันและในวันเดียวกันจำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ในวงเงิน 700,000 บาท นางพิมพ์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า มีเหตุเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างนางพิมพ์กับจำเลยหรือไม่ โจทก์อ้างว่านางพิมพ์ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมให้แก่จำเลยโดยโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 จึงต้องพิจารณาตามความในวรรคหนึ่งว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นจำเลยได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 บัญญัติว่า “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต” โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว โจทก์นำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสกับนางพิมพ์ อยู่กินด้วยกันตลอดไม่เคยทิ้งร้าง ที่ดินพิพาทมีราคา 5,000,000 บาท จำเลยนำสืบว่า ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาจำเลยไม่เคยเห็นโจทก์อยู่กับนางพิมพ์ นางพิมพ์บอกจำเลยว่าโจทก์มีภริยาใหม่ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครนายก ชาวบ้านในละแวกดังกล่าวก็ทราบว่าโจทก์ไปมีภริยาใหม่ ในข้อที่จำเลยนำสืบนี้ ปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย จ.3 ว่าโจทก์ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่จังหวัดนครนายก สอดคล้องกับคำเบิกความของจำเลย ส่วนที่โจทก์อ้างว่าไปทำงานที่จังหวัดปราจีนบุรีคงมีแต่คำเบิกความของโจทก์กับนางอำไพบุตรโจทก์เท่านั้น นอกจากนี้โจทก์ยังเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า บุคคลทั่วไปรวมทั้งญาติเข้าใจว่าโจทก์ทิ้งร้างนางพิมพ์เจือสมกับคำเบิกความของจำเลย แม้โจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับนางพิมพ์ก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบให้รับฟังได้ว่าจำเลยทราบเรื่องดังกล่าว ส่วนที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินพิพาทมีราคา 5,000,000 บาท นั้น คงมีแต่เพียงโจทก์และนางอำไพบุตรโจทก์เบิกความลอยๆ ว่าที่ดินพิพาทมีราคาประมาณ 5,000,000 บาท แม้จำเลยเบิกความว่า ที่ดินใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทจะขายในราคา 1,000,000 บาท ต่อ 18 ตารางวา ก็มิได้หมายความว่าที่ดินพิพาทจะมีราคาถึง 5,000,000 บาท ดังที่โจทก์อ้าง เพราะที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกันหาใช่ว่าจะขายได้ในราคาเดียวกันเสมอไปไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนจึงยังฟังไม่ได้ว่า ที่ดินพิพาทมีราคา 5,000,000 บาท ตามที่อ้าง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยเบิกความว่า ที่ดินพิพาทมีราคาประเมินประมาณ 2,000,000 บาท ราคาที่ดินพิพาทที่จำเลยซื้อจากนางพิมพ์จึงเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น เห็นว่า แม้ที่ดินพิพาทจะมีราคาประเมิน 2,000,000 บาท ดังที่จำเลยเบิกความก็ตาม แต่การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนางพิมพ์กับจำเลยเป็นการซื้อขายที่ดินในฐานะที่จำเลยเป็นหลานของนางพิมพ์และได้ให้ความช่วยเหลือดูแลนางพิมพ์ซึ่งอยู่ในวัยชรา การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทในราคา 1,000,000 บาท จึงหาใช่เป็นเรื่องผิดปกติและยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จดทะเบียนสมรสกับนางพิมพ์ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยเข้าใจว่านางพิมพ์เป็นหม้ายเนื่องจากโจทก์ไปมีภริยาใหม่และได้ทิ้งร้างนางพิมพ์ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับนางพิมพ์โดยสุจริต ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
( ประทีป เฉลิมภัทรกุล - วีระชาติ เอี่ยมประไพ - มนูพงศ์ รุจิกัณหะ )
           
 
มาตรา 1480  การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น
 

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
เงินบำนาญเป็นสินสมรสนำมาซื้อที่ดินระหว่างสมรส
จดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน
สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าผิดสัญญาต้องฟ้องคดี
ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ราษฎรตาม พ.ร.บ.จัดที่ดิน
บันทึกข้อตกเรื่องทรัพย์สินหลังทะเบียนหย่า
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาด-ให้ที่ดิน
บันทึกหย่าเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวเพื่อแยกสินสมรส
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี | ปรึกษากฎหมาย 085 960 4258
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก