ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต

การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส, การให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้า, ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ, เป็นข้อตกลงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี, สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต, รับโอนโดยสุจริต, สามีภริยาสามารถบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส,

สามียกที่ดินให้ภริยาต่อมาภริยายกที่ดินให้บุคคลภายนอก สามีไม่พอใจจึงบอกเลิกสัญญาระหว่างสมรส กรณีดังกล่าว บุคคลภายนอกที่รับโอนที่ดินจากภริยายังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รับโอนมาหรือไม่ สามีอ้างว่า ได้ให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่เพิกถอนการให้ความยินยอมโดยเด็ดขาดและตลอดไปนั้นตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี และฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อสามีได้บอกล้างแล้วกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงกลับมาเป็นของสามีเช่นเดิม ศาลเห็นว่า ภริยาโอนทรัพย์สินให้บุคคลภายนอกในขณะที่ภริยายังมีสิทธิตามข้อตกลงและสามียังไม่ได้บอกล้าง เมื่อข้ออ้างของสามีฟังไม่ได้ว่าบุคคลภายนอกรับโอนไปโดยไม่สุจริต บุคคลภายนอกจึงได้กรรมสิทธิ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2552

          แม้ข้อความที่ ธ. ให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่เพิกถอนการให้ความยินยอมแก่ น. ในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทจะตกเป็นโมฆะ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1469 ที่ให้สิทธิสามีหรือภริยาสามารถบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาได้ในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า น. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ขณะ น. ยังมีสิทธิตามข้อตกลงในการแบ่งสินทรัพย์ เนื่องจากยังมิได้ถูกบอกล้าง ผลของการบอกล้างดังกล่าวจึงไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยไม่สุจริต ตามความตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยสุจริต โจทก์จึงยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่

มาตรา 1469  สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและอาคารคลังเก็บสินค้าของโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินและอาคารคลังเก็บสินค้าของโจทก์อีกต่อไป กับให้จำเลยและบริวารร่วมกันชำระเงินค่าใช้สอยที่ดินและอาคารคลังเก็บสินค้าในอัตราเดือนละ 131,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและอาคารคลังเก็บสินค้าของโจทก์

          จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 114030 ถึง 114037 ตำบลดอกไม้ (บางแก้ว) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และอาคารคลังเก็บสินค้าเลขที่ 4/653 หมู่ 8 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว กับให้จำเลยชำระเงินในอัตราเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์นับถัดจากเดือนที่ฟ้อง (ฟ้องวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545) เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารคลังเก็บสินค้าของโจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท

          โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ 40,000 บาท นับถัดจากเดือนที่ฟ้อง (ฟ้องวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545) จนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารคลังเก็บสินค้าของโจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นเงิน 3,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดเป็นค่าทนายความ 1,500 บาท

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่านายธงชัย เป็นสามีของนางนิตยา มีบุตรด้วยกัน 8 คน รวมทั้งโจทก์ นายธงชัยและนางนิตยาประกอบอาชีพค้าขายเหล็กใช้ชื่อร้านว่าร้านซงไท โดยบุตรทั้ง 8 คน รวมทั้งโจทก์ต่างมีหน้าที่ช่วยเหลือกิจการของร้านค้าเหล็กดังกล่าวตลอดมา จนกระทั่งปี 2530 มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทขึ้น ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2541 นายธงชัยและนางนิตยาได้ทำหนังสือข้อตกลงในการแบ่งสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรสกัน ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีข้อตกลงว่าที่ดินตามข้อ 4 ถึงข้อ 7 ได้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 114030 ถึง 114037 ที่พิพาทนายธงชัยยกให้แก่นางนิตยาเป็นสินส่วนตัวไม่ขอเกี่ยวข้องอีกต่อไป และต่อมาวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 นายธงชัยได้ทำหนังสือยินยอมให้นางนิตยาทำนิติกรรมใดๆ ในที่ดินพิพาทได้ตามความประสงค์ และให้ความยินยอมล่วงหน้าไว้ด้วยว่า นายธงชัยจะไม่ขอยกเลิกเพิกถอนการให้ความยินยอมตามหนังสือยินยอมโดยเด็ดขาดและตลอดไป หลังจากนั้นนางนิตยาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยจดทะเบียนโอนให้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 และต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม 2544 นายธงชัยได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวไปยังนางนิตยา มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่าหลังจากนายธงชัยบอกเลิกสัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวแล้วโจทก์ยังมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอยู่หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ข้อความที่นายธงชัยให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่เพิกถอนการให้ความยินยอมโดยเด็ดขาดและตลอดไปเป็นข้อความที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี และฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ นายธงชัยจึงยังมีสิทธิบอกเลิกเพิกถอนการให้ความยินยอมและบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสได้และเมื่อนายธงชัยได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสไปยังนางนิตยาแล้วกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมกลับเป็นสินสมรสของนายธงชัยและนางนิตยาดังเดิมนั้น เห็นว่า แม้ข้อความที่นายธงชัยให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่เพิกถอนการให้ความยินยอมแก่นางนิตยาในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทจะตกเป็นโมฆะ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ที่ให้สิทธิสามีหรือภริยาสามารถบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาได้ในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า นางนิตยาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ขณะนางนิตยายังมีสิทธิตามข้อตกลงในการแบ่งสินทรัพย์เนื่องจากยังมิได้ถูกบอกล้าง ผลของการบอกล้างดังกล่าวจึงไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยไม่สุจริตตามความตอนท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาทำนองว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยไม่สุจริตเนื่องจากโจทก์ได้วางแผนให้นายธงชัยแบ่งทรัพย์สินให้นางนิตยาแล้วให้นางนิตยายกที่ดินพิพาทให้โจทก์อีกทอดหนึ่งนั้น ก็ได้ความจากคำเบิกความของนางนิตยาว่า เหตุที่นางนิตยายกที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียงผู้เดียวก็เพราะนายธงชัยแบ่งเอาทรัพย์สินไปเกือบหมดข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวจึงไม่พอที่จะรับฟังว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยไม่สุจริต โจทก์จึงยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ ข้ออ้างอื่นของจำเลยนอกจากนี้เป็นความเห็นส่วนตัวและไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เหมาะสมหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ดูเพียงจากเอกสารซึ่งมิได้บ่งบอกหรือแสดงความเสียหายของโจทก์แล้วกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ถึงเดือนละ 40,000 บาท จึงสูงเกินไปนั้น เห็นว่า แม้โจทก์มีเพียงภาพถ่ายประกอบคำเบิกความ แต่ภาพดังกล่าวก็แสดงถึงตัวอาคารที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์เบิกความว่า เนื้อที่ถึง 810 ตารางเมตร และลานจอดรถซึ่งมีเนื้อที่ถึง 1 ไร่เศษ นอกจากนี้ยังได้ความว่าที่พิพาทอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ใกล้ความเจริญและมีความสะดวกในการประกอบธุรกิจอีกด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เดือนละ 40,000 บาท จากที่โจทก์เรียกร้องเอาถึงเดือนละ 131,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสม ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

( เฉลียว พลวิเศษ - พิทักษ์ คงจันทร์ - ตรีวุฒิ สาขากร )

 

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
เงินบำนาญเป็นสินสมรสนำมาซื้อที่ดินระหว่างสมรส
จดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน
ซื้อทรัพย์โดยสุจริตไม่ทราบว่าเป็นสินสมรส
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าผิดสัญญาต้องฟ้องคดี
ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ราษฎรตาม พ.ร.บ.จัดที่ดิน
บันทึกข้อตกเรื่องทรัพย์สินหลังทะเบียนหย่า
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาด-ให้ที่ดิน
บันทึกหย่าเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวเพื่อแยกสินสมรส
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี | ปรึกษากฎหมาย 085 960 4258
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก