ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




บันทึกข้อตกเรื่องทรัพย์สินหลังทะเบียนหย่า

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1    
 

สามีภริยาจดทะเบียนหย่าและได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินหลังการจด ทะเบียนหย่าว่าทั้งสองตกลงยกที่ดินให้กับบุตร  ต่อมาสามีนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจำนองกับธนาคารแล้วไถ่ถอนและได้นำไป ขายฝากกับให้แก่นายทุนและมีการไถ่ถอน ต่อมาสามีได้นำไปขายฝากให้โจทก์ในคดีนี้โดยมีการกำหนดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีมีการชำระดอกเบี้ยกันเรื่อยมาแต่ไม่ได้ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด จนกระทั้งถึงแก่ความตายโดย(อดีต)ภริยาและบุตรยังคงอาศัยอยู่ในบ้านหลัง พิพาท 

มีคำถามว่าข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝากนั้นเป็น นิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมหรือไม่??  ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม สำหรับเรื่องดอกเบี้ยระหว่างสัญญาเป็นการชำระสินไถ่บางส่วน  ในประเด็นเรื่องบันทึกข้อตกลงหลังการจดทะเบียนหย่ามีผลบังคับกันได้อย่าง หรือไม่???  สัญญาระหว่างสามีและภริยาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลภายนอก(บุตร) ได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุตรได้แสดงเจตนาดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิใน ที่ดินและบ้านตามสัญญา ดังนั้นสามีผู้มีชื่อเป็นเจ้าของจึงสามารถจำหน่าย จ่าย โอน ที่ดินและบ้านให้กับบุคคลอื่นได้

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่  291/2541

          การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก ส.ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ ส.เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ ส. และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ ส. และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้ รู้แล้วว่า ส.ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ ส. ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็น ข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ส. กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคล อื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก ส. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับ ส. มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ

          โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2528โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 35746 พร้อมด้วยบ้านเลขที่ 82/8 จากนายสมทบ  แต่นายสมทบไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดเวลา และถึงแก่ความตายไปเมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 บุตรนายสมทบ และจำเลยที่ 2 ภริยาที่หย่าขาดกันแล้วของนายสมทบอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินของโจทก์ทั้งสอง อีกต่อไปจึงบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกไปจากบ้านและที่ดินดังกล่าวแต่จำเลย ทั้งสองเพิกเฉย บ้านและที่ดินดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 7,000 บาท จำเลยทั้งสองพักอาศัยอยู่นับตั้งแต่สิ้นสุดระยะเวลาการไถ่จนถึงวันฟ้องเป็น เวลา 4 ปี 1 เดือน โจทก์ทั้งสองต้องขาดประโยชน์ไปเป็นเงิน 343,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกไปจากบ้านเลขที่ 82/8 กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 343,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีและค่าขาดประโยชน์นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปอีกเดือนละ 7,000 บาทแก่โจทก์ทั้งสอง จนกว่าจำเลยทั้งสองพร้อมบริวารจะออกไปจากบ้านและที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

          จำเลยทั้งสองให้การ กับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรนายสมทบ ส่วนจำเลยที่ 2 เคยเป็นภริยานายสมทบมาก่อน แต่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วโดยมีบันทึกข้อตกลงในการหย่า ระหว่างจำเลยที่ 2 กับนายสมทบว่าทั้งสองฝ่ายตกลงยกทรัพย์สินรวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ จำเลยที่ 1 นายธีระพล และนางสาววรรณิภา บุตรทั้งสามซึ่งเป็นผู้เยาว์ นายสมทบจึงไม่มีอำนาจขายฝากบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองทราบข้อตกลงในการหย่าระหว่างนายสมทบกับจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริต ทั้งสัญญาขายฝากทำกันในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้เยาว์และไม่ได้รับอนุญาตจากศาล เป็นโมฆะ นอกจากนี้ สัญญาขายฝากดังกล่าวยังเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยการแสดงเจตนาลวงด้วยการสม รู้กันระหว่างโจทก์ทั้งสองนายประสานและนายสมทบ ไม่มีเจตนาจะให้ผูกพันกันตามสัญญาขายฝากแต่มีเจตนาจะให้ผูกพันกันตามสัญญา กู้ยืมที่นายสมทบเป็นผู้กู้จากนายประสานจำนวน 250,000 บาท บ้านและที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 1 นายธีระพลและนางสาววรรณิภาโจทก์ทั้งสองจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กลับ คืนเป็นของนายสมทบตามเดิม โจทก์ทั้งสองไม่ได้กรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และ เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองบ้านและที่ดินพิพาทหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ ค่าเช่าไม่เกินเดือนละ4,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง และให้ทำลายหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 35746 ให้เจ้าพนักงานที่ดินถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากการเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน พิพาทแล้วใส่ชื่อนายสมทบเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และให้โจทก์ทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1

          โจทก์ทั้งสองให้การแก้ฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายสมทบไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดระยะเวลา บ้านและที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองหรือนายประสานไม่เคยทำสัญญากู้ยืมกับนายสมทบสัญญาขายฝากมิได้ทำ ขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 และนายสมทบเคยถูกบริษัทเอ็มแอนด์บีมัลตี้ จำกัด ฟ้องและถูกยึดบ้านพิพาทโจทก์ทั้งสองร้องขัดทรัพย์ ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำเลยทั้งสองทราบเรื่องดี แต่มิได้โต้แย้งการกระทำของโจทก์ทั้งสองประการใด จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเพื่อประวิงคดีขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองกับบริวารออกไปจากบ้านและที่ดินของ โจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 7,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ 23 มีนาคม 2535 จนกว่าจำเลยทั้งสองกับบริวารจะออกไปจากบ้านและที่ดิน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องแย้งจำเลยที่ 1
          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่านายสมทบ บุญแพทย์ กับจำเลยที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2509 ระหว่างสมรสเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2518 นายสมทบได้ซื้อที่ดินพิพาทแปลงหมายเลขโฉนดที่ 35746 เนื้อที่ 47 ตารางวา จากนายพัฒพงศ์ และนายไพโรจน์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2519 นายสมทบ จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินว่าทั้งสองฝ่ายตกลงยกบ้านและที่ดิน พิพาทให้แก่บุตรคือจำเลยที่ 1   นายธีระพล  และนางสาววรรณิภา  โดยที่มิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้ง สาม ต่อมานายสมทบได้นำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด แล้วไถ่ถอนจำนอง และนำไปขายฝากให้แก่นายตุ๋ย  กับนางทองเจือ และมีการไถ่ถอนการขายฝาก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2528  นายสมทบ ได้ขายฝากบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองในราคา 250,000 บาท มีกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก 3 ปี โดยกำหนดชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และนายสมทบ ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่มิได้ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด จนกระทั่งนายสมทบถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 โดยจำเลยทั้งสองยังอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อแรกว่าสัญญาขายฝากที่พิพาท เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมหรือไม่ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้การที่โจทก์ทั้งสองตกลงกับนายสมทบและจำเลย ทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝากจึงเป็นการกำหนดให้นายสมทบ และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง เมื่อโจทก์ทั้งสองกับนายสมทบไปทำสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงว่าโจทก์ทั้งสองกับนายสมทบมีเจตนาที่จะทำสัญญาขาย ฝากระหว่างกันอย่างแท้จริง สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม

          ที่จำเลยทั้งสองฎีกาข้อต่อมาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.2 ได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้ รู้แล้วว่านายสมทบได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์นายสมทบไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ทั้ง สอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาข้อนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้ การและฟ้องแย้งด้วย แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายสมทบ กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท นายสมทบซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ บุคคลอื่นได้ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจากนายสมทบย่อมได้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

          จำเลยทั้งสองฎีกาข้อสุดท้ายว่า การขายฝากมีการชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจึงต้องทำตามแบบสัญญาจำนองการที่ โจทก์ทั้งสองกับนายสมทบจดทะเบียนขายฝากจึงไม่ถูกต้องตามแบบ และโจทก์ทั้งสองสมคบกับพวกปกปิดความจริงไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่า การขายฝากมีการชำระดอกเบี้ยเป็นการทำนิติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ตกเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เห็นว่าโจทก์ทั้งสองกับนายสมทบมีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว นิติกรรมการขายฝากจึงถูกต้องตามแบบ และแม้โจทก์ทั้งสองจะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระ ดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ
          พิพากษายืน
( สถิตย์ ไพเราะ - ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์ - จุมพล ณ สงขลา )

มาตรา 374    ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้
(วรรค 2)ในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้นสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่ เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น
มาตรา 499    สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก
(วรรค  2)ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝาก ที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวม ประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี
มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา
แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า
 

 

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
เงินบำนาญเป็นสินสมรสนำมาซื้อที่ดินระหว่างสมรส
จดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน
ซื้อทรัพย์โดยสุจริตไม่ทราบว่าเป็นสินสมรส
สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าผิดสัญญาต้องฟ้องคดี
ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ราษฎรตาม พ.ร.บ.จัดที่ดิน
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาด-ให้ที่ดิน
บันทึกหย่าเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวเพื่อแยกสินสมรส
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี | ปรึกษากฎหมาย 085 960 4258
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก