ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าผิดสัญญาต้องฟ้องคดี

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1 

บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าผิดสัญญาต้องฟ้องคดี

แม้ว่าบิดา มารดาจะทำสัญญาเป็นบันทึกหลังทะเบียนหย่ายกทรัพย์สินให้บุตร แล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้บุตรตามข้อตกลง กรณีนี้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิฟ้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามข้อตกลงได้ และผู้ฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรตามข้อตกลงหล้งทะเบียนหย่าด้วย เพราะฝ่ายที่ฟ้องคดีใช้สิทธิในฐานะคู่สัญญาฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ การยกทรัพย์สินให้บุตรดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตาม มาตรา 374
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2565/2536 
          แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์เป็นคู่สัญญาในบันทึกดังกล่าวโดยตรงกับจำเลยในการยกทรัพย์สินให้แก่บุตร โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรได้ ตามบันทึกการหย่าเพียงให้จำเลยอุปการะบุตรเท่านั้น หาใช่ให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวไม่ อำนาจปกครองบุตรยังอยู่กับโจทก์ด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในนามตนเองได้ไม่จำต้องให้บุตรเรียกชำระหนี้จากโจทก์เพราะบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่ เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี การที่จำเลยฎีกาว่า รถยนต์และบ้าน จำเลยไม่เคยตกลงยกให้แก่บุตร บันทึกข้อตกลงที่เจ้าพนักงานทำขึ้นไม่ชอบเพราะไม่ตรงตามความประสงค์ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
 
มาตรา 374  ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้
ในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2528 ได้จดทะเบียนหย่ากันโดยจำเลยสัญญาว่าจะโอนรถยนต์หมายเลขทะเบียน 4ง-8606 กรุงเทพมหานครรถยนต์หมายเลขทะเบียน ก-3053 นครปฐม และบ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 1ตำบลบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในบ้านทั้งหมดให้แก่บุตรทั้งสองคือเด็กหญิงจารุณี ทุมทัน และเด็กหญิงจารุพรรณ ทุมทัน ภายในกำหนด 1 ปี แต่เมื่อครบกำหนด จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญากลับนำรถยนต์หมายเลขทะเบียน 4ง-8606 กรุงเทพมหานคร ราคา 120,000 บาทไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอกและนำบ้านดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองประกันเงินกู้ไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัด สาขานครชัยศรีโจทก์ไม่อาจบังคับจำเลยได้ ขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน ก-3053 นครปฐม และปลดภาระจำนองบ้านเลขที่34/1 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ทั้งรถยนต์และบ้านดังกล่าวให้แก่เด็กหญิงจารุณี ทุมทัน และเด็กหญิงจารุพรรณ ทุมทันหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยใช้เงินจำนวน 120,000 บาท แทนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน 4ง-8606 กรุงเทพมหานครให้แก่เด็กหญิงจารุณี ทุมทันและเด็กหญิงจารุพรรณ ทุมทัน ทั้งนี้หากจำเลยไม่สามารถโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรทั้งสองคนได้ก็ให้จำเลยใช้เงินแทนรวมทั้งสิ้น 180,000 บาท
          จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน ก-3053 นครปฐม และบ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 1ตำบลบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม แก่เด็กหญิงจารุณี ทุมทัน และเด็กหญิงจารุพรรณ ทุมทัน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาให้จำเลยชำระเงินแก่เด็กหญิงจารุณี ทุมทัน และเด็กหญิงจารุพรรณ ทุมทัน จำนวน120,000 บาท แทนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน 4ง-8606กรุงเทพมหานคร หากไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียนก-3053 นครปฐม และบ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางแก้วอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมได้ก็ให้ชำระราคาแทนเป็นเงิน40,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีข้อโต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยามีบุตรด้วยกันสองคนคือเด็กหญิงจารุณีทุมทัน และเด็กหญิงจารุพรรณ ทุมทัน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2528 โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และได้ทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าไว้ว่า โจทก์จำเลยตกลงให้จำเลยเป็นผู้อุปการะบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง และเกี่ยวกับทรัพย์สินได้ตกลงกันว่า จำเลยจะยกรถยนต์ 2 คัน และบ้านอีก 1 หลัง ให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนภายในกำหนด 1 ปี มีปัญหาในชั้นนี้ตามฎีกาของจำเลยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์จำเลยทำบันทึกยกทรัพย์สินให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนนั้น เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้เห็นว่า แม้บันทึกดังกล่าวจะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 แต่โจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในบันทึกโดยตรงกับจำเลย ในการยกทรัพย์สินให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ ข้อที่จำเลยฎีกาต่อไปว่าจำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามบันทึก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เองได้ แต่เป็นเรื่องของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้วเห็นว่า ข้อความในข้อ 2 ดังกล่าวเพียงให้จำเลยอุปการะบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเท่านั้น หาใช่ให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่ผู้เดียวไม่ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองยังอยู่กับโจทก์ด้วย โจทก์มีอำนาจฟ้องในนามของตนเองได้ไม่จำต้องให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองเรียกชำระหนี้จากโจทก์ เพราะบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี ส่วนที่จำเลยฎีกาว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ก-3053 นครปฐม และบ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม จำเลยไม่เคยตกลงยกให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองบันทึกข้อตกลงที่เจ้าพนักงานทำขึ้นไม่ชอบเพราะไม่ตรงตามความประสงค์ของจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
          พิพากษายืน
 
 
( สุทธิ นิชโรจน์ - บุญศรี กอบบุญ - เสมอ อินทรศักดิ์ )
 
  

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
เงินบำนาญเป็นสินสมรสนำมาซื้อที่ดินระหว่างสมรส
จดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน
ซื้อทรัพย์โดยสุจริตไม่ทราบว่าเป็นสินสมรส
สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต
ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ราษฎรตาม พ.ร.บ.จัดที่ดิน
บันทึกข้อตกเรื่องทรัพย์สินหลังทะเบียนหย่า
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาด-ให้ที่ดิน
บันทึกหย่าเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวเพื่อแยกสินสมรส
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี | ปรึกษากฎหมาย 085 960 4258
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก