
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) -ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 โจทก์ และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องแบ่งทรัพย์สินและการหย่าขาด โดยถือในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินเป็นเงื่อนไขของการหย่า การหย่าจึงยังไม่มีผล จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินอันเป็นเงื่อนไขดัง กล่าวให้ครบถ้วนเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไป ไม่มีผลบังคับ สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่เพียง ผู้เดียวได้และไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะเป็นคนละประเด็นกับคำพิพากษาตามยอมในคดี ก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548 คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอลงชื่อร่วมในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสและขอค่า อุปการะเลี้ยงดู ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องการตกลงหย่าขาดและ แบ่งสินสมรส ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวโจทก์และจำเลยตัองปฏิบัติดังนี้ ข้อ 1 จำเลยต้องขายที่ดินสองแปลงให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน แล้วนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายมาชำระให้แก่โจทก์ ข้อ 2 จำเลยตกลงโอนที่ดิน 5 โฉนดให้แก่โจทก์ ข้อ 3 ที่ดินนอกจากนี้ให้เป็นของจำเลยข้อ 4 โจทก์จำเลยตกลงหย่ากัน เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามข้อ 1 และได้รับโอนตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยยังจำหน่ายที่ดินตามข้อ 1 ไม่ได้ และระยะเวลา 6 เดือนที่กำหนดไว้ผ่านไปแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ครบถ้วน สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย ยังคงมีผลตามกฎหมาย คู่สมรสคงต้องมีภาระหน้าที่รับผิดต่อบุคคลภายนอกหรืออาจได้รับความเสียหาย จากการจัดการสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้เพื่อขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินสินสมรส ชอบที่โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวและจัดการแยกสินสมรส จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละ ประเด็นกัน
โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอทุธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้ยกคำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้น ต้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2544 โดยให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป จำเลยฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอลงชื่อร่วมในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสและขอค่า อุปการะเลี้ยงดูตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ต่อมามีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารฟ้องหมายเลข 3 และศาลพิพากษาตามยอม ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องการตกลงหย่าขาดและแบ่ง ทรัพย์สินกันซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นการตกลงแบ่งสินสมรสโดยมีข้อสัญญาว่าคู่กรณี ไม่เรียกร้องใดๆ ต่อกันอีกแต่ตามข้อสัญญาก็มีข้อกำหนดในการไปจดทะเบียนหย่าว่า จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อ 1 คือการขายที่ดินตามที่ได้ตกลง 2 แปลง แล้วนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายมาชำระให้แก่โจทก์ก่อน โดยจะดำเนินการขายให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ข้อ 2 จำเลยตกลงโอนที่ดิน 5 โฉนดให้แก่โจทก์ ข้อ 3 ที่ดินนอกจากนี้ให้เป็นของจำเลย ข้อ 4 โจทก์ จำเลยตกลงหย่ากัน เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามข้อ 1 และได้รับโอนตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าที่ดินยังจำหน่ายไม่ได้และระยะเวลา 6 เดือน ที่กำหนดให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จนั้นก็ผ่านไปแล้ว ซึ่งจำเลยก็รับในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาลงวันที่ 3 ธันวาคม 2545 ว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อ 1 นี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ครบถ้วน สถานะภาพของการสมรสระหว่างโจทก์ จำเลยยังคงมีผลตามกฎหมาย คู่สมรสคงต้องมีภาวะหน้าที่รับผิดต่อบุคคลภายนอก หรืออาจได้รับความเสียหายจากการจัดการสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้เพื่อขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินสินสมรส ชอบที่โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวและจัดการแยกสินรสได้ จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละ ประเด็นกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน
หมายเหตุ
ปัญหาข้อที่ว่า ในระหว่างเป็นสามีภริยากันจะตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้หรือไม่ มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2511 วินิจฉัยว่า ในคดีฟ้องขอหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างกัน แต่คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลเฉพาะในเรื่องแบ่ง ทรัพย์ ดังนี้ คำพิพากษาตามสัญญายอมเฉพาะในข้อตกลงแบ่งทรัพย์โดยไม่มีการหย่าขาดระหว่างกัน นี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใดการแบ่งทรัพย์นี้เป็นสัญญา ระหว่างสามีภริยาอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 (บรรพ 5 เดิม ปัจจุบัน มาตรา 1469) แต่หากสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเกี่ยวกับการแบ่ง ทรัพย์สิน ปรากฏว่ามีทรัพย์สินของบุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย เช่น สามีกับภริยาตกลงกันว่าสามีจะโอนที่ดินที่มีบริษัท ม. ซึ่งสามีเป็นกรรมการผู้จัดการและมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ให้แก่ภริยา ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลผูกพันบริษัท ม.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลไม่อาจบังคับคดีในส่วนนี้ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534) แม้สามีภริยาจะมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและศาล พิพากษาตามยอมแล้วก็ตาม หากข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เช่น ตกลงกันว่าโจทก์และจำเลยจะเป็นผู้ดำเนินการจัดการร่วมกันในการจดทะเบียนขาย ที่ดินทั้งสองแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลภายนอกในราคา 2 ล้านบาท ภายใน 100 เดือน เพื่อนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยไม่สามารถหาผู้ซื้อที่ดินตามที่ตกลงกันได้ เงื่อนไขตามที่ตกลงไว้ในสัญญารปะนีประนอมยอมความจึงไม่สำเร็จ และมีผลให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับ หากโจทก์และจำเลยตกลงกันใหม่และศาลได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งมีผลผูกพันแทนข้อตกลงตามสัญญา ประนีประนอมยอมความฉบับเดิม แต่ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว เป็นสัญญาระหว่างสมรส คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ ตามมาตรา 1469 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอบอกล้างแล้วสัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผล โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2543) ดังนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีหลังเพื่อขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มี กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสองแปลงดังเช่นคดีก่อน แต่คำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนไม่มีผลบังคับแล้วจึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำ พิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีหลัง ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546) สำหรับการหย่าโดยความยินยอม หากคู่สมรสตกลงที่จะหย่าขาดจากกัน แล้วไม่ดำเนินการตามหนังสือหย่าซึ่งถูกต้องตามมาตรา 1514 วรรคสอง เท่ากับโต้แย้งสิทธิของอีกฝ่ายหนึ่งที่มีอยู่ตามหนังสือหย่า อีกฝ่ายชอบที่จะฟ้องขอให้หย่าขาดจากกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตาม มาตรา 1516 เพราะเป็นการฟ้องเพื่อที่จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียน กรณีเช่นนี้ ศาลไม่จำต้องมีคำพิพากษาว่าถ้าไม่ไปจดทะเบียนหย่า ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533) สิทธิฟ้องหย่าตามมาตรา 1514 วรรคสอง และมาตรา 1515 เป็นคนละกรณีกับสิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือมาตรา 1523 สิทธิฟ้องร้องมิได้ระงับลงเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1529 หากแต่มีอายุความฟ้องร้องภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายทำบันทึกตกลงการหย่า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2537) เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดปัญหาว่า คำพิพากษาให้หย่าตามหนังสือหย่าจะมีผลทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะหากเป็นการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย การหย่ามีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1531 วรรคหนึ่ง แต่หากถือว่าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษา ย่อมมีผลบังคับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามมาตรา 1531 วรรคสอง มีข้อเท็จจริงในคดีหนึ่งว่า ภริยาฟ้องหย่าสามี ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สามีฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อกันและประสงค์จะ คืนดี ขอให้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็น สามีภริยาอย่างเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ก่อนยื่นคำร้อง โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยสมบูรณ์แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีการจดทะเบียน หย่าเป็นต้นมา ดังนั้น การพิจารณาฎีกาของจำเลยในเรื่องการหย่าย่อมไร้ประโยชน์ต่อการวินิจฉัยของศาล ฎีกาต่อไป และการที่โจทก์จำเลยจะให้ศาลฎีกาพิพากษาตามยอมเพื่อนำเอาคำพิพากษาของศาล ฎีกาไปแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อเพิกถอนการจดทะเบียนหย่า แล้วมีการจดทะเบียนสมรสกันใหม่ เห็นว่า การสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้อำนาจศาลที่จะบังคับให้มีการสมรสได้ จึงไม่อาจพิพากษาตามข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2525) มีข้อสังเกตว่า คดีนี้ แม้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน แต่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อโจทก์และจำเลยไปจดทะเบียนหย่าจึงมีผลให้การสมรสสิ้นสุดลง นับแต่เวลาที่จดทะเบียนหย่า โดยไม่ต้องคำนึ่งถึงผลแห่งคำพิพากษาว่าจะถึงที่สุดตามมาตรา 1531 วรรคสอง หรือไม่ อย่างไรก็ดี ในคดีฟ้องหย่า ซึ่งมิได้อาศัยเหตุหย่าดังกล่าวข้างต้น หรือคดีที่คู่สมรสฟ้องระหว่างกันเองเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน แต่ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเรื่องการหย่า เมื่อศาลพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าการหย่าโดยคำพิพากษาตามยอมมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาตาม ยอมถึงที่สุด ตามมาตรา 1531 วรรคสอง แม้ว่าศาลจะมิได้มีคำบังคับให้คู่กรณีไปจดทะเบียนหย่า ถ้าฝ่ายใดไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาก็ตาม ทั้งเพราะพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่ รับรองว่าถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้เท่านั้นคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจนตาขอ จดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544) สำหรับคดีที่บันทึกนี้ โจทก์มิได้ฟ้องหย่า แต่ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน และการหย่าขาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อตกลงในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินเป็นเงื่อนไขของการหย่า การหย่าจึงยังไม่มีผล จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงอันเป็นเงื่อนไขดังกล่าวให้ครบถ้วนเสีย ก่อน เมื่อจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง ข้อ 1 ที่ให้โอนขายที่ดิน 2 แปลง ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายมาชำระแก่โจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไป ไม่มีผลบังคับ สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียวได้และไม่ เป็นฟ้องซ้ำเพราะเป็นคนละประเด็นกับคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุด แล้ว ตามแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2543 และ 124/2546 ดังกล่าวข้างต้น โดยเหตุนี้ ที่ศาลฎีกาฉบับนี้ จำต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับสภานภาพของโจทก์และจำเลยว่าขาดจากการเป็นสามีภริยา แล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นข้อสำคัญ เพราะหากหย่าขาดจากกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจฟ้องจำเลยโดยอาศัย มาตรา 1484 ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวลทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ที่สามีภริยาจะมีสิทธิตามมาตรานี้ ต่อเมื่อยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่ ดังนั้นจึงมีคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับหนึ่งวินิจฉัยว่า เมื่อขณะยื่นคำร้องปรากฏว่าผู้ร้องและ น. ได้จดทะเบียนหย่าขาดกันด้วยความสมัครใจไปก่อนแล้ว ผู้ร้องกับ น. จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาต่อกันอีก ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสิน สมรสแต่ผู้เดียวตามมาตรา 1484 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539) โดยสรุป คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้สะท้อนให้เห็นมุมมองของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องไว้ หลายประการ ทั้งเป็นการรวบรวมคำตอบตามแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีต่างๆ ดังที่ได้บันทึกไว้ข้างต้น ชาติชาย อัครวิบูลย์
|