
ข้อหาขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอด-ยึดรถจักรยานย์ -ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont ข้อหาขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอด-ยึดรถจักรยานย์ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้สั่งคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งคืนรถจักรยานยนต์ ผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์มาเพื่อประโยชน์ของนายนัฐสิทธิ์บุตรชาย วันเกิดเหตุช่วงเวลากลางคืนนายนัฐสิทธิ์ขับรถของกลางไปบ้านเพื่อนโดยไม่ได้ขออนุญาต กุญแจรถเก็บไว้ที่ลิ้นชักโต๊ะทำงานซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องโถงทุกคนในครอบครัวต่างก็รับรู้ถึงสถานที่เก็บกุญแจรถถือได้ว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้นายนัฐสิทธิ์นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาจึงถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2562 ตามใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของ ซึ่งตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17/1 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว แต่พฤติการณ์การใช้รถจักรยานยนต์ของกลางของ น. แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางมาเพื่อประโยชน์ของ น. บุตรของผู้ร้องเป็นสำคัญ เห็นได้จากการที่ น. ครอบครองใช้ขับไปทำงานอยู่เป็นประจำ และวันเกิดเหตุช่วงเวลากลางคืนยังขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปบ้าน ว. เพื่อนของ น. โดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ร้อง กุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางถูกเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องโถง บุคคลทุกคนในครอบครัวต่างก็รับรู้ถึงสถานที่เก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ และอยู่ในวิสัยที่นำไปใช้ได้ แสดงว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการอนุญาตให้ น. นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่ น. สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ขออนุญาตเช่นนี้ได้ ก็ถือได้ว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ตลอดเวลา โดยไม่คำนึงถึงว่า น. จะนำไปใช้ในกิจการใดหรือจะอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปใช้ต่อด้วยหรือไม่ ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทั้งตามพฤติการณ์ผู้ร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อประโยชน์ให้ น. บุตรของผู้ร้องสามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางกลับไปใช้ได้เท่านั้น อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอีกด้วย คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42, 64 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8), 142, 154, 160 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 และสั่งริบรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน 1 กง 409 ภูเก็ต ของกลาง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้สั่งคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง โจทก์ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง จำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งคืนรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน 1 กง 409 ภูเก็ต ของกลาง ให้แก่นางกฤษณา ผู้ร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้ยกคำร้อง ผู้ร้องฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในข้อหาขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นและขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ พร้อมยึดรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน 1 กง 409 ภูเก็ต ไว้เป็นของกลาง ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวและขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยและริบรถจักรยานยนต์ของกลาง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องประการแรกว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางแท้จริงหรือไม่ เห็นว่า ตามใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของในทะเบียน ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17/1 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ส่วนโจทก์นำสืบว่า จำเลยถูกจับกุมข้อหาขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นพร้อมรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน 1 กง 409 ภูเก็ต ของกลาง โดยมิได้นำสืบหักล้างในประเด็นตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด จึงฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน 1 กง 409 ภูเก็ต ของกลาง และมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้ฟังขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องต่อไปว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ เห็นว่า พฤติการณ์ในการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางตามคำเบิกความของนายนัฐสิทธิ์แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ของนายนัฐสิทธิ์บุตรของผู้ร้องเป็นสำคัญ เห็นได้จากการที่นายนัฐสิทธิ์ครอบครองใช้ขับไปทำงานอยู่เป็นประจำ และวันเกิดเหตุ ช่วงเวลากลางคืนยังขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปบ้านนายวิสุทธิ์เพื่อนของนายนัฐสิทธิ์โดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ร้อง นอกจากนั้นผู้ร้องเบิกความว่า รถจักรยานยนต์ของกลางใช้ในครอบครัว เช่นขับไปจ่ายตลาด ทำธุระต่าง ๆ โดยเมื่อใช้แล้วจะเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ไว้ที่ลิ้นชักโต๊ะทำงานซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องโถง หากคนในครอบครัวของผู้ร้องคนใดต้องการใช้ต้องขออนุญาตผู้ร้องก่อน ดังนี้ กุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางถูกเก็บไว้ในบริเวณที่สามารถหาพบได้ง่าย และการเข้าออกบริเวณดังกล่าวทำได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นบุคคลทุกคนในครอบครัวต่างก็รับรู้ถึงสถานที่เก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ และอยู่ในวิสัยที่นำไปใช้ได้ โดยในวันเกิดเหตุนายนัฐสิทธิ์ก็ใช้กุญแจรถจักรยานยนต์ดังกล่าวขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปบ้านนายวิสุทธิ์ในเวลากลางคืนโดยไม่ขออนุญาตผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องคงเพียงแค่โทรศัพท์ไปสอบถามนายนัฐสิทธิ์ว่าอยู่ที่ใด แต่มิได้ตำหนิเรื่องที่นายนัฐสิทธิ์นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในช่วงเวลากลางคืนเช่นนั้นแต่อย่างใด แสดงว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการอนุญาตให้นายนัฐสิทธิ์นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่นายนัฐสิทธิ์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ขออนุญาตเช่นนี้ได้ ก็ถือได้ว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้นายนัฐสิทธิ์นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลา โดยมิได้คำนึงถึงว่านายนัฐสิทธิ์จะนำไปใช้ในกิจการใด หรือจะอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปใช้ต่อด้วยหรือไม่ เป็นการปล่อยปละละเลยจนทำให้นายนัฐสิทธิ์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปให้จำเลยใช้กระทำความผิดคดีนี้ได้ ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทั้งตามพฤติการณ์ ผู้ร้องขอคืนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อประโยชน์ให้นายนัฐสิทธิ์บุตรของผู้ร้องสามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางกลับไปใช้ได้เท่านั้น อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอีกด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.อ. ม. 36 พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ม. 17/1 วรรคสอง แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา |