ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




คดีล้มละลายเป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่ง

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

คดีล้มละลายเป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่ง

ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าเป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง โดยไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว สำหรับคดีล้มละลายก็เป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่ง แม้โจทก์จะมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ฟ้องคดีล้มละลายก็น่าจะหมายถึงให้ฟ้องคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2542

          หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุมอบอำนาจให้ ป. เป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญอีก คดีล้มละลายถือเป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่งแม้โจทก์จะมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ฟ้องคดีล้มละลายก็น่าจะหมายถึงให้ฟ้องคดีล้มละลายได้ และการยื่นฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องยื่นต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 โจทก์จึงมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ได้

          โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย

          จำเลยให้การว่า ตามหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์มิได้มอบอำนาจให้นายประเสริฐ โลหภาษัย เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา คำฟ้องจึงไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 23497/2536 ของศาลแพ่งซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 191,250 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หลังจากศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้และไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระให้โจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้นายประเสริฐ โลหภาษัย ดำเนินคดีแทน ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ระบุว่าเป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง หาได้มีข้อความว่ามอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เห็นว่า ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความว่า โจทก์ขอมอบอำนาจให้นายประเสริฐ โลหภาษัย เป็นผู้มีอำนาจเป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญอีกสำหรับคดีล้มละลายก็เป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่ง แม้โจทก์จะมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ฟ้องคดีล้มละลายก็น่าจะหมายถึงให้ฟ้องคดีล้มละลายได้ และการยื่นฟ้องขอให้ล้มละลายต้องยื่นต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 โจทก์จึงมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ได้ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นชอบแล้วฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน
 

( ไพโรจน์ คำอ่อน - สมชัย สายเชื้อ - พิชัย เตโชพิทยากูล )

หมายเหตุ 

          ในการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้มอบอำนาจกับผู้รับมอบอำนาจถือว่าเป็นสัญญาตัวแทน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2534) เมื่อมีปัญหาจะต้องพิจารณาว่าผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์หรือไม่จะต้องพิจารณาถึงข้อความในหนังสือมอบอำนาจทั้งฉบับ บางครั้งหนังสือมอบอำนาจอาจจะมีข้อความผิดพลาดไปบ้าง เช่น ระบุชื่อศาลที่จะให้ฟ้องเป็นศาลอื่น สะกดชื่อสกุลจำเลยผิดไป ศาลก็ต้องพิจารณาถึงเจตนาแท้จริง (TrueIntention)ของผู้รับมอบอำนาจและผู้มอบอำนาจ หากว่าเมื่อตรวจหนังสือมอบอำนาจทั้งฉบับแล้วเห็นถึงเจตนาของผู้มอบอำนาจว่ามอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แล้วถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องดังเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้

           ก่อนหน้าที่นี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2536 วินิจฉัยว่า โจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจผิดพลาดไปว่าให้ฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรีการระบุชื่อศาลที่จะฟ้องร้องผิดพลาดเป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจแต่ต่อมาก่อนส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์ได้ยื่นใบมอบอำนาจใหม่ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง กรณีมีเหตุสงสัยว่าคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับขัดกันหรือไม่

           ผู้บันทึกเห็นว่าคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับนี้มิได้ขัดกันแต่อย่างใดเพียงแต่ว่าในการวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องได้อาศัยเหตุแห่งคดีและหลักกฎหมายต่างกัน ตามรายละเอียดของประเด็นแห่งคดีในแต่ละคดีที่ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา โดยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่บันทึกนี้ได้วินิจฉัยโดยตีความการแสดงเจตนาตามหนังสือมอบอำนาจ โดยอาศัยหลักกฎหมายเรื่องการตีความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้แก่คดี ส่วนในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2536 นั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากมีการยื่นฟ้องแล้วมีการยื่นหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่เข้ามาซึ่งเป็นการแก้ไขอำนาจฟ้องให้บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับดังกล่าวนั้นจึงได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์โดยอาศัยตามหลักกฎหมายวิธีสบัญญัติเช่นนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับจึงน่าจะใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไป

           เอื้อนขุนแก้ว
 
 
  
ป.วิ.พ.
มาตรา 47 ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลให้ศาล มีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลนั้น ให้ถ้อยคำสาบานตัวว่าเป็น ใบมอบอำนาจอันแท้จริง
--ถ้าศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจที่ยื่นนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงก็ดี หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะมิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงก็ดี ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น ยื่นใบมอบอำนาจตามที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
---ถ้าใบมอบอำนาจนั้นได้ทำในราชอาณาจักรสยามต้องให้นายอำเภอเป็นพยาน ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้น เป็นพยานถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้บุคคล เหล่านี้เป็นพยานคือเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด หรือ บุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้ และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้
----บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆ ทำนองเช่นว่ามานี้ ซึ่งคู่ความจะต้องยื่นต่อศาล

มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

มาตรา 150 การยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายให้ยื่นต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขต ไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น  
           




สัญญาตัวแทน

ตัวแทนประกันชีวิตเรียกเอาค่านายหน้าขายประกันชีวิต
สัญญาซื้อขายนิติกรรมอำพรางสัญญาเช่า
หนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการ
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
หน้าที่ของตัวการตามสัญญาตัวแทน