ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




สัญญาซื้อขายนิติกรรมอำพรางสัญญาเช่า

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

สัญญาซื้อขายนิติกรรมอำพรางสัญญาเช่า

มีที่ดินแต่ไม่มีเครดิตจะกู้เงินธนาคารจึงใช้ชื่อบุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยวิธีโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินให้แล้วผู้รับโอนกรรมสิทธิ์นำที่ดินไปจำนองเป็นประกันเงินกู้โดยมีข้อตกลงกันว่าเจ้าของที่ดินและพี่สาวของผู้กู้เงินธนาคารจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารคนละครึ่งผ่อนหมดจะแบ่งที่ดินคืนครึ่งหนึ่งส่วนอีกครึ่งหนึ่งตกเป็นของพี่สาวผู้รับโอน และทำสัญญาเช่าที่ดินกับผู้กู้เงินเป็นประกันเพื่อให้ผ่อนหนี้เงินกู้ตามสัญญา ต่อมาเจ้าของที่ดินไม่ชำระหนี้ตรงตามกำหนด คนที่กู้เงินและมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงนำสัญญาเช่ามาฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดินเป็นคดีนี้
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2952/2554
 
          สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง

          เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจาก ส. และจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้ แต่จำเลยและ ส. ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้ จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ส. โดยจำเลยและ ส. มีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่ง หากจำเลยและ ส. ร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของ ส. ซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทน ส. สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้ ส. และจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งจึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะและมีผลผูกพันโจทก์ว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วนจำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทฐานะในเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท

มาตรา 155  การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ

มาตรา 173  ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้

มาตรา 821  บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดีรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน

มาตรา 1356  ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยซื้อมาจากจำเลย แล้วให้จำเลยเช่าบ้านหลังดังกล่าวมีกำหนดเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2544 ถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ค่าเช่าเดือนละ 5,500 บาท กำหนดชำระทุกวันที่ 14 ของแต่ละเดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 14 กรกฎาคม 2544 จำเลยชำระค่าเช่าบ้านพิพาทเรื่อยมาจนกระทั่งเดือนมกราคม 2546 จำเลยชำระเพียง 2,800 บาท คงค้างอีก 2,700 บาท แล้วไม่ชำระอีกเลย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าและให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายตามอัตราค่าเช่าเป็นเวลา 17 เดือน นับถึงวันฟ้องเป็นเงิน 96,200 บาท และค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถให้บุคคลอื่นเช่าได้ในอัตราเดือนละ 5,500 บาท ขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 96,200 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และค่าเสียหายเดือนละ 5,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากบ้านพิพาท

          จำเลยให้การ แก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยไม่ได้ประสงค์ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยต้องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แต่จำเลยไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยจึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมแทนโดยจำเลยตกลงโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นชื่อของโจทก์เพื่อให้โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์จำเลยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญาซื้อขายตามฟ้อง สัญญาซื้อขายเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงตกเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลย สำหรับสัญญาเช่าตามฟ้องนั้น จำเลยตกลงทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นหลักประกันต่อโจทก์ว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มิใช่เป็นการตกลงเช่ากันอย่างแท้จริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาให้สัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องตกเป็นโมฆะ ให้โจทก์คืนที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย หากไม่ไป ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยด้วยเจตนาอันแท้จริง มิใช่เป็นการแสดงเจตนาลวง เมื่อทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว โจทก์จำเลยยังตกลงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติต่อกันและได้ทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทไว้ด้วย ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท พร้อมทั้งให้ส่งมอบบ้านพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย และให้จำเลยชำระเงินจำนวน 96,200 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง (วันที่ 16 กรกฎาคม 2548) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้ชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,500 บาท นับแต่วันฟ้อง (ที่ถูก นับถัดจากวันฟ้อง) เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 6,000 บาท ยกฟ้องแย้งของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งให้เป็นพับ

          จำเลยอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้อย่างคนอนาถา
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะ ให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลย โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโอน หากโจทก์ไม่ไป ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ให้ยกฟ้องโจทก์และคำขออื่นตามฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำฟ้องแย้งให้ตกเป็นพับ

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 17527 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมบ้านเลขที่ 5 บนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2544 จำเลยทำสัญญาขายที่ดินและบ้านดังกล่าวแก่โจทก์ในราคา 800,000 บาท ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 พร้อมทำบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารหมาย จ.5 ยินยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ โดยระบุว่าให้จำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.7 โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ซึ่งโจทก์กู้จากธนาคารจำนวน 800,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเอกสารหมาย จ.3 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารหมาย จ.3 กระทำขึ้นโดยเจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลย ไม่ใช่เจตนาลวง และสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.7 ก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางหรือไม่ โจทก์มีนายสัมพันธ์ ทนายความของโจทก์และนางสุพร พี่สาวโจทก์เบิกความทำนองเดียวกันว่า เมื่อปี 2544 นางสุพรและจำเลยมีปัญหาโดยธนาคารจะยึดบ้านและที่ดินอยู่อาศัยของนางสุพร จำเลยก็จะถูกเจ้าหนี้บังคับจำนองบ้านและที่ดินเช่นกัน จำเลยจึงตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่นางสุพรเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ แต่นางสุพรและสามีไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ จึงให้โจทก์ซึ่งเป็นน้องสาวเป็นผู้ขอกู้เงินจากธนาคารและทำสัญญาซื้อขายที่ดินแทน ส่วนจำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานโดยมีนายวินัย สามีจำเลยเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อปี 2544 จำเลยต้องการเงินเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้และซื้อกิจการทำน้ำดื่มจากสามีนางสุพร แต่ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคาร นางสุพรเสนอให้จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ซึ่งเป็นน้องสาวนางสุพร เพื่อให้โจทก์ขอกู้ยืมเงินจากธนาคารมามอบแก่จำเลย โดยจำเลยต้องผ่อนชำระหนี้ธนาคารเดือนละ 11,000 บาท แต่ต่อมานางสุพรมาขอปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทและจะช่วยผ่อนชำระหนี้ธนาคารเดือนละ 5,500 บาท ส่วนสัญญาเช่าโจทก์ให้จำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะต้องช่วยผ่อนชำระหนี้ธนาคารจนครบ เห็นว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้จำนวน 800,000 บาท เท่าราคาซื้อขายที่ดินตลอดจนสัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ทำขึ้นในวันเดียวกัน โดยเฉพาะตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายข้อ 2 ที่ให้สิทธิจำเลยซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนได้เมื่อครบ 5 ปี โดยจำเลยต้องชำระเงิน 330,000 บาท (5,500 บาท x 60 เดือน) พร้อมค่าโอนกรรมสิทธิ์ค่าก่อสร้างที่โจทก์หรือบริวารก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงบนที่ดินและให้ฝ่ายโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินได้อีก 1 ปี และในข้อ 3 กรณีจำเลยไม่ซื้อคืน แต่ได้ชำระเงินเดือนละ 5,500 บาท จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนองกับธนาคาร ให้จำเลยมีสิทธิแบ่งที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นที่ตั้งบ้านพิพาทครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงที่เหลือจากส่วนที่กันเป็นถนนทางเข้า-ออกของที่ดิน เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาเช่าข้อ 5 ที่ระบุให้นำเงินค่าเช่าที่จำเลยชำระไปชำระหนี้ค่างวดแก่ธนาคาร จึงเห็นได้ว่า เหตุที่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาท บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาเช่าบ้านพิพาทตลอดจนการจำนองที่ดินพิพาทแก่ธนาคารเกิดจากนางสุพรและจำเลยต่างมีปัญหาจะถูกเจ้าหนี้ของตนยึดที่ดินและบ้านอยู่อาศัย แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถกู้ยืมเงินมาจากธนาคารได้ จึงต้องอาศัยโจทก์เป็นผู้กู้แทน โดยต้องนำที่ดินและบ้านพิพาทจำนองเป็นประกันหนี้ จึงจำต้องทำสัญญาให้จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ และให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทจากโจทก์ แต่กำหนดให้นำค่าเช่าไปชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนเพื่อไม่ให้จำเลยบิดพริ้วไม่ช่วยนางสุพรผ่อนชำระหนี้ โดยปรากฏจากคำเบิกความของนางสุพรว่า นางสุพรเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้ธนาคารแทนโจทก์ แสดงว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้เงินกู้ต่อธนาคาร แต่นางสุพรและจำเลยต้องร่วมกันรับผิดชอบชำระคนละครึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งนางสุพรและจำเลยมีที่อยู่อาศัยและจำเลยก็ไม่ถูกเจ้าหนี้ยึดที่ดินและบ้านพิพาท และตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 3 ที่ระบุกรณีจำเลยไม่ซื้อที่ดินและบ้านคืน แต่ได้ช่วยชำระค่าเช่าหรือหนี้แก่ธนาคารเดือนละ 5,500 บาท จนครบ 10 ปี ซึ่งจะครบกำหนดชำระหนี้จำนอง จำเลยมีสิทธิแบ่งที่ดินได้ครึ่งหนึ่ง จึงสนับสนุนให้เห็นว่าแท้จริงแล้วคู่สัญญาไม่มีเจตนาจะทำสัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าที่ดินพิพาท โดยสัญญาซื้อขายทำขึ้นเพียงเพื่อให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารแทน ส่วนสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้รายเดือนของจำเลยต่อธนาคารดังจำเลยนำสืบนั่นเอง ซึ่งเท่ากับว่าหากจำเลยร่วมกับนางสุพรผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารคนละครึ่งจนครบ จำเลยก็มีสิทธิแบ่งที่ดินได้คนละครึ่งกับนางสุพร ดังปรากฏจากคำเบิกความของนายสัมพันธ์และนางสุพรประกอบเอกสารหมาย จ.12 ซึ่งนางสุพรและจำเลยลงลายมือชื่อรับรองร่วมกันว่า จำเลยช่วยชำระหนี้ธนาคารถึงเดือนมกราคม 2546 แล้วไม่ชำระอีกเลย นางสุพรจึงต้องชำระหนี้แทนตลอดมา พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานหลักฐานโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจากนางสุพรและจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้ แต่จำเลยและนางสุพรไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้ จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและนางสุพร โดยจำเลยและนางสุพรมีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่งเป็นเงิน 5,500 บาท ต่อเดือน หากจำเลยและนางสุพรร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของนางสุพรซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทนนางสุพร สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้นางสุพรและจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่ง จึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ข้อตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ และมีผลผูกพันโจทก์ว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วน จำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาในส่วนของคำฟ้องและฟ้องแย้งให้เป็นพับ
 
 
( สมชาย พันธุมะโอภาส - วีระชาติ เอี่ยมประไพ - อาวุธ ปั้นปรีชา )

 

คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้

แม้ว่าบิดา มารดาจะทำสัญญาเป็นบันทึกหลังทะเบียนหย่ายกทรัพย์สินให้บุตร แล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้บุตรตามข้อตกลง กรณีนี้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิฟ้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามข้อตกลงได้ และผู้ฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรตามข้อตกลงหล้งทะเบียนหย่าด้วย เพราะฝ่ายที่ฟ้องคดีใช้สิทธิในฐานะคู่สัญญาฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
 

 




สัญญาตัวแทน

ตัวแทนประกันชีวิตเรียกเอาค่านายหน้าขายประกันชีวิต
หนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการ
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คดีล้มละลายเป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่ง
หน้าที่ของตัวการตามสัญญาตัวแทน