ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้

การที่โจทก์ชำระหนี้ซ้ำซ้อนจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนนี้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้และเนื่องจากทรัพย์ที่ต้องคืนเป็นเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวก่อนฟ้องคดี จึงให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4657/2552

          โจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์แก่จำเลยที่ 1 ตามเช็คและรายการชำระเงินจำนวน 3,320,150 บาท อันเป็นการชำระหนี้ซ้ำซ้อน จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนนี้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ และเนื่องจากทรัพย์ที่ต้องคืนเป็นเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวก่อนฟ้องคดี จึงให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ

          โจทก์โดยกรรมการโจทก์เพิ่งรู้ว่า โจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์ที่เข้าใจกันว่า ค้างชำระอยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 จนครบถ้วนไปก่อนแล้ว อันเป็นผลให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระให้จำเลยทั้งสองตามฟ้องคดีนี้คือในฐานลาภมิควรได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2543 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์โดยกรรมการโจทก์รู้สิทธิเรียกคืนนั้น จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

         โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินจำนวน 5,538,687 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 3,320,150 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จ

          จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินคืนแก่โจทก์จำนวน 3,320,150 บาท ให้จำเลยที่ 1 ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับ

          โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ค้าขายกันมาตั้งแต่ปี 2520 โดยโจทก์ซื้อรถจักรยานยนต์จากจำเลยที่ 1 มาจำหน่าย เดิมนายรัศมี เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ส่วนนางพิมพ์ใจ ภริยาของนายรัศมีเป็นกรรมการของโจทก์ ต่อมาวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537นายรัศมีถึงแก่กรรม นางพิมพ์ใจจึงเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์แทน หลังจากนายรัศมีถึงแก่กรรม จำเลยที่ 2 แจ้งโจทก์ว่า โจทก์ยังคงมีหนี้ค่ารถจักรยานยนต์จำนวน 183 คัน จากนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงเกี่ยวกับหนี้ค่ารถจักรยานยนต์ที่ค้างชำระตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2537 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 เป็นเงินประมาณ 6,852,922 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ไปจนกระทั่งถึงปี 2542 เป็นเงิน 3,320,150 บาท ส่วนเงินที่เหลือจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ชำระอีกเพียงจำนวน 3,500,000 บาท โจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2542 ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงฟ้องโจทก์และนางพิมพ์ใจในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 628/2543 ของศาลแขวงอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 และจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คดังกล่าวด้วย

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีของโจทก์พ้นกำหนดระยะเวลาที่มาฟ้องคดีหรือไม่ โจทก์มีนางพิมพ์ใจ กรรมการโจทก์เบิกความว่าหลังจากเช็คจำนวนเงิน 3,500,000 บาท ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์และพยานเป็นจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ที่ศาลแขวงอุบลราชธานี และในคดีนั้นจำเลยทั้งสองนำสืบแสดงรายละเอียดมูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวตามบัญชีลูกหนี้ ประมาณเดือนสิงหาคม 2543 ทนายความของโจทก์ได้คัดเอกสารดังกล่าวไปให้พยาน พยานจึงให้นางสาวชฐิลพร พนักงานบัญชีตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์จำนวน 183 คัน ที่เข้าใจกันว่าค้างชำระอยู่จนครบถ้วนไปแล้วตามบัญชีแสดงรายการจ่ายเงินชำระหนี้ โดยมีนางสาวชฐิลพรผู้ตรวจสอบและจัดทำเอกสารดังกล่าวเบิกความว่า พยานได้รับมอบบัญชีลูกหนี้จากนางพิมพ์ใจมาตรวจสอบเมื่อเดือนตุลาคม 2543 สนับสนุนอยู่ ประกอบกับในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ระบุว่า ทนายความของโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแขวงอุบลราชธานีขอถ่ายสำเนาเอกสารในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 628/2543 ตามคำร้องลงวันที่ 15 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สอดคล้องต่อเนื่องกันกับพยานหลักฐานโจทก์ จึงน่าเชื่อว่า นางพิมพ์ใจกรรมการโจทก์ได้รู้ว่า จำเลยที่ 1 นำสืบแสดงข้อเท็จจริงในบัญชีลูกหนี้อันเป็นรายละเอียดที่มาแห่งมูลหนี้ตามเช็ค ในการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 628/2543 และทนายความของโจทก์ได้ขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวจากศาลแขวงอุบลราชธานีส่งให้นางพิมพ์ใจเมื่อเดือนสิงหาคม 2543 จากนั้นนางพิมพ์ใจส่งบัญชีลูกหนี้ให้นางสาวชฐิลพรพนักงานบัญชีของโจทก์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2543 ได้ผลการตรวจสอบว่า ข้อเท็จจริงตามบัญชีลูกหนี้ถูกต้องตามบัญชีแสดงรายการจ่ายเงินชำระหนี้ ดังนั้น จึงต้องฟังว่าโจทก์โดยนางพิมพ์ใจกรรมการโจทก์เพิ่งรู้ว่า โจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์ที่เข้าใจกันว่าค้างชำระอยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 จนครบถ้วนไปก่อนแล้ว อันเป็นผลให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระให้จำเลยทั้งสองตามฟ้องคดีนี้คืนในฐานลาภมิควรได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2543 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 ยังมิพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์โดยนางพิมพ์ใจกรรมการโจทก์รู้สิทธิเรียกคืนนั้น จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น และคดีนี้คู่ความได้สืบพยานจนเสร็จสิ้นแต่โดยที่ยังมีประเด็นข้อพิพาทอื่นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว คู่ความได้ยื่นอุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้วินิจฉัย เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าออกไปอีก ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาใหม่

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อแรกว่า โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 296/2544 ของศาลจังหวัดอุบลราชธานี (เดชอุดม) หรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 296/2544 ของศาลจังหวัดอุบลราชธานี (เดชอุดม) จำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และนางพิมพ์ใจเป็นจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าวรับผิดชำระเงินตามเช็คที่โจทก์โดยนางพิมพ์ใจกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายชำระค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ส่วนที่ค้างชำระซึ่งในคดีนี้คือสำเนาเช็ค แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ได้ชำระไปก่อนแล้วในฐานลาภมิควรได้ตามสำเนาเช็คอันเป็นหนี้คนละจำนวนกัน ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้นยังมิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นหนี้ตามสำเนาเช็ค การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้จึงไม่เกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แต่อย่างใด

          ปัญหาต่อไปมีว่า จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินจำนวน 3,320,150 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีนางพิมพ์ใจกรรมการผู้จัดการโจทก์ นายศักดาพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และนางสาวชฐิลพรพนักงานบัญชีของโจทก์ซึ่งเป็นคนตรวจสอบการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จำนวน 183 คัน เบิกความประกอบสำเนาบัญชีลูกหนี้และสำเนาบัญชีแสดงรายการจ่ายเงินชำระหนี้ พบว่ามีการชำระค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จำนวน 183 คัน ไปแล้วตามเช็คจำนวน 35 ฉบับ และได้มีการเรียกเก็บเงินไปครบถ้วนแล้วตามรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีตามสำเนาบัญชีกระแสรายวันปี 2537 และ 2538 ส่วนยอดเงินที่ต่างกันจำนวน 137,598 บาท นั้น จากการคำนวณราคาค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และจำนวนเงินที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คเกินราคาค่าเช่าซื้อรถจักรยนต์ในแต่ละลำดับ ที่ปรากฏในสำเนาบัญชีแสดงรายการจ่ายเงินชำระหนี้ตั้งแต่ลำดับที่ 1 ถึงที่ 14 และลำดับที่ 16 ถึงที่ 21 พบว่าจำนวนเงินที่มีผลต่างกันในแต่ละลำดับเท่ากับอัตราร้อยละ 1.5 ของราคาค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ในแต่ละลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองให้เครดิตโจทก์และคิดดอกเบี้ยในส่วนที่ชำระราคาเกินเวลากำหนดไปในอัตราร้อยละ 1.5 ถึง 2 ต่อเดือน คงมีเฉพาะลำดับที่ 15 ซึ่งเป็นการชำระราคาค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จำนวนมากถึง 18 คัน ที่มีการชำระเงินในส่วนผลต่างสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ซึ่งอาจจะเป็นการตกลงเป็นเรื่องเฉพาะเป็นครั้งคราวได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงสอดคล้องกันมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่าเช็คจำนวน 35 ฉบับ เป็นการชำระหนี้กู้ยืมนั้น ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดสนับสนุนจึงมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ และฟังได้ว่าเช็คจำนวน 35 ฉบับ เป็นการชำระราคาค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จำนวน 183 คัน ดังนั้น การที่โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวตามเช็คและรายการชำระเงินจำนวน 3,320,150 บาท จึงเป็นการชำระหนี้ซ้ำซ้อนจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนนี้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้และเนื่องจากทรัพย์ที่ต้องคืนเป็นเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวก่อนฟ้องคดี จึงให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย”

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 3,320,150 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (14 สิงหาคม 2544) เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นฎีกาค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

( สมศักดิ์ ตันติภิรมย์ - ธนัท วิรบุตร์ - พันวะสา บัวทอง )

 มาตรา 409    เมื่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปโดยสำคัญผิดเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ผู้ทำการโดยสุจริตได้ทำลายหรือลบล้างเสียซึ่งเอกสารอันเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ก็ดี ยกเลิกหลักประกันเสียก็ดี สิ้นสิทธิไปเพราะขาดอายุความก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้ไม่จำต้องคืนทรัพย์

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ไม่ขัดขวางต่อการที่บุคคลผู้ได้ชำระหนี้นั้นจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันถ้าจะพึงมี

มาตรา 406     บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดีหรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย

บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้นหรือเป็นเหตุที่ได้ สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย

 




ลาภมิควรได้

ชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ
ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามเรียกคืนไม่ได้
อายุความเรื่องลาภมิควรได้มีกำหนด 1 ปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ (ลาภมิควรได้)