ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  : 

       (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

ชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ 

ผู้ประกันตัวจำเลยฎีกาว่า การบังคับคดีเกี่ยวกับสัญญาประกันต้องกระทำภายใน 10 ปี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งบังคับคดีเกิน 10 ปีแล้ว สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประกันจึงเป็นอันระงับสิ้นไป ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผู้ประกันชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2562

ฎีกาของผู้ประกันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกัน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การที่ผู้ประกันนำเงิน 500,000 บาท มาชำระตามสัญญาประกันในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ทั้งที่ผู้ประกันอ้างในคำร้องฉบับลงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ว่า ศาลชั้นต้นสิ้นสิทธิในการบังคับคดีเพราะไม่บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกันชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกัน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 โดยศาลชั้นต้นตีราคาประกันจำเลย 800,000 บาท ผู้ประกันทำสัญญาประกันในวงเงิน 500,000 บาท และบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด ทำสัญญาประกันในวงเงิน 300,000 บาท จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดมีพฤติการณ์หลบหนีและถือว่าผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งออกหมายจับจำเลยและปรับผู้ประกันตามสัญญา ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 30 ตุลาคม 2550 ผู้ประกันยื่นคำร้องว่า นับจากวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกัน จนถึงวันที่เจ้าพนักงานศาลยื่นคำร้องขอให้บังคับคดีวันที่ 4 มิถุนายน 2561 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี สิทธิในการบังคับคดีจึงเป็นอันระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ผู้ประกันนำเงิน 500,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระค่าปรับตามสัญญาประกัน ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งบังคับคดี

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องคดียังไม่ขาดอายุความ ให้ยกคำร้อง

ผู้ประกันอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน

ผู้ประกันฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ผู้ประกันฎีกาว่า การบังคับคดีเกี่ยวกับสัญญาประกันต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งบังคับคดีเกิน 10 ปีแล้ว สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประกันจึงเป็นอันระงับสิ้นไป และการที่ผู้ประกันนำเงินตามสัญญาประกันมาวางต่อศาล มิได้กระทำไปตามอำเภอใจ คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันนั้น เห็นว่า ฎีกาของผู้ประกันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกัน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การที่ผู้ประกันนำเงิน 500,000 บาท มาชำระตามสัญญาประกันในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ทั้งที่ผู้ประกันอ้างในคำร้องฉบับลงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ว่า ศาลชั้นต้นสิ้นสิทธิในการบังคับคดีเพราะไม่บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกันชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกัน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของผู้ประกันจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

พิพากษายกฎีกาของผู้ประกัน

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา

 ป.พ.พ. ม. 407

 ป.วิ.อ. ม. 119 วรรคหนึ่ง

แหล่งที่มา

 กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ฟ้องหย่าเรียกสินสอดของหมั้นคืน

โจทก์ฟ้องขอหย่าขาดให้จำเลยใช้เงินค่าสินสอดทองหมั้นและเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงาน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค พิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น 




ลาภมิควรได้

ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามเรียกคืนไม่ได้
อายุความเรื่องลาภมิควรได้มีกำหนด 1 ปี
ต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คดีของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ (ลาภมิควรได้)