ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีเครือยาทถือว่าปดปิดหรือไม่

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีเครือยาทถืว่าปดปิดหรือไม่

ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หรือจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จะมีผลอย่างไร? ถือว่าผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกเป็นเหตุให้ทายาทอื่นได้รับความเสียหายและมีสิทธิร้องขอให้ถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่? การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกหากผู้ร้องไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีเครือยาทโดยธรรม จะมีผลให้ให้ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นการปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่?? อ่านคำตอบได้ด้านล่างนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2552

มาตรา 1713  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1)  เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2)  เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3)  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1716  หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว

มาตรา 1725  ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร

มาตรา 1728  ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน
(1)  นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้าในขณะนั้นผู้จัดการมรดกได้รู้ถึงการตั้งแต่งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
(2)  นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1726 ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือ
(3)  นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น

มาตรา 1729  ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 แต่กำหนดเวลานี้ เมื่อผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
บัญชีนั้นต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
บุคคลซึ่งจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ตามมาตรา 1670 จะเป็นพยานในการทำบัญชีใดๆ ที่ต้องทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ไม่ได้
 
มาตรา 1736  ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดก หรือผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัว ยังไม่ได้รับชำระหนี้ หรือส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ
ในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น ผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใดๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่นฟ้องคดีหรือแก้ฟ้องในศาลและอื่นๆ อนึ่งผู้จัดการมรดกต้องทำการทุกอย่างตามที่จำเป็น เพื่อเรียกเก็บหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกภายในเวลาอันเร็วที่สุดที่จะทำได้ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก

มาตรา 1744  ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกและผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้และส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน
  
          ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลยังมีภาระหน้าที่ที่จะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกซึ่งมีจำนวนมากมายหลายรายการ ต่อสู้คดีที่ถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องให้ชำระหนี้แทนกองมรดก รวมทั้งบริหารจัดการบริษัทกล้วยไม้สืบแทนเจ้ามรดก เมื่อภาระหน้าที่ดังกล่าวยังไม่ลุล่วง ผู้ร้องย่อมจะไม่สามารถลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1728 (2) ประกอบมาตรา 1716 โดยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 นับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง มิใช่ผู้ร้องละเลย ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเพราะผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้คัดค้านล่วงรู้ว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากเพื่อปิดบังทรัพย์มรดกนั้น ผู้คัดค้านมิได้นำสืบพยานใดสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนตามภาระการพิสูจน์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่พอรับฟัง แม้ผู้ร้องไปขอรับเงินฝากอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกจากธนาคาร ตามหนังสือทายาทขอรับมรดก แต่ความก็ปรากฏจากเอกสารฉบับนั้นว่าผู้ร้องขอรับเงินในฐานะผู้จัดการมรดก มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว ส่วนการรับโอนที่ดินมรดกก็ปรากฏจากคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านเองว่าผู้ร้องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นกัน จึงไม่ใช่การกระทำที่ส่อว่าเป็นการทุจริตหรือปิดบังทรัพย์มรดก ที่ผู้ร้องยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทก็เนื่องจากกองมรดกมีหนี้สิน ดังนั้น ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ โดยในวรรคสองกำหนดว่าในระหว่างเวลาเช่นว่านั้นผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่น แก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้วผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก แม้กระนั้นมาตรา 1744 ยังบัญญัติรับรองต่อไปว่า ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้แล้วทุกคน ดังนั้น การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก

          ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
  
          คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายเกษมเจ้ามรดก
          ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายเกษมตามคำสั่งศาล และขอให้ตั้งผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้เป็นผู้จัดการมรดกเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกแทน
          ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้าน ขอให้ยกคำร้อง
          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ให้ค่าคำร้องเป็นพับ
          ผู้คัดค้านอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
          ผู้คัดค้านฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ศาลชั้นต้นตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โดยผู้ร้องมิได้ระบุชื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้วว่าเป็นทายาทโดยธรรมเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องกับเจ้ามรดกไว้ในบัญชีเครือญาติเอกสารหมาย ร.5 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า มีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านมีตัวผู้คัดค้านและนางชิดมารดาของผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกโดยไม่บอกกล่าวผู้คัดค้านและเครือญาติที่ไปร่วมงานศพของเจ้ามรดก ทั้งยังปกปิดข้อเท็จจริงไม่ระบุชื่อผู้คัดค้านในบัญชีเครือญาติตามบัญชีเครือญาติเอกสารหมาย ร.5 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว นอกจากทรัพย์มรดกมากมายหลายรายการตามบัญชีทรัพย์เอกสารหมาย ค.4 แล้ว ผู้ร้องยังขอรับเงินฝากประมาณ 800,000 บาท อันเป็นมรดกของเจ้ามรดกจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยสะพานควาย ตามหนังสือทายาทขอรับมรดกเอกสารหมาย ค.3 แต่ผู้ร้องกลับละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกและไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกเหล่านั้นแก่ทายาทอื่นรวมทั้งผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านตอบคำถามค้านรับข้อเท็จจริงว่า เจ้ามรดกมีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมากที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ ผู้คัดค้านเองก็ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ขณะเดียวกันนางชิดก็ตอบคำถามค้านรับข้อเท็จจริงด้วยว่า ผู้ร้องกับบุตรต้องดำเนินกิจการบริษัทกล้วยไม้แทนเจ้ามรดกเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ แสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลยังมีภาระหน้าที่ที่จะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกซึ่งมีจำนวนมากมายหลายรายการ ต่อสู้คดีที่ถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องให้ชำระหนี้แทนกองมรดก รวมทั้งบริหารจัดการบริษัทกล้วยไม้สืบแทนเจ้ามรดก เมื่อภาระหน้าที่ดังกล่าวยังไม่ลุล่วง ผู้ร้องย่อมจะไม่สามารถลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 (2) ประกอบมาตรา 1716 โดยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 นับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง มิใช่ผู้ร้องละเลย ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเพราะผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้คัดค้านล่วงรู้ว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากเพื่อปิดบังทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้นำสืบพยานใดสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนตามภาระการพิสูจน์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 (1) พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่พอรับฟังแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้ร้องไปขอรับเงินฝาก 834, 868.96 บาท อันเป็นมรดกของเจ้ามรดกจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยสะพานควาย ตามหนังสือทายาทขอรับมรดกเอกสารหมาย ค.3 แต่ความก็ปรากฏจากเอกสารฉบับนั้นว่าผู้ร้องขอรับเงินในฐานะผู้จัดการมรดก มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว ส่วนการรับโอนที่ดินมรดกก็ปรากฏจากคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านเองว่าผู้ร้องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นกันจึงไม่ใช่การกระทำที่ส่อว่าเป็นการทุจริตหรือปิดบังทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทก็เนื่องจากกองมรดกมีหนี้สิน ดังนั้น ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ โดยในวรรคสองกำหนดว่า ในระหว่างเวลาเช่นว่านั้นผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่น แก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก แม้กระนั้นมาตรา 1744 ยังบัญญัติรับรองต่อไปว่า ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้แล้วทุกคน ดังนั้น การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก ข้อที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องปกปิดข้อเท็จจริงไม่ระบุชื่อผู้คัดค้านในบัญชีเครือญาติ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้วนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกันหากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันให้ยกคำร้องคัดค้านจึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน ให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้เป็นพับ
 
 
( ธนพจน์ อารยลักษณ์ - พิทักษ์ คงจันทร์ - เฉลียว พลวิเศษ )
 
 


มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์

การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยเปิดทางพิพาทชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นการขอเพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองอย่างหนึ่ง การที่โจทก์สามารถใช้เส้นทางอื่นออกไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น หาตัดสิทธิของโจทก์ในการที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ เพราะโจทก์ฟ้องว่ายังมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทออกไปสู่ทางสาธารณะได้อีกทางหนึ่งด้วย กรณีจึงมีเหตุที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ได้

ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

ขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท จำเลยจึงครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้

ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปีจากทายาทผู้ครอบครอง

ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่?? โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วย
 
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
การแบ่งปันทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวน ผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง การแบ่งปันทรัพย์มรดกกระทำได้โดยการส่งมอบการครอบครองเท่านั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีการตกลงแบ่งปันกันระหว่างทายาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามกฎหมายแล้ว มารดาโจทก์ครอบครองที่ดินเพื่อตนเองตลอดมาและมอบการครอบครองให้แก่โจทก์
 

 




ฟ้องคดีเรื่องมรดกและผู้จัดการมรดก

ทรัพย์มรดกของพระภิกษุผู้มรณภาพตกเป็นมรดกแก่วัด
เงื่อนไขของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง
การโอนอันมีค่าตอบแทนและรับโอนโดยสุจริต
ไม่ถอนคนเดิมแต่ให้ตั้งคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ผู้มีส่วนได้เสียถอนผู้จัดการมรดก
บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
มรดกที่ผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง
ผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากร-อายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกัน
พินัยกรรมยกสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกิน
ทายาทรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดก
สิทธิรับมรดกของทารกในครรภ์มารดา
ผู้แทนโดยชอบธรรมขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ผู้จัดการมรดก | สามีไม่ได้จดทะเบียน | ผู้มีส่วนได้เสีย
อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก | พินัยกรรมเป็นโมฆะ
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ