ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกัน

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ

สิทธิเรียกร้องมรดกของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่? ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นมรดกก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว แม้จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจะยกอายุความมาต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9787/2552

          จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกมา ก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท ดังเห็นได้จากที่จำเลยแบ่งเงินที่ขายให้แก่ทายาทบางคนตามสิทธิในเวลาต่อมา จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ดังนั้น แม้ปรากฏว่าในวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ถือว่าจำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกันอายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับเพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสองและวรรคท้ายมาต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

          โจทก์ฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 9,945,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 7,020,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

          จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 3,295,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2537 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาท สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ให้จำเลยนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท แทนโจทก์

          จำเลยฎีกา
          ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย นายธนพร ผู้จัดการมรดกของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความต่างมิได้โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า นายทองดี กับนางส่วนหรือสาด บัวพ่วง เจ้ามรดก เป็นสามีภริยากัน มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่ จำเลยซึ่งเป็นบุตรคนโต โจทก์ นายฉวี ปัจจุบันบวชเป็นพระฉายา “ สุทธิ ญาโณ ” และนายไสว กับนายสวัสดิ์ ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว นายทองดีบิดาของโจทก์จำเลยถึงแก่ความตายไปนานแล้ว ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2521 นางส่วนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินหลายแปลงและแบ่งให้แก่ทายาทไปแล้ว คงเหลือทรัพย์มรดกที่พิพาทกันในคดีนี้เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 737 ตำบลบางรักใหญ่ ( บางไผ่ ) อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา และจำเลยได้รับโอนทางมรดกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2534 ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม 2536 จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวกับนายฤทธิศักดิ์ ในราคา 20,475,000 บาท ครั้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บริษัทอักษราราชธานี จำกัด ผู้ซื้อไป หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 จำเลยบริจาคเงินจำนวน 4,000,000 บาท ให้แก่วัดบางรักใหญ่ เพื่อใช้ในการสร้างศาลาอเนกประสงค์โดยระบุชื่อโจทก์และนายฉวี เป็นผู้บริจาค รายละเอียดปรากฏตามใบอนุโมทนาบัตร ต่อมาวัดบางรักใหญ่ได้สร้างศาลาอเนกประสงค์เสร็จแล้วโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ได้ประกอบพิธีฉลองศาลาอเนกประสงค์ ส่วนเงินที่ขายมรดกที่ดินพิพาทหลังจากหักเงินบริจาค 4,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว คงเหลือเพียง 16,475,000 บาท

          คดีมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การที่จำเลยนำเงินจากการขายที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ โจทก์จำเลยและทายาททุกคนในกองมรดกของนางส่วนหรือสาด เจ้ามรดก เฉพาะส่วนจำนวน 4,000,000 บาท ไปบริจาคทำบุญให้แก่วัดบางรักใหญ่ ตามใบอนุโมทนาบัตรเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีฐานะยากจนโดยได้ความจากพระครูนนทการ โกศล เจ้าอาวาสวัดบางรักใหญ่ ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ว่า พยานรู้จักโจทก์เพราะโจทก์เคยเป็นภารโรงอยู่ที่โรงเรียนวัดบางรักใหญ่ ปัจจุบันโจทก์ไปอาศัยข้าววัดรับประทาน ดังนั้น แม้โจทก์จะรับรู้และไปร่วมงานฉลองศาลาที่ก่อสร้างจากเงินบริจาคดังกล่าวตามข้อฎีกาของจำเลย แต่เมื่อคำนึงถึงเงินบริจาคเป็นจำนวนถึง 4,000,000 บาท นับว่าเป็นเงินจำนวนสูงมากเปรียบเทียบกับฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะมอบหมายให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าว อันเป็นส่วนมรดกของโจทก์เองผู้เดียวไปทำบุญอุทิศให้แก่วัดในขณะที่โจทก์กลับมีฐานะยากจน ที่สำคัญพระสุทธิ ญาโณ (นายฉวี) พยานโจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในกองมรดกเบิกความยืนยันว่าพยานทราบว่า จำเลยซึ่งเป็นพี่ชายคนโตบริจาคเงินให้แก่วัดโดยถือเป็นเงินบริจาคของพี่น้องทุกคน ซึ่งพยานโจทก์ปากนี้เป็นพยานคนกลาง และเบิกความในทางเสียประโยชน์แก่ตน จึงน่าเชื่อถือ ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าพี่น้องของโจทก์จำเลยซึ่งต่างเป็นทายาทในกองมรดกตกลงให้จำเลยนำเงินที่ขายมรดกที่ดินพิพาทดังกล่าวไปใช้ในงานฌาปนกิจศพเจ้ามรดกและบริจาคบางส่วนให้แก่วัดตามจำนวนเงินบริจาคในใบอนุโมทนาบัตร หาใช่โจทก์เป็นฝ่ายขอให้จำเลยนำเงินตามสิทธิส่วนได้ของโจทก์ในทรัพย์มรดกพิพาทไปบริจาคทำบุญตามใบอนุโมทนาบัตรดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อเงินขายที่ดินมรดกหลังจากหักเงินบริจาคแล้วคงเหลือเพียง 16,475,000 บาท จำเลยจึงต้องแบ่งแก่โจทก์ 1 ใน 5 ส่วน ถูกต้องตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาประการนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายมีว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องขาดอายุความแล้วหรือไม่ ในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษามาโดยวินิจฉัยว่า ในปี 2534 ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกมาก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาทดังเห็นได้จากที่จำเลยแบ่งเงินที่ขายให้แก่ทายาทบางคนตามสิทธิในเวลาต่อมา จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ดังนั้น แม้ปรากฏว่าในวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไป ก็เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสองและวรรคท้ายมาต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ ฎีกาในประการนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ขอในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3,500,000 บาท นั้น โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามลำดับ โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาดังกล่าวหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

( พินิจ สายสอาด - อร่าม เสนามนตรี - อร่าม แย้มสอาด )


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1745 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้ มาตรา 1356 ถึง มาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
 
    

       




ฟ้องคดีเรื่องมรดกและผู้จัดการมรดก

ทรัพย์มรดกของพระภิกษุผู้มรณภาพตกเป็นมรดกแก่วัด
เงื่อนไขของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง
การโอนอันมีค่าตอบแทนและรับโอนโดยสุจริต
ไม่ถอนคนเดิมแต่ให้ตั้งคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีเครือยาทถือว่าปดปิดหรือไม่
ผู้มีส่วนได้เสียถอนผู้จัดการมรดก
บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
มรดกที่ผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง
ผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากร-อายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
พินัยกรรมยกสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกิน
ทายาทรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดก
สิทธิรับมรดกของทารกในครรภ์มารดา
ผู้แทนโดยชอบธรรมขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ผู้จัดการมรดก | สามีไม่ได้จดทะเบียน | ผู้มีส่วนได้เสีย
อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก | พินัยกรรมเป็นโมฆะ
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ