ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากร-อายุความ

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1 

ผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากร-อายุความ

กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดก จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  743/2552

กรมสรรพากร     โจทก์

มาตรา 694 นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

          กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของ อ. แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ. จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรต่างๆ ตามประมวลรัษฎากรและตามกฎหมายอื่น จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของนายอุดม ลูกหนี้ภาษีอากรค้างชำระต่อโจทก์ โดยนายอุดมประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างและเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งการประเมินให้นายอุดม ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2539 เป็นเงินรวม 17,181.53 บาท และสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2539 เป็นเงินรวม 236, 358.13 บาท เนื่องจากตรวจสอบพบว่า นายอุดมยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีดังกล่าวไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้อง นายอุดมได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยชอบแล้วมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 นายอุดมยื่นคำร้องขอขยายเวลาหรือขอผ่อนชำระค่าภาษีอากรตามการประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์รวม 24 งวด โดยมีจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของนายอุดมต่อโจทก์ นายอุดมได้ผ่อนชำระหนี้ภาษีอากรค้างชำระบางส่วนแล้วผิดนัดไม่ชำระ คงค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2539 เป็นเงิน 84,920 บาท ต่อมานายอุดมถึงแก่ความตาย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างชำระของนายอุดมซึ่งเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น 115,748 บาท โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 115,748 บาท แก่โจทก์

          จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากรของนายอุดมจริง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2545 นายอุดมถึงแก่ความตาย โจทก์รู้ว่านายอุดมถึงแก่ความตายตั้งแต่ปี 2545 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรจะรู้ว่านายอุดมถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 เจ้าพนักงานของโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินให้นายอุดมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2539 เป็นเงิน 17,181.53 บาท และ 236,358.13 บาท ตามลำดับ นายอุดมมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมิน แต่ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาหรือขอผ่อนชำระภาษีอากร (ท.ป.2) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 382 โดยมีจำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากรดังกล่าวตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 385 ถึง 388 นายอุดมได้ผ่อนชำระค่าภาษีอากรแล้วบางส่วนคงค้างชำระ 84,920 บาท ต่อมาวันที่ 4 มกราคม 2545 นายอุดมถึงแก่ความตายตามสำเนาใบมรณบัตรเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 31 สรรพากรพื้นที่พัทลุงได้มีหนังสือลงวันที่ 10 ตุลาคม 2546 ทวงถามจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวแล้วตามหนังสือทวงถามและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 188 และ 189 แต่จำเลยเพิกเฉย
          มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการเดียวว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ในปัญหานี้โจทก์นำสืบว่า สรรพากรพื้นที่พัทลุงและสำนักงานสรรพากรภาค 12 ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ โจทก์เพิ่งทราบเหตุแห่งการตายของนายอุดม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2548 ตามบันทึกข้อความที่ กค 0732/8654 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2548 เอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 1 และ 2 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยนำสืบว่าหลังจากนายอุดมถึงแก่ความตายแล้ว ประมาณกลางปี 2545 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ฟ้องทายาทของนายอุดมต่อศาลจังหวัดพัทลุงเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของนายอุดมในคดีดังกล่าวด้วย ทั้งนางกิ้มทายาทของนายอุดมก็ได้ไปให้การและส่งมอบหลักฐานใบมรณบัตรของนายอุดมต่อเจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2545 จึงถือว่าโจทก์ทราบการตายของนายอุดมตั้งแต่ปี 2545 เห็นว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง ระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ นางกิ้ม กับพวก จำเลย ได้ความว่าสรรพากรพื้นที่พัทลุงมีบันทึกข้อความลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 ถึงสรรพากรภาค 12 สรุปความว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ฟ้องทายาทโดยธรรมของนายอุดม เพื่อบังคับจำนองเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2545 และจะมีการบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของนายอุดมซึ่งติดจำนองธนาคารดังกล่าว แต่เนื่องจากนายอุดมเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2545 ฉะนั้นเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างจึงเห็นควรยื่นคำร้องเฉลี่ยทรัพย์ และขอให้สรรพากรภาค 12 จัดส่งใบแต่งทนายความให้สรรพากรพื้นที่พัทลุงเพื่อดำเนินการต่อไป รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 178 และ 180 ต่อมาสรรพากรภาค 12 มีบันทึกลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 177 แจ้งให้สรรพากรพื้นที่พัทลุงดำเนินการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์พร้อมกับส่งใบแต่งทนายความซึ่งลงนามโดยนายโยธิน สรรพากรภาค 12 จำนวน 4 ฉบับ ไปด้วย จากเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลในคดีนี้ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความ 1 ฉบับ ระบุว่า ผู้ลงนามเป็นผู้แต่งทนายความคือนายโยธิน สรรพากรภาค 12 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 162 กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า ผู้ที่ดำเนินการแทนโจทก์ในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง ก็คือนายโยธิน สรรพากรภาค 12 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ เมื่อเป็นดังนี้ย่อมต้องถือว่าโจทก์ทราบการตายของนายอุดมแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าว แม้ทางพิจารณาจะไม่ปรากฏว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อใด แต่ปรากฏจากหนังสือแจ้งผลคดีของอัยการจังหวัดพัทลุง ตามเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 142 และ 143 ว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ กรณีจึงถือได้ว่าอย่างช้าที่สุดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 โจทก์รู้ถึงความตายของนายอุดมแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของนายอุดม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของนายอุดมจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว”
          พิพากษายืน จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้
 
 
( ทองหล่อ โฉมงาม - องอาจ โรจนสุพจน์ - ชาลี ทัพภวิมล )
 

 

ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

สิทธิเรียกร้องมรดกของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่? ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นมรดกก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท จำเลยจึงครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้

ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปีจากทายาทผู้ครอบครอง

ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่?? โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วย
 


 




ฟ้องคดีเรื่องมรดกและผู้จัดการมรดก

ทรัพย์มรดกของพระภิกษุผู้มรณภาพตกเป็นมรดกแก่วัด
เงื่อนไขของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง
การโอนอันมีค่าตอบแทนและรับโอนโดยสุจริต
ไม่ถอนคนเดิมแต่ให้ตั้งคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีเครือยาทถือว่าปดปิดหรือไม่
ผู้มีส่วนได้เสียถอนผู้จัดการมรดก
บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
มรดกที่ผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกัน
พินัยกรรมยกสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกิน
ทายาทรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดก
สิทธิรับมรดกของทารกในครรภ์มารดา
ผู้แทนโดยชอบธรรมขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ผู้จัดการมรดก | สามีไม่ได้จดทะเบียน | ผู้มีส่วนได้เสีย
อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก | พินัยกรรมเป็นโมฆะ
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ