ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




สิทธิรับมรดกของทารกในครรภ์มารดา

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

สิทธิรับมรดกของทารกในครรภ์มารดา

โจทก์อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตายจึงต้องถือว่าบิดาได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรแล้วและต้องถือว่าบิดาได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทของเจ้ามรดก(บิดา)ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1604 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาทเนื่องจากขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโจทก์ยังไม่มีสภาพบุคคลนั้น เห็นว่า มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิแก่ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกโจทก์ซึ่งเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ขณะบิดาถึงแก่ความตายและต่อมาคลอดแล้วรอดอยู่ จึงได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 1627 เช่นเดียวกันกับเด็กที่คลอดจากครรภ์มารดาก่อนเจ้ามรดกตายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8661/2544

          ป. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกและ บ. อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รับรู้ของบุคคลอื่นทั่ว ๆ ไป และมีบุตรด้วยกันก่อนโจทก์แล้วคนหนึ่งซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ป. ถึงแก่ความตายขณะ บ. ตั้งครรภ์โจทก์ พฤติการณ์ของ ป. และบ. ที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ป. ยกย่อง บ. เป็นภริยาและยอมรับว่าเด็กที่เกิดจาก บ. เป็นบุตร บ. ตั้งครรภ์โจทก์ขณะที่ ป. ยังไม่ถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นให้เห็นว่าป. ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเด็กในครรภ์ บ. ไม่ใช่เป็นบุตรของ ป. จึงต้องถือว่า ป. ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรและต้องถือว่า ป. ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บ. แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. และเป็นทายาทของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1604

           เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของป. ที่จะตกทอดไปยังทายาทของ ป. ตามกฎหมาย บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. โจทก์จึงเป็นทายาทของ ป. แต่เพียงผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงตกได้แก่โจทก์ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กและอาศัยอยู่กับ บ. มารดา ดังนั้น จึงต้องถือว่า บ. ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์มาตลอด แม้ต่อมา บ. จะได้ ส. เป็นสามีและรับ ส. เข้ามาอยู่ร่วมกันในที่ดินพิพาทก็ตามแต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บ. และ ส. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป บ. และส. จึงไม่เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและยังต้องถือว่าบุคคลทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาตลอดเมื่อ บ. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า บ. ผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเท่านั้น

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนายป๋องหรือหวิงกับนางบุญช่วย เสวีวัลลภ นายป๋องได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนายป๋องเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 13181 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเมิดสิทธิของโจทก์และขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 13181 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

          จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การว่า นางบุญช่วย เสวีวัลลภ มารดาโจทก์และจำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านเป็นเวลา 10 ปีเศษ จำเลยที่ 1 ยื่นขอรังวัดออกโฉนดที่ดินโดยเปิดเผยตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการ โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวและไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ทิ้งฟ้องจำเลยที่ 4 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 4 และระหว่างพิจารณาโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นอนุญาต

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 13181 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของนายท้วม ต่ายทอง เมื่อนายท้วมถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทตกได้แก่นางเชย ต่ายทอง ภริยานายท้วม ต่อมานางเชยยกที่ดินพิพาทให้แก่นายป๋องหลานชาย นายป๋องอยู่กินฉันสามีภริยากับนางบุญช่วย เสวีวัลลภ โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เมื่อนายป๋องถึงแก่ความตายนางบุญช่วยได้นายล้น เสวีวัลลภ เป็นสามีโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 4 คน รวมทั้งจำเลยที่ 1 นางบุญช่วยกับนายสันอยู่ในที่ดินพิพาทมาโดยตลอด นายสันถึงแก่ความตายวันที่ 24 ธันวาคม 2517 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ทางราชการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 13181 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ให้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประการแรกมีว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โดยในปัญหาแรกนี้เห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า โจทก์เป็นบุตรนายป๋องหรือไม่ โจทก์ นางบุญเรืองหรือเรืองแซ่อึ้ง และนางเหม งามขำ เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า นายป๋องอยู่กินฉันสามีภริยากับนางบุญช่วยโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหวันซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วและโจทก์นางบุญช่วยพยานจำเลยซึ่งเป็นมารดาโจทก์และจำเลยที่ 1 เบิกความว่าอยู่กินฉันสามีภริยากับนายป๋อง ขณะตั้งครรภ์โจทก์นายป๋องถึงแก่ความตายหลังจากนายป๋องถึงแก่ความตายแล้วประมาณปีเศษ จึงได้อยู่กินฉันสามีภริยากับนายสันและให้โจทก์ใช้นามสกุลของนายสัน นางบุญเรืองและนางเหมเป็นเพื่อนบ้านของนางบุญช่วย นางบุญเรืองมีบ้านอยู่คนละฟากถนนตรงกันข้ามกับบ้านที่นางบุญช่วยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ขณะที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความ (ปี 2540) นางบุญเรืองอายุ 73 ปี และนางเหมอายุ 70 ปี จึงถือได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลใกล้ชิดรู้จักนางบุญช่วยมารดาโจทก์และจำเลยที่ 1 มาเป็นระยะเวลานานและไม่เคยมีสาเหตุบาดหมางโกรธเคืองกันมาก่อนหรือมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องด้วย คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองปากดังกล่าวจึงมีน้ำหนักรับฟังเชื่อถือได้ เมื่อฟังประกอบคำเบิกความของนางบุญช่วยพยานจำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เบิกความเจือสมกับคำเบิกความของพยานโจทก์ด้วยแล้ว ทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์มีน้ำหนักและมีเหตุผลเชื่อได้อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นว่าโจทก์เป็นบุตรนายป๋องที่เกิดกับนางบุญช่วยจริง ดังนั้น แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย จ.3/1 จะมีข้อความระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อนายหวิง ก็อาจเป็นได้ว่านายป๋องอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านายหวิง ผู้แจ้งจึงได้แจ้งไปตามนั้น ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นบุตรนายป๋องหรือหวิงซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นชื่อของบุคคลคนเดียวกัน และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้นำสืบโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงนี้มาก่อน เพิ่งจะยกขึ้นมากล่าวอ้างในชั้นนี้ว่า โจทก์ไม่ใช่บุตรนายป๋องเท่านั้น ข้อโต้แย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงเป็นเพียงคำกล่าวอ้างลอย ๆ ขาดเหตุผลที่จะรับฟัง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นบุตรนายป๋องหรือหวิงแล้ว แม้โจทก์จะไร้นามสกุลของบิดาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้โจทก์กลายมาเป็นบุตรของบิดาจำเลยที่ 1ไปได้ และต้องถือว่าโจทก์เป็นบุตรนายป๋องหรือหวิงตามความเป็นจริงปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนายป๋องหรือหวิงหรือไม่ โจทก์เบิกความว่า โจทก์เกิดปี 2492 นายป๋องถึงแก่ความตายปี 2492 นางบุญเรืองพยานโจทก์เบิกความว่า นายป๋องถึงแก่ความตายขณะโจทก์มีอายุหนึ่งปีเศษ หลังจากนายป๋องถึงแก่ความตายได้ 2 ถึง 3 ปี นางบุญช่วยจึงอยู่กินฉันสามีภริยากับนายสันและตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า ขณะนางบุญช่วยได้นายสันเป็นสามีโจทก์อายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน นางเหมพยานโจทก์เบิกความว่านายป๋องถึงแก่ความตายประมาณ 2 ปี นางบุญช่วยจึงได้นายสันเป็นสามีนางบุญช่วยพยานจำเลยเบิกความว่า นายป๋องถึงแก่ความตายประมาณปีเศษ จึงอยู่กินเป็นสามีภริยากับนายสันเห็นว่า โจทก์มิได้นำสืบให้รับฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์เกิดก่อนที่นายป๋องจะถึงแก่ความตายและนายป๋องถึงแก่ความตายเมื่อใด คงได้ความเพียงว่าหลังจากนายป๋องถึงแก่ความตายประมาณ 1 ถึง 2 ปี นางบุญช่วยจึงอยู่กินฉันสามีภริยากับนายสัน จึงน่าเชื่อตามคำเบิกความของนางบุญช่วยพยานจำเลยว่าขณะนายป๋องถึงแก่ความตายนั้น นางบุญช่วยกำลังตั้งครรภ์โจทก์และคลอดโจทก์ภายหลังจากที่นายป๋องถึงแก่ความตายแล้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ถึง 2 ปี นางบุญช่วยจึงอยู่กินฉันสามีภริยากับนายสันและจากคำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งคัดค้านให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้ความว่า นางบุญช่วยและนายป๋องอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รับรู้ของบุคคลอื่นทั่ว ๆ ไป และมีบุตรด้วยกันก่อนโจทก์แล้วคนหนึ่งซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว นายป๋องถึงแก่ความตายขณะนางบุญช่วยตั้งครรภ์โจทก์ พฤติการณ์ของนายป๋องและนางบุญช่วยที่ปฏิบัติต่อกัน แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า นายป๋องยกย่องนางบุญช่วยเป็นภริยาและยอมรับว่าเด็กที่เกิดจากนางบุญช่วยเป็นบุตรนายป๋อง นางบุญช่วยตั้งครรภ์โจทก์ขณะที่นายป๋องยังไม่ถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นให้เห็นว่านายป๋องปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเด็กในครรภ์นางบุญช่วยไม่ใช่เป็นบุตรนายป๋อง จึงต้องถือว่านายป๋องได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนายป๋องและต้องถือว่านายป๋องได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนายป๋องตั้งแต่อยู่ในครรภ์นางบุญช่วยแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายป๋องและเป็นทายาทของนายป๋องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1604 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาทเนื่องจากขณะนายป๋องถึงแก่ความตายโจทก์ยังไม่มีสภาพบุคคลนั้น เห็นว่า มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิแก่ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกโจทก์ซึ่งเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ขณะนายป๋องถึงแก่ความตายและต่อมาคลอดแล้วรอดอยู่ จึงได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 1627เช่นเดียวกันกับเด็กที่คลอดจากครรภ์มารดาแล้วด้วย เหตุผลตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น และปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า นายป๋องยกที่ดินพิพาทให้แก่นางบุญช่วยตั้งแต่ขณะที่นายป๋องยังมีชีวิตอยู่หรือไม่เห็นว่าข้ออ้างดังกล่าวคงมีเพียงคำเบิกความกล่าวอ้างเพียงลอย ๆ ของนางบุญช่วยเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้แสดงพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้น่าเชื่อถือเห็นจริง เมื่อพิจารณาถึงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่นางเชยยกให้นายป๋องผู้เป็นหลานก่อนที่นายป๋องจะอยู่กินฉันสามีภริยากับนางบุญช่วย จึงเป็นทรัพย์ที่นายป๋องได้มาแต่ฝ่ายเดียวและได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่อยู่อาศัยและทำประโยชน์โดยอาศัยอยู่ร่วมกันจึงไม่มีเหตุผลที่นายป๋องจะยกที่ดินพิพาทให้แก่นางบุญช่วยทั้ง ๆ ที่นายป๋องยังมีชีวิตอยู่อันเป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัย และนางบุญช่วยก็ไม่เคยกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงนี้มาก่อน แม้ในขณะที่นางบุญช่วยไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทก็ระบุแต่เพียงว่าครอบครองที่ดินพิพาทต่อจากนายป๋อง มิได้แจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของนางบุญช่วยโดยนายป๋องยกให้ ขณะเดียวกันจำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับระบุว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของนายสันบิดาจำเลยที่ 1 ครอบครองทำประโยชน์เมื่อบิดาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย นางบุญช่วยมารดาจำเลยที่ 1จึงยกให้จำเลยที่ 1 แต่ต่อมาภายหลังได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใหม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของนายป๋องได้รับการยกให้จากนางเชยพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงขัดแย้งกันเองเป็นพิรุธและไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังว่านายป๋องยกที่ดินให้แก่นางบุญช่วยดังอ้าง เมื่อนายป๋องถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของนายป๋องที่จะตกทอดไปยังทายาทของนายป๋องตามกฎหมาย นางบุญช่วยอยู่กินฉันสามีภริยากับนายป๋องโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายป๋อง โจทก์จึงเป็นทายาทของนายป๋องแต่เพียงผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงตกได้แก่โจทก์ ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กและอาศัยอยู่กับนางบุญช่วยมารดาดังนั้น จึงต้องถือว่านางบุญช่วยครอบครองดูแลที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์มาตลอด แม้ต่อมานางบุญช่วยจะได้นายสันเป็นสามีและรับนายสันเข้ามาอยู่ร่วมกันในที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางบุญช่วยและนายสันครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป นางบุญช่วยและนายสันจึงไม่เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและยังต้องถือว่าบุคคลทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาตลอด เมื่อนางบุญช่วยโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่านางบุญช่วยผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเท่านั้น ส่วนปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประการสุดท้ายที่ว่า โจทก์ฟ้องเอาที่ดินพิพาทคืนภายใน 1 ปีหรือไม่ นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองประเด็นที่โต้เถียงจึงมีว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 ผู้ใดเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในปัญหาดังกล่าวและกรณีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเหตุผลอื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยกขึ้นอ้างในฎีกาอีก เพราะเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนประกอบข้อโต้เถียงของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และไม่ทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น พยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุผลและมีน้ำหนักรับฟังเชื่อถือได้มากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น"


          พิพากษายืน

( อัธยา ดิษยบุตร - ปรีดี รุ่งวิสัย - สมศักดิ์ เนตรมัย )

ป.พ.พ. มาตรา 1381, 1604, 1627

มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก

มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล หรือสามารถมีสิทธิได้ตาม มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
--เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

 

          




ฟ้องคดีเรื่องมรดกและผู้จัดการมรดก

ทรัพย์มรดกของพระภิกษุผู้มรณภาพตกเป็นมรดกแก่วัด
เงื่อนไขของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง
การโอนอันมีค่าตอบแทนและรับโอนโดยสุจริต
ไม่ถอนคนเดิมแต่ให้ตั้งคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีเครือยาทถือว่าปดปิดหรือไม่
ผู้มีส่วนได้เสียถอนผู้จัดการมรดก
บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
มรดกที่ผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง
ผู้ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากร-อายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกัน
พินัยกรรมยกสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกิน
ทายาทรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดก
ผู้แทนโดยชอบธรรมขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วม
ผู้จัดการมรดก | สามีไม่ได้จดทะเบียน | ผู้มีส่วนได้เสีย
อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก | พินัยกรรมเป็นโมฆะ
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ