
หมวด 10 บทกำหนดโทษ
-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) -ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1
หมวด 10 บทกำหนดโทษ มาตรา 82 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 33 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 83 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้มาเพื่อให้ถ้อยคำหรือให้ส่งหรือจัดการส่งเอกสารหรือวัตถุใดหรือมาตามหนังสือเรียกแล้วแต่ไม่ยอมให้ถ้อยคำ โดยปราศจากเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ให้ผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติตามมาตรา 35 (3) ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตหรือเคยจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นสองอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมีสิทธิขอต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 39 และมาตรา 40 หรือขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตได้และให้ถือว่าผู้นั้นเป็นทนายความตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 35 (1) (2) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) และ (11) มาใช้บังคับแก่ทนายความตามวรรคสองด้วย มาตรา 85 ให้เนติบัณฑิตยสภาส่งมอบทะเบียนทนายความและบรรดาเอกสารที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ การต่ออายุใบอนุญาตเป็นทนายความและการควบคุมมรรยาททนายความ เว้นแต่สำนวนคดีมรรยาททนายความที่ยังค้างพิจารณาอยู่ให้แก่สภาทนายความภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 86 ให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่คณะกรรมการยังมิได้ออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าบทบัญญัติตามมาตรา 12 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 และข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภาว่าด้วยมรรยาททนายความและการแต่งกายของทนายความที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นเสมือนข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามวรรคหนึ่ง มาตรา 87 ให้มีคณะกรรมการมรรยาททนายความตามมาตรา 54 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ให้บรรดาคดีมรรยาททนายความที่ค้างพิจารณาอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และคดีมรรยาททนายความที่เกิดขึ้นในขณะที่ยังไม่มีคณะกรรมการมรรยาททนายความตามวรรคหนึ่งอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยทนายความที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะเสร็จการ เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติวรรคสอง ให้คณะกรรมการมรรยาททนายความและบุคคล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีมรรยาททนายความอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือที่จะได้รับการแต่งตั้งเพื่อการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคสอง มีอำนาจกระทำการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยทนายความที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะเสร็จการ มาตรา 88 ในวาระเริ่มแรกให้รัฐมนตรีแต่งตั้งทนายความซึ่งมีคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการตามมาตรา 17 วรรคสอง จำนวนสิบห้าคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นกรรมการบริหารของสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม เป็นคณะกรรมการตามมาตรา 14 ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 89 ให้คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 88 เลือกและแต่งตั้งกรรมการด้วยกันเองคนหนึ่งเป็นนายกตามมาตรา 14 ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 14 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (2) การรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพ ฉบับละ 4,000 บาท (3) การรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความสองปี ฉบับละ 800 บาท (4) การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ฉบับละ 800 บาท (5) การออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ฉบับละ 100 บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยทนายความได้ใช้บังคับมานานแล้วและมีบทบัญญัติบางประการที่สมควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมเพื่อควบคุมและส่งเสริมการประกอบอาชีพทนายความ เช่น ให้มีสภาทนายความเพื่อควบคุมมรรยาทของทนายความ ให้มีกองทุนสงเคราะห์ทนายความเพื่อช่วยเหลือทนายความ เป็นต้น และสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายโดยตรง เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้สามารถกระทำได้อย่างกว้างขวางและทันกับความต้องการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ อมรรัตน์/แก้ไข
|