ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ

หนังสือรับสภาพหนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปเมื่อหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวยินยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้แก่โจทก์ด้วยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544

จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น มิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกันจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ยินยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ด้วยก็ตามเพราะโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและหนี้ยังไม่ระงับนั่นเอง

           โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จำนวน1 คัน ไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อและครอบครองใช้ประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย วันที่ 10 ตุลาคม 2538จำเลยที่ 1 ตกลงชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว โดยทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์ 111,274 บาทตกลงชำระงวดละ 9,272 บาท งวดแรกชำระวันที่ 15 ธันวาคม 2538งวดต่อไปชำระทุกวันที่ 15 ของเดือน หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วผิดนัด คงค้างชำระจำนวน74,186 บาท โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่15 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 23,183 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 97,369 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 74,186 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

           จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

           จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้รู้เห็นการทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้และไม่เคยค้ำประกันการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 74,186 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 เมษายน 2539จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ต้องไม่เกิน23,183 บาท ตามที่โจทก์ขอ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          จำเลยที่ 2 ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงมาว่า เมื่อวันที่ 16ธันวาคม 2537 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.3 และ จ.5 ต่อมารถยนต์ที่เช่าซื้อได้รับอุบัติเหตุเสียหายทั้งคัน บริษัทผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ยังไม่คุ้มราคาที่เช่าซื้อ จำเลยที่1 จึงตกลงทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ยินยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างรวมดอกเบี้ยชำระล่าช้าเป็นเงิน111,274 บาท โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายงวด งวดละ 9,272บาท กำหนดชำระงวดแรก วันที่ 15 ธันวาคม 2538 งวดต่อไปชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปทุกเดือนจนกว่าจะชำระเสร็จหากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าผิดนัดชำระทั้งหมด ยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันทีและยอมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปี จากยอดเงินที่ผิดนัดชำระทั้งหมด ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.4 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์บางส่วนคงค้างชำระจำนวน 74,186 บาท คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.4 หรือไม่ เห็นว่าหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ตามเอกสารหมาย จ.4 ได้ทำขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องมาจากสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ตามเอกสารหมาย จ.3 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น มิได้มีการเปลี่ยนตัว เจ้าหนี้ ลูกหนี้และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปเมื่อหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวยินยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้แก่โจทก์ด้วยก็ตาม เพราะโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวและหนี้ยังไม่ระงับนั่นเอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยนั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

( ชวลิต ตุลยสิงห์ - ไพศาล เจริญวุฒิ - สมชาย จุลนิติ์ )

ศาลจังหวัดตรัง - นายชวลิต อิศรเดช
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 - นายชวลิต สุจริตกุล
ป.พ.พ. มาตรา 193/14, 349
มาตรา 193/14  อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกันหรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
(2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
(3) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
(4) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
(5) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี

 มาตรา 349    เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่
(วรรคสอง)--ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น
(วรรคสาม)---ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง


 




ผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม-กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมใหม่
ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกันไล่เบี้ยลูกหนี้
แปลงหนี้ใหม่หนี้เดิมระงับผู้ค้ำประกันหลุดพ้น
จำเลยอุทธรณ์ไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ชอบ
ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน