ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่-หลักฐานผู้ครอบครองที่ดิน

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่หลักฐานว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน

ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า มีได้เพียงสิทธิครอบครอง แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม น.ส. 3 ก. ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น แต่หากไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานย่อมตกไปและ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งหกบุกรุกที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ทั้งสองครอบครอง แต่นำสืบโดยมีเพียงคำเบิกความลอย ๆ  สำหรับใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานว่าโจทก์ทั้งสองเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมานั้น ก็เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเสียภาษีในที่ดิน มิใช่หลักฐานอันแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดิน พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3735/2545

          แบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เป็นเพียงเอกสารราชการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้นขณะมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) มิใช่หลักฐานอันแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเมื่อซื้อมาจากผู้อื่น

          คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาท โดยมิได้แบ่งแยกเนื้อที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุก เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)

          โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากที่ดินบางส่วนของที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) และส่งมอบที่ดินดังกล่าวในสภาพเรียบร้อยคืนแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าเสียหายในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ต่อเดือน พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี จากต้นเงิน ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งหกจะส่งมอบที่ดินในสภาพเรียบร้อยคืนแก่โจทก์

          จำเลยทั้งหกให้การว่า? โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี
          จำเลยทั้งหกอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คิดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายปี ในอัตราไร่ละ 500 บาท ต่อปี โดยไม่มีดอกเบี้ย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์ที่ 1 มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2376 เลขที่ 2381 เลขที่ 2383 เลขที่ 2385 โจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2380 เลขที่ 2382 เลขที่ 2384 เลขที่ 2379 จำเลยทั้งหกได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวบางส่วนรวมเนื้อที่ 138 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา ตามแผนที่พิพาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ว่า โจทก์ทั้งสองมีสิทธิครอบครองใน ที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินตาม น.ส. 3 ก. ที่พิพาทมาจากผู้มีชื่อตามแบบบันทึก การสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์แล้ว โจทก์ทั้งสองเข้าทำประโยชน์ปลูกมันสำปะหลังบางส่วน กับให้ผู้อื่น เช่าบางส่วน โจทก์ทั้งสองเสียภาษีบำรุงท้องที่ติดต่อมาจากเจ้าของเดิม ในการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสองให้นายสมศักดิ์ บุญชื่น เป็นผู้ดูแล โจทก์ทั้งสองทราบว่าจำเลยทั้งหกเข้าไปแผ้วถางและปลูกมันสำปะหลังในที่ดินพิพาทเมื่อเดือนธันวาคม 2534 จึงไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรตำบลห้วยงู ส่วนจำเลยทั้งหกนำสืบว่า จำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยร่วมกันจับจองแผ้วถางตั้งแต่ปี 2500 แล้วทำประโยชน์ปลูกมันสำปะหลัง กล้วย ฟักทอง ข้าวโพด และครอบครองอย่างสงบโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งหกไม่เคยเห็นโจทก์ทั้งสองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสองไม่เคยนำเจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกไม่เคยทราบว่าโจทก์ทั้งสองนำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า มีได้เพียงสิทธิครอบครอง แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม น.ส. 3 ก. โดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าโจทก์มีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 แต่หากไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานดังกล่าวย่อมตกไปและ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งหกบุกรุกที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ทั้งสองครอบครอง แต่นำสืบโดยมีเพียงคำเบิกความลอย ๆ ของตัวโจทก์ทั้งสองอ้างว่าเมื่อซื้อที่ดินพิพาทจาก ผู้มีชื่อ โจทก์ทั้งสองได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ โดยไม่มีผู้ที่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนโอนขายแก่โจทก์ทั้งสอง หรือผู้เช่าที่ดินพิพาท หรือผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์มาเบิกความสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ทั้งสอง และแม้กระทั่ง นายสมศักดิ์ บุญชื่น ที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ดูแลที่ดิน โจทก์ทั้งสองก็ไม่นำมาเบิกความสนับสนุน สำหรับใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานว่าโจทก์ทั้งสองเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมานั้น ก็เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเสียภาษีในที่ดิน มิใช่หลักฐานอันแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดิน ส่วนแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้น ก็เพียงรับฟังได้ว่าเป็นเอกสารราชการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้นขณะมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เมื่อปี 2522 ทั้งสิ้น จึงมิใช่หลักฐานอันแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเมื่อซื้อมาจากผู้มีชื่อแล้วเช่นกัน ส่วนฝ่ายจำเลย ทั้งหกนั้น นอกจากจำเลยทั้งหกอ้างตัวเองเบิกความเป็นพยานแล้วยังมีนายต๊ะ มหาวงษ์ นายชูชาติ บุญชื่น นายพลั้ง สุขสำราญหรือสดทิม นายเสียน หนูตะเภา และนายทองคำ บุญชื่น เบิกความเป็นพยานสนับสนุนว่า จำเลยทั้งหก ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมากว่า 30 ปี โจทก์ทั้งสองไม่เคยทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่เคยนำ เจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ดังนี้พยานหลักฐานของจำเลยทั้งหกจึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสอง ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ฟังขึ้น และเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ ทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทโดยมิได้แบ่งแยกเนื้อที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุก ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลยทั้งหก โดยกำหนดค่าทนายความรวม 10,000 บาท สำหรับค่าธรรมเนียมศาลที่จำเลยทั้งหกได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่าง คนอนาถานั้น ให้โจทก์ทั้งสองนำมาชำระต่อศาลในนามของจำเลยทั้งหก.

( โนรี จันทร์ทร - พินิจ เพชรรุ่ง - ทวีวัฒน์ แดงทองดี )

ศาลจังหวัดชัยนาท - นายชวลิต ช่างสลัก
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 - นายบุญศักดิ์ คงฤทธิแสง

             




ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์

เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกลุกล้ำ, อำเนาจฟ้องเพิกถอน
วิธีการแบ่งทรัพย์สินที่มีเจ้าของหลายคนร่วมกัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
คำว่า "สุจริต"คือเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง
ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมาย
ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
เจ้าของรวมจำหน่ายส่วนของตน | ความยินยอมจากภริยา
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ความเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคาดหมาย | เหตุอันควร
ใบจอง (น.ส. 2) แย่งการครอบครองได้หรือไม่?