
วิธีการแบ่งทรัพย์สินที่มีเจ้าของหลายคนร่วมกัน
-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) -ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 วิธีการแบ่งทรัพย์สินที่มีเจ้าของหลายคนร่วมกัน กฎหมายกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินอันมีเจ้าของหลายคนไว้คือ 1. แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเองก่อน 2. เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง 3. ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดและ ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง หรือตามส่วนของเจ้าของรวม ในคดีนี้การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในทันทีนั้นไม่ถูกต้องศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แม้ว่าเจ้าของรวมในบ้านพร้อมที่ดินมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกให้แบ่งกันได้ก็ตาม แต่การเรียกให้แบ่งก็ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ แล้วอย่างไรที่จะถือว่าไม่เป็นโอกาสอันควร ศาลยกตัวอย่างในคดีนี้ว่า ที่ดินแปลงพิพาทโจทก์ฟ้องขอให้แบ่ง จำเลยอ้างว่าที่ดินเป็นที่ตั้งของนิติบุคคลที่มีโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นว่า ได้เลิกกิจการไปแล้วและจำเลยได้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวนั้นข้ออ้างของจำเลยฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6781/2545 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การแบ่งทรัพย์สินในเวลานั้นจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมคนอื่น การที่โจทก์และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โดย หจก. อ. ที่มีโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนและได้เลิกกิจการไปแล้วเปิดดำเนินกิจการอยู่ในอาคารบนที่ดินทั้งโจทก์และจำเลยมีปัญหากันถึงขนาดจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา โจทก์จึงมิได้เข้าไปในที่ดินและอาคารพิพาทอีก แม้จะปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินและอาคารพิพาท แต่ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียว มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวจะฟังว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในทันทีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ได้บัญญัติกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยให้จำเลยแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง มาตรา 1364 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินโฉนดเลขที่ 7036 ตำบลท่าผา (บางพัง)อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พร้อมอาคารเลขที่ 104 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี บนที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยฎีกา พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 7036 ตำบลท่านา (บางพัง) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พร้อมอาคารเลขที่ 104 ที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งโดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2551) รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ การที่สามีไปมีเมียน้อยและภริยารู้แล้วมาฟ้องภายหลังเมื่อพ้น 1 ปี จะถือว่าสิทธิฟ้องหย่า หรือฟ้องเรียกค่าทดแทนตามกฎหมายระงับไปหรือไม่? การที่สามีไปมีหญิงอื่นและอยู่กินฉันสามีภริยาหรืออุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นตลอดมาเกิน 1 ปีอันเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องนั้นหมายความว่าอย่างไร? พฤติการณ์ที่ศาลจะพิจารณาว่า ฝ่ายบิดา หรือ มารดา ควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
|