ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกลุกล้ำ, อำเนาจฟ้องเพิกถอน

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1 

การเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกลุกล้ำ, อำเนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม

เจ้าพนักงานที่ดิน, รังวัดที่ดินตามแนวเขตนำชี้, เจ้าของที่ดินข้างเคียง, ระวังแนวเขต
การที่เจ้าของที่ดินข้างเคียงไม่ได้ไประวังแนวเขตเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินไปตามแนวเขตที่นำชี้ ปัญหาว่ามีผลผูกพันให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงต้องยอมรับแนวเขตตามที่ผู้ขอรังวัดนำชี้หรือไม่ ศาลเห็นว่าที่ดินมีโฉนดหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การจะเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมต้องอยู่ในบทบังคับของกฎหมาย การที่ไม่ได้ไประวังแนวเขตของตนจนถูกผู้นำรังวัดชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของตนนั้นจึงเป็นเพียงการสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ตนแต่ไม่เป็นเหตุให้ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2554

          โจทก์เพียงแต่ไม่ได้ไประวังแนวเขต เป็นเหตุให้ถูกผู้นำรังวัดชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินมีโฉนดส่วนของโจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดตามที่ถูกนำชี้และทำรูปแผนที่ในโฉนดรุกล้ำเข้าไปทับรูปแผนที่ในโฉนดของโจทก์เป็นเพียงความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์และโจทก์อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ไม่เป็นเหตุถึงขนาดทำให้โจทก์เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกรุกล้ำหรือไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินและแก้ไขรูปแผนที่ในที่ดินที่ถูกรุกล้ำ

          กรมที่ดินจำเลยที่ 2 ออกรูปแผนที่โฉนดของจำเลยที่ 1 รุกล้ำที่ดินโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการแก้รูปแผนที่ในโฉนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้

          กำหนดระยะเวลา 90 วัน ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาในกรณีที่คู่กรณีเข้าไปรับการไกล่เกลี่ยจากเจ้าพนักงานที่ดินและหากไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานที่ดินก็ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน หากไม่ไปยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาก็ให้ถือว่าผู้ขอรังวัดสอบเขตไม่ประสงค์ที่จะให้มีการรังวัดสอบเขตต่อไป แต่หากไปยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอฟังคำวินิจฉัยของศาลเพื่อดำเนินการต่อไปจึงไม่ใช่กำหนดอายุความในการฟ้องคดี

          โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินและให้แก้ไขรูปแผนที่โฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปบังคับคือมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 28692 เนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา โดยที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 และโฉนดเลขที่ 28669 ดังกล่าว อยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 28659 ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2536 จำเลยที่ 1 ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง ทำการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 และนำพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทำการวัดสอบเขตรุกล้ำที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 28692 เนื้อที่ 27 ตารางวา พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้ทำการแก้รูปแผนที่ตลอดจนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ให้มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น โดยทับที่ดินโฉนดเลขที่ 28692 ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตรงต่อความจริง ทำให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 28692 ของโจทก์เนื้อที่ขาดหายไป 27 ตารางวา ต่อมาวันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่ดินของโจทก์จำนวน 27 ตารางวา รวมอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการจดทะเบียนโอนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์คัดค้านต่อจำเลยทั้งสี่แล้ว วันที่ 9 ตุลาคม 2541 โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 28692 ของโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 28692 ของโจทก์ เนื้อที่ 27 ตารางวาจริง โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ในส่วนที่ดินของโจทก์ตามคำขอลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 ของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมกันแก้ไขรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 28669 ให้เป็นไปตามความเป็นจริง โดยหักเนื้อที่ที่ดินในส่วนของโจทก์ออกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวหากจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ เนื้อที่ 27 ตารางวา ในอัตราเดือนละ 3,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวออกไป และห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 3 รวมทั้งบริวารขัดขวางการใช้ที่ดินในส่วนดังกล่าวของโจทก์

          จำเลยที่ 1 ให้การว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 28669, 28659 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จริง โดยจำเลยที่ 1 ซื้อมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่โจทก์เองกลับรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ดินข้างเคียงฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 28869 ของจำเลยที่ 1 แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รุกล้ำที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกของที่ดินโฉนดเลขที่ 29692 ที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ จำเลยที่ 1 อ่านฟ้องแล้วไม่ทราบว่าที่ดินแปลงไหนเป็นที่ดินพิพาท ส่วนที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท โดยโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่า โจทก์เสียหายอย่างไร และจำเลยที่ 1 กับพวกต้องรับผิดในฐานความผิดใด หากฟังว่าจำเลยที่ 1 ละเมิดบุกรุกฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 2 และที่ 4 ให้การทำนองเดียวกันว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 เนื่องจากจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการสั่งแก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพราะประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 69 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินในท้องที่โดยเฉพาะและโจทก์จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว คือ โจทก์ต้องยื่นคำขอสอบเขตที่ดินเสียก่อน หากที่ดินข้างเคียงคัดค้านแนวเขต เจ้าพนักงานที่ดินประจำท้องที่ก็มีอำนาจสอบสวนไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้คู่กรณีฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ถ้าไม่ฟ้องต่อศาลภายในกำหนด ให้ถือว่าผู้ขอหรือโจทก์ไม่ประสงค์จะสอบเขตที่ดินต่อไป เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2541 โจทก์ยื่นคำขอสอบเขต เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปางออกไปรังวัดสอบเขตในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 และเสร็จการรังวัดสอบเขตเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2542 ขณะรังวัดเจ้าของที่ดินข้างเคียงคัดค้านแนวเขต โดยอ้างว่าโจทก์นำรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 27 ตารางวา ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้โอนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 ก่อนจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จำเลยที่ 1 กับพวกขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินออกจากกันในวันที่ 9 ถึง 14 มีนาคม 2537 และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงไประวังแนวเขตและรับรองแนวเขตทางไปรษณีย์ แต่โจทก์ก็มิได้คัดค้านแต่ประการใด เจ้าพนักงาที่ดินจังหวัดลำปางจึงได้แบ่งแยกโฉนดให้จำเลยที่ 1 กับพวกไปตามขอ แล้วจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช้ร่วมกันและตกเป็นของแผ่นดินโดยมิต้องโอนและห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางได้มีหนังสือให้โจทก์และคู่กรณีทั้งหมดไปทำการสอบสวนไกล่เกลี่ยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม 2542 ถึงวันนัดโจทก์ก็ไม่ได้ไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 เป็นระยะเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ฟ้องภายใน 90 วัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ตลอดจนไม่อาจมีคำขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 แก้ไขรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 28669 และให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์มิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทในอัตราเดือนละ 3,000 บาท ได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์และฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เนื่องจากโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 เสียเปรียบไม่อาจต่อสู้คดีได้ ขอให้ยกฟ้อง

          จำเลยที่ 3 ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 เนื่องจากจำเลยที่ 3 ไม่ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ไม่ได้รับหรือเข้าไปเกี่ยวข้องดำเนินการอย่างไร การบรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมตกลงด้วย ทั้งที่ดินที่โจทก์ฟ้องไม่ทราบว่าอยู่ในเขตเทศบาลของจำเลยที่ 3 หรือไม่ จำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินของโจทก์ตามฟ้องแต่อย่างใด และที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการใดๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาของจำเลยที่ 3 ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ในส่วนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 27 ตารางวา ฉบับลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 และให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 แก้ไขรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 28669 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยให้หักเนื้อที่ที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 1,500 บาท คำขอนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณืภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท กับห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 3 และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 28692 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 โดยแต่เดิมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของนางบัวคำและในปี 2531 นางบัวคำนำเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางรังวัดสอบเขตที่ดินของตนแล้วเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำรูปที่ดินเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2531 ปรากฏตามใบต่อรูปแผนที่ท้ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 แล้วต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2531 นางบัวคำจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์ สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 เป็นที่ดินข้างเคียงของที่ดินโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนางสม ต่อมาเมื่อปี 2536 นางสมจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวก จำเลยที่ 1 มีอาชีพทำธุรกิจจัดสรรที่ดินปลูกบ้านขาย จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 กับที่ดินข้างเคียงอีก 1 แปลง คือที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 28659 แล้วเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2537 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางให้แบ่งแยกที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นหลายแปลงเพื่อจัดสรรและปลูกบ้านขายบุคคลภายนอก ในการรังวัดเพื่อแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือแจ้งโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตโดยส่งหนังสือไปที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านของโจทก์แล้ว แต่ถึงวันนัดรังวัดและระวังแนวเขต โจทก์ไม่มาระวังแนวเขตเจ้าพนักงานรังวัดจึงรังวัดแนวเขตไปตามที่จำเลยที่ 1 นำชี้ และเมื่อเดือนพฤษภาคม 2537 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางจึงได้แบ่งแยกโฉนดให้จำเลยที่ 1 ไปตามคำขอ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จำเลยที่ 1 โอนที่ดินบางส่วนของที่ดินในโฉนดเลขที่ 28669 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2541 โจทก์ยื่นคำขอสอบเขตที่ดินของโจทก์ ในเดือนพฤศจิกายน 2541 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางออกไปรังวัดสอบเขต ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงโฉนดเลขที่ 28669 ที่มาระวังแนวเขตคัดค้านการนำชี้แนวเขตของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 28669 ดังกล่าว คิดเป็นเนื้อที่ 27 ตารางวา ซึ่งทั้งหมดจำเลยที่ 1 โอนยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปดังกล่าวแล้ว เมื่อมีข้อขัดแย้งกันดังกล่าวเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปางจึงนัดคู่กรณีคือโจทก์และจำเลยที่ 1 มาไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาท โดยนัดในวันที่ 10 มีนาคม 2542 แต่เมื่อถึงวันนัดโจทก์ไม่ได้ไปตามนัดเพื่อให้เจ้าหน้าที่สอบสวนไกล่เกลี่ย ต่อมาวันที่ 3 กันยายน 2542 โจทก์นำคดีนี้มาฟ้อง ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีตามที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายหลายประการ ซึ่งเพื่อความสะดวกและชัดเจนเห็นสมควรวินิจฉัยในแต่ละประเด็นปัญหาไปตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

          1. การที่โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงไม่ได้ไประวังแนวเขตเมื่อปี 2537 เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินไปตามแนวเขตที่จำเลยที่ 1 นำชี้นั้นมีผลผูกพันให้โจทก์ต้องยอมรับแนวเขตตามที่จำเลยที่ 1 นำชี้หรือไม่ ข้อนี้เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การที่โจทก์จะเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปย่อมต้องอยู่ในบทบังคับของกฎหมายที่ระบุไว้โดยตรงและชัดแจ้ง การที่โจทก์เพียงแต่ไม่ได้ไประวังแนวเขตของตน จนเป็นเหตุให้ถูกผู้นำรังวัดชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของโจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดตามที่ถูกนำชี้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์และทำรูปแผนที่ในโฉนดรุกล้ำเข้าไปทับรูปแผนที่ในโฉนดของโจทก์ จึงเป็นเพียงการสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่โจทก์และโจทก์อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลเท่านั้นหาใช่เป็นเหตุถึงขนาดทำให้โจทก์เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกรุกล้ำไปหรือไม่มีอำนาจฟ้องแต่อย่างใด ฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          2. ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 27 ตารางวา อยู่ในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 นำชี้รุกล้ำเข้าไปหรือไม่ ข้อนี้ปรากฏตามรูปที่ดินในใบต่อโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ปรากฎโดยชัดแจ้งว่า ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินจากนางบัวคำ รูปที่ดินเห็นได้ชัดเจนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่บุคคลทั่วไปต้องรับความมีอยู่จริงและความถูกต้อง จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินข้างเคียงกับที่ดินโจทก์เมื่อปี 2536 จึงต้องยอมรับความมีอยู่และถูกต้องของที่ดินโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบปฏิเสธความถูกต้องของรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินของโจทก์ดังกล่าว ดังนี้ พยานหลักฐานฝ่ายโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ดีกว่าพยานหลักฐานฝ่ายจำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 นำชี้การรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดของโจทก์เนื้อที่ 27 ตารางวา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          3. การที่จำเลยที่ 2 ออกรูปแผนที่โฉนดของจำเลยที่ 1 รุกล้ำที่ดินโจทก์ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้แก้รูปแผนที่ในโฉนดของจำเลยที่ 1 หรือไม่ ข้อนี้เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการแก้รูปแผนที่ในโฉนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          4. การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินส่วนของโจทก์เป็นทางสาธารณประโยชน์อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 หรือไม่ ข้อนี้เห็นว่า เมื่อที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 3 โจทก์ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิโดยจำเลยที่ 3 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ ฎีกาจำเลยที่ 3 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          5. การที่โจทก์ขอรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดินของโจทก์แล้วต่อมาเมื่อมีข้อขัดแย้งกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินนัดไกล่เกลี่ย โจทก์ไม่ไปเจรจาไกล่เกลี่ยตามนัดเสียก่อน แต่กลับนำคดีนี้มาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน ถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ข้อนี้เห็นว่า การเข้าไกล่เกลี่ยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์เลือกที่จะไม่เข้ารับการไกล่เกลี่ย ย่อมไม่ถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับจากวันนัดไกล่เกลี่ยแล้วนั้น เห็นว่า กำหนดระยะเวลา 90 วัน ที่ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 69 ทวิ วรรคห้ากำหนดไว้เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาในกรณีที่คู่กรณีเข้าไปรับการไกล่เกลี่ยจากเจ้าพนักงานที่ดินและหากไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานที่ดินก็ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน หากไม่ไปยื่นฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าผู้ขอรังวัดสอบเขตไม่ประสงค์ที่จะให้มีการรังวัดสอบเขตต่อไปแต่หากไปยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 90 วันดังกล่าว ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอฟังคำวินิจฉัยของศาลเพื่อดำเนินการต่อไประยะเวลาตามประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กำหนดอายุความในการฟ้องคดี คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินและให้แก้ไขรูปแผนที่โฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปบังคับคือมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
( พิศาล อัยยะวรากูล - ประยูร ณ ระนอง - อดิศักดิ์ ปัตรวลี )


 




ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์

วิธีการแบ่งทรัพย์สินที่มีเจ้าของหลายคนร่วมกัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
คำว่า "สุจริต"คือเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง
ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่-หลักฐานผู้ครอบครองที่ดิน
ความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมาย
ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
เจ้าของรวมจำหน่ายส่วนของตน | ความยินยอมจากภริยา
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ความเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคาดหมาย | เหตุอันควร
ใบจอง (น.ส. 2) แย่งการครอบครองได้หรือไม่?