ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




คำว่า "สุจริต"คือเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1 

คำว่า "สุจริต"คือเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง

ปลูกสร้างบ้านโดยทราบอยู่ว่าเป็นที่ดินของผู้อื่นที่เขาอนุญาตให้ปลูกสร้าง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต คำว่า "สุจริต" มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9526/2544

          คำว่า "สุจริต" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 นั้น มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ เมื่อจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. โดยทราบอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. และได้ขออนุญาต ส. ปลูกบ้าน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยจะต่อเติมบ้านในภายหลังอีกโดย ส. และโจทก์ไม่ห้ามปรามขัดขวางก็จะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาของ ส. รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. และโจทก์แต่อย่างใดตามมาตรา 146

          โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1435 ของโจทก์ทั้งสี่ หากไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เสร็จสิ้น

          จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และให้จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งานตามราคาตลาด 200,000 บาทหรือให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ค่าแห่งที่ดินเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 1,000,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง

          โจทก์ทั้งสี่ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1435 ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ของโจทก์ทั้งสี่ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เดือนละ 5,000 บาทนับแต่วันฟ้อง (วันที่ 13มีนาคม 2539) จนกว่าจำเลยทั้งสองจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว คำขอนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องแย้ง

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 13มีนาคม 2539) จนกว่าจำเลยทั้งสองจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "... ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า นางสาวเลี่ยม อาจเจริญ ได้รับนายสวงศ์ อาจเจริญและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหลานมาอุปการะเลี้ยงดูจนจำเลยที่ 1 แต่งงานกับจำเลยที่ 2 แยกบ้านจากนางสาวเลี่ยมไปอยู่บ้านจำเลยที่ 2 ส่วนนายสวงศ์ยังอยู่ร่วมบ้านกับนางสาวเลี่ยมจนนางสาวเลี่ยมถึงแก่ความตายในปี 2519 เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 1435 ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรามีชื่อนางสาวเลี่ยมถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2488 นางสาวเลี่ยมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายสวงศ์ นายสวงศ์เป็นสามีโจทก์ที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 นายสวงศ์ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2532 วันที่ 22 ตุลาคม 2533 โจทก์ทั้งสี่รับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวมาเป็นของตน เมื่อปี 2516 จำเลยที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลเสม็ดใต้จึงได้ขอปลูกสร้างบ้านเลขที่ 1/1 ตำบลเสม็ดใต้ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ1 ไร่ 1 งาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1435 วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1832 อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทจากนายสวงศ์แต่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายกันครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ววันที่ 4 กันยายน 2533 โจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทของนายสวงศ์ยื่นคำคัดค้านตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 896/2535 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 อยู่ในที่ดินพิพาทด้วยการอาศัยสิทธิของนายสวงศ์ปลูกบ้านและทำกินการที่จำเลยที่ 1 มายื่นคำร้องขอในวันที่ 12 กรกฎาคม 2533 แม้จะเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนต่อโจทก์ทั้งสี่ต่อมาก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ถึง 10 ปี จำเลยที่ 1 หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ พิพากษายกคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2538

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต โดยได้รับการยกให้จากนางสาวเลี่ยม ทั้งการต่อเติมโรงเรือนที่กระทำขึ้นภายหลังก็ด้วยความต้องการของจำเลยทั้งสองเองนายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่ไม่เคยขัดขวางว่ากล่าวจำเลยทั้งสอง การที่นายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่เพิกเฉยไม่แสดงตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่แรก จึงถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อในการครอบครองที่ดิน และเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสี่ต้องพิสูจน์ว่าตนมิได้ประมาทเลินเล่อ ซึ่งโจทก์ทั้งสี่ก็หามีหลักฐานเข้าสืบให้เห็นเช่นนั้นไม่กรณีต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 โจทก์ทั้งสี่ต้องใช้ค่าที่ดินพิพาทที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลยทั้งสอง หรือต้องขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง" และวรรคสองบัญญัติว่า "แต่ถ้าเจ้าของที่ดินแสดงได้ว่ามิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้" ซึ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตว่าจะต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไร คำว่า "สุจริต" ตามมาตรา 1310 นั้นมีความหมายว่า ผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นได้โดยชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2538 ซึ่งมีผลถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสวงศ์ ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความกับโจทก์ทั้งสี่ในคดีดังกล่าว จึงผูกพันจำเลยที่ 1 อันทำให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยทราบอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของนายสวงศ์และได้ขออนุญาตนายสวงศ์ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เข้าอยู่อาศัยในบ้านกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริตและบังคับให้โจทก์ทั้งสี่ทายาทของนายสวงศ์รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะการที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสวงศ์นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของนายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่แต่อย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 กรณีจึงไม่อาจที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคหนึ่งได้ดังเช่นที่จำเลยทั้งสองฎีกา ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่อาจอ้างได้ว่า นายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่ประมาทเลินเล่อที่ไม่ห้ามปรามขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านเพิ่มเติมอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ต้องรับเอาบ้านทั้งหมดไว้แล้วใช้ราคาหรือต้องให้จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทตามราคาในท้องตลาดหากจำเลยทั้งสองต้องใช้จ่ายในการรื้อถอนบ้านไปมากเกินสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสองเพราะสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินจะเกิดขึ้นได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีได้เฉพาะกรณีที่ผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินได้กระทำไปโดยสุจริตเท่านั้นเช่นกัน ดังนั้น แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่จะฟังได้ว่านายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่ประมาทเลินเล่อที่ไม่ห้ามปรามขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาทดังเช่นจำเลยทั้งสองฎีกา ก็ไม่มีผลที่จำเลยทั้งสองจะอ้างเอาประโยชน์ตามบทบัญญัติ มาตรา 1310 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายนั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท โดยโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฎีกา จึงถือว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสอง การที่จำเลยทั้งสองฎีกาประเด็นนี้อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้"

          พิพากษายืน

( พินิจ เพชรรุ่ง - โนรี จันทร์ทร - ทวีวัฒน์ แดงทองดี )

ป.พ.พ. มาตรา 146, 1310

 มาตรา 146   ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

 มาตรา 1310 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
--แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้

 

 




ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์

เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกลุกล้ำ, อำเนาจฟ้องเพิกถอน
วิธีการแบ่งทรัพย์สินที่มีเจ้าของหลายคนร่วมกัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่-หลักฐานผู้ครอบครองที่ดิน
ความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมาย
ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
เจ้าของรวมจำหน่ายส่วนของตน | ความยินยอมจากภริยา
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ความเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคาดหมาย | เหตุอันควร
ใบจอง (น.ส. 2) แย่งการครอบครองได้หรือไม่?