ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1                   

ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร

การปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสองที่ปลูกสร้างจนเกือบชิดหรือติดกับตัว อาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ทั้งสี่ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือด ร้อนอย่างแสนสาหัสมาโดยตลอด กล่าวคือระหว่างปลูกสร้างอาคารได้มีการลงเสาเข็มพื้นฐานอาคารโดยไม่ถูกวิธี และปลอดภัยพอ เป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นผนังห้อง เสา คาน เกิดรอยแตกร้าวโดยทั่วไป อาคารสูงของจำเลยทั้งสองปิดบังช่องของแสงและทิศทางลมซึ่งส่องและระบายเข้า ออกในส่วนทางด้านหลังของทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ อีกทั้งระหว่างก่อสร้างได้ก่อให้เกิดมลภาวะซึ่งความเดือดร้อนเสียหายเช่นนี้ ไม่เคยเกิดและมีมาก่อน โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจอยู่อาศัยในทาวน์เฮาส์ของตนได้อย่างเป็นปกติสุข มีผลต่อความรู้สึกด้านจิตใจและความเป็นอยู่ รวมทั้งสุขภาพของคนในครอบครัวของโจทก์ทั้งสี่อย่างแสนสาหัส ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ทั้งสี่ยังได้สรุปความเสียหายก่อนที่มีคำขอท้ายฟ้องด้วย ว่า "การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งสี่ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน สภาพความเป็นอยู่ สภาพจิตใจอย่างแสนสาหัส" ดังนี้ เห็นว่า แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จะมิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งระบุค่าทดแทน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้สิทธิของตนในการปลูกสร้างอาคารสูงเป็นเหตุให้ โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ คือทาวน์เฮาส์ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มาด้วย ก็ตาม ก็หาได้วินิจฉัยเกินคำขอไม่

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2548

แม้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียว กันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัว และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคน การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท และจำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย

คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่ กับให้ร่วมกันชำระเงินค่าขาดรายได้ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 เดือนละ 7,000 บาท โจทก์ที่ 2 เดือนละ 8,000 บาท และโจทก์ที่ 4 เดือนละ 15,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะระงับหรือหยุดการก่อสร้างอาคาร และรื้อถอนอาคารเฉพาะในด้านที่อยู่ชิดกับอาคารของโจทก์ทั้งสี่ออกไปทั้งหมด และให้เว้นระยะการก่อสร้างห่างจากแนวเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต่ำ กว่า 2 เมตร

          จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ในต้นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องให้โจทก์แต่ละรายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระ เสร็จกับให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท คำขออื่นให้ยก

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 130,000 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 150,000 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 110,000 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ทั้งสี่ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสี่ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 5,000 บาท คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 2,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาฐานละเมิดโดยยก ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คือทาวน์เฮาส์สองชั้นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 51775, 51776, 51777 และ 51779 ตามลำดับ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ สูง 7 ชั้น ลงบนที่ดินด้านหลังทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าว โดยทำการก่อสร้างไม่ถูกต้องทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ เป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมแซมทาวน์เฮาส์หลังละ 150,000 บาท ค่าเสื่อมราคาหลังละ 500,000 บาท และค่าที่ทำให้โจทก์ทั้งสี่มีรายได้ตกต่ำลดน้อยลงจากเดิมเดือนละ 7,000 บาท 8,000 บาท 7,000 บาท และ 15,000 บาท ตามลำดับ คิดตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสองระงับหรือหยุดการก่อสร้าง และรื้อถอนอาคารเฉพาะที่อยู่ติดกับทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสองออกไปทั้งหมด และให้เว้นระยะการก่อสร้างห่างจากแนวเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต่ำ กว่า 2 เมตร ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่จะร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียว กันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าว ข้างต้นแล้ว เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสี่แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวที่ถูกจำเลยทั้งสอง ร่วมกันทำละเมิด และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคน ดังนั้น การพิจารณาทุนทรัพย์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 130,000 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 150,000 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 110,000 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกินคนละ 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหายเนื่องจากการซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของ โจทก์ทั้งสี่นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คดีคงมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเพียงข้อ เดียวว่าที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 5 พิพากษากำหนดค่าทดแทนอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารสูง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่เจ้าของทาวน์เฮาส์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกิน ที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ ในข้อนี้เห็นว่า แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชด ใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มาโดยชัดแจ้งก็ตาม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสองที่ปลูกสร้างจน เกือบชิดหรือติดกับตัวอาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ทั้งสี่ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือด ร้อนอย่างแสนสาหัสมาโดยตลอด กล่าวคือระหว่างปลูกสร้างอาคารได้มีการลงเสาเข็มพื้นฐานอาคารโดยไม่ถูกวิธี และปลอดภัยพอ เป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นผนังห้อง เสา คาน เกิดรอยแตกร้าวโดยทั่วไป อาคารสูงของจำเลยทั้งสองปิดบังช่องของแสงและทิศทางลมซึ่งส่องและระบายเข้า ออกในส่วนทางด้านหลังของทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ อีกทั้งระหว่างก่อสร้างได้ก่อให้เกิดมลภาวะซึ่งความเดือดร้อนเสียหายเช่นนี้ ไม่เคยเกิดและมีมาก่อน โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจอยู่อาศัยในทาวน์เฮาส์ของตนได้อย่างเป็นปกติสุข มีผลต่อความรู้สึกด้านจิตใจและความเป็นอยู่ รวมทั้งสุขภาพของคนในครอบครัวของโจทก์ทั้งสี่อย่างแสนสาหัส ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ทั้งสี่ยังได้สรุปความเสียหายก่อนที่มีคำขอท้ายฟ้องด้วย ว่า "การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งสี่ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน สภาพความเป็นอยู่ สภาพจิตใจอย่างแสนสาหัส?" ดังนี้ เห็นว่า แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จะมิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งระบุค่าทดแทน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้สิทธิของตนในการปลูกสร้างอาคารสูงเป็นเหตุให้ โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ คือทาวน์เฮาส์ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มาด้วย ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายมาดังกล่าวข้างต้น พิจารณาประกอบคำให้การที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสอง ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยทั้งสองโดยห่างจากที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตาม กฎหมายและการก่อสร้างก็ได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและมีการ ตรวจสอบแบบแปลนและสถานที่ก่อสร้างแล้ว อีกทั้งวิธีการก่อสร้างก็ทำถูกตามขั้นตอนโดยมีวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างและ อาคารที่ปลูกสร้างก็ไม่ได้บังทิศทางลมอาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ด้วย และในประการสำคัญคือศาลชั้นต้นก็ได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทเรื่องค่า เสียหายไว้เพียงกว้าง ๆ ว่าโจทก์ทั้งสี่เสียหายหรือไม่เพียงใดด้วย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่และคำให้การจำเลยทั้งสองเช่นนี้ ถือได้ว่าคดีมีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากจำเลยทั้ง สองร่วมกันใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่ง เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์คือทาวน์เฮาส์ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 ด้วย โดยถือว่ารวมอยู่ในประเด็นเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสี่ที่ศาลชั้นต้นชี้ สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทไว้ในประเด็นพิพาทข้อ 2 นั่นเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 หาได้วินิจฉัยเกินคำขอไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยค่าเสียหายนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทั้งสองในปัญหาข้อกฎหมายข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสี่รวมเป็นเงิน 540,000 บาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสี่ไม่เกิน 75,000 บาท ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้ง สองไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เท่านั้น และเมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับประเด็นค่าเสียหายจาก การซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดให้แก่โจทก์ทั้งสี่จำนวน 340,000 บาท ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาส่วน นี้ให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาที่จำเลยทั้งสองจะต้องเสียค่าขึ้นศาลจึงมี เพียง 125,000 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 3,125 บาท แต่จำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์จำนวน 540,000 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 13,500 บาท อันเป็นการเสียเงินค่าขึ้นศาลฎีกาเกินมาเป็นเงิน 10,375 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสอง ด้วย


     พิพากษายืน กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาจำนวน 3,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสี่
          ( ธานิศ เกศวพิทักษ์ - วิชัย วิวิตเสวี - เกรียงชัย จึงจตุรพิธ )
 

 

 




ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์

เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกลุกล้ำ, อำเนาจฟ้องเพิกถอน
วิธีการแบ่งทรัพย์สินที่มีเจ้าของหลายคนร่วมกัน
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
คำว่า "สุจริต"คือเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง
ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่-หลักฐานผู้ครอบครองที่ดิน
ความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมาย
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
เจ้าของรวมจำหน่ายส่วนของตน | ความยินยอมจากภริยา
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ความเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคาดหมาย | เหตุอันควร
ใบจอง (น.ส. 2) แย่งการครอบครองได้หรือไม่?