ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ห้ามทำการเป็นทนายความ

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ห้ามทำการเป็นทนายความ
แม้จำเลยมีเจตนาจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่แรกก็ตาม เห็นว่า ถ้าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะทำฟ้องอุทธรณ์ด้วยตนเอง นำมายื่นต่อศาลย่อมทำได้ไม่มีอะไรห้าม แต่การที่จำเลย ให้ผู้ต้องขังชายบุญรอดซึ่งต้องขังอยู่ในเรือนจำทำแทนให้ โดยผู้ต้องขังชายบุญรอดลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการให้เห็นได้อยู่ในตัวตามถ้อยคำ กล่าวคือว่าอุทธรณ์ของจำเลย ดังกล่าวมีผู้ต้องขังชายบุญรอดเป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง" นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33

           คำพิพากษาฎีกาที่ 3175/2545

การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวความให้ผู้ต้องขังชาย บ. ทำฟ้องอุทธรณ์แทนให้โดยผู้ต้องขังชาย บ. ลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการเห็นได้อยู่ในตัวว่าผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง"นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน ทั้งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33ก็ระบุชัดเจนห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง... ฟ้องอุทธรณ์... ให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น ฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่งให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้จำเลยที่ 2 จะได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์และยืนยันการลงลายมือชื่อดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบกลายเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมาได้เจตนาในใจของจำเลยที่ 2 ประสงค์อย่างไรมิใช่ข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ต่อศาลก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 11 เม็ด น้ำหนัก 1.02 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 3 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังกล่าวให้แก่สายลับเป็นเงิน 180 บาท นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว ซึ่งหมดไปในการตรวจพิสูจน์ และเงินจำนวน 180 บาท ของเจ้าพนักงานที่ใช้ล่อซื้อเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 15, 57, 66, 67, 91 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 คืนเงินของกลางที่ใช้ล่อซื้อจำนวน 180 บาทแก่เจ้าของ

จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ

จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และจำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57, 91 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมเรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำคุกคนละ 5 ปี ฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำคุกคนละ 5 ปี รวมจำคุกคนละ 10 ปี กับให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำคุก 1 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 11 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1มีกำหนด 5 ปี 6 เดือน คืนเงินของกลางที่ใช้ล่อซื้อจำนวน 180 บาทแก่เจ้าของ

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อเดียวว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า แม้คดีนี้จะมีผู้ต้องขังชายบุญรอด ขันทะกันชัย ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนในท้ายอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ตาม แต่ที่จำเลยที่ 2 ให้ผู้ต้องขังชายบุญรอดเป็นผู้เขียนอุทธรณ์ให้ก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้รับการศึกษาน้อย เขียนได้เฉพาะชื่อและนามสกุลของตนเอง ไม่สามารถเขียนหรืออ่านข้อความใด ๆ ได้ และไม่ทราบว่าผู้ต้องขังชายบุญรอดได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนในท้ายอุทธรณ์ดังกล่าวด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้อุทธรณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่แรกนั้น เห็นว่า ถ้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวความจะทำฟ้องอุทธรณ์ด้วยตนเอง นำมายื่นต่อศาลย่อมทำได้ไม่มีอะไรห้าม แต่การที่จำเลยที่ 2 ให้ผู้ต้องขังชายบุญรอดซึ่งต้องขังอยู่ในเรือนจำทำแทนให้ โดยผู้ต้องขังชายบุญรอดลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการให้เห็นได้อยู่ในตัวตามถ้อยคำว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมีผู้ต้องขังชายบุญรอดเป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง" นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน เมื่อในปัจจุบันมีกฎหมายคือ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า"ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตหรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง... ฟ้องอุทธรณ์... ให้แก่บุคคลอื่น... ฯลฯ" ฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ต้องขังชายบุญรอดเป็นผู้แต่งให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเรียงให้แล้วยังเขียนให้ด้วยดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะทำขึ้นโดยผู้ซึ่งมิได้เป็นทนายความอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 จะได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์และยืนยันการลงลายมือชื่อดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องอุทธรณ์ฉบับนี้กลายเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมาได้ เจตนาในใจของจำเลยที่ 2 ประสงค์อย่างไรมิใช่ข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ต่อศาลก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 นั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(อภิชาต สุขัคคานนท์ - วัฒนชัย โชติชูตระกูล - หัสดี ไกรทองสุก)
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

มาตรา 33 ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น
 
 




ฎีกาเกี่ยวกับมรรยาทนายความ

ผู้รับมอบอำนาจเรียงหรือแต่งคำฟ้องได้-ไม่ต้องมีตั๋วทนาย
ถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความ
ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในผลคดี
ว่าความอย่างทนายความ
ทนายความละเมิดอำนาจศาล | ขาดจากเป็นทนายความ