ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความ

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความ-ละเมิดอำนาจศาล

ผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 52(2) ที่ว่าห้ามทำการเป็นทนายความ คณะกรรมการสภาทนายความมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2539 ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 43 ศาลชั้นต้นจึงออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหามาไต่สวนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาฎีกาที่ 7413/2544

ผู้ถูกกล่าวหายกข้อเท็จจริงขึ้นมาในชั้นฎีกาว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และขอให้ศาลฎีกาพิพากษาปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้พ้นผิดไปนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากลับให้การปฏิเสธในชั้นฎีกา ข้ออ้างตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การรับสารภาพและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

ผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 52(2) ที่ห้ามทำการเป็นทนายความภายในกำหนดเวลา ฉะนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาทำคำให้การให้จำเลย 1 ครั้งและว่าความในฐานะทนายความจำเลยอีก 3 ครั้งในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นสำหรับคดีนี้ จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจพึงกระทำได้เพราะผู้ถูกกล่าวหายังไม่พ้นกำหนดห้ามทำการเป็นทนายความดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเสร็จเด็ดขาดในแต่ละครั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำ กรณีเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันซึ่งต้องลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91และเมื่อความปรากฏต่อศาลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเช่นเดียวกันนี้อีกหลายคดี ศาลจึงมีอำนาจให้นับโทษของผู้ถูกกล่าวหาต่อจากคดีอื่นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 17, 69, 102 ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นถามจำเลยว่ามีทนายความมาหรือไม่ จำเลยแถลงว่า ไม่มีและต้องการทนายความศาลชั้นต้นจึงมีหนังสือขอแรงผู้ถูกกล่าวหาให้เป็นทนายความจำเลย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2541 จำเลยแต่งตั้งให้ผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความจำเลยต่อมาสภาทนายความมีหนังสือแจ้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหนองคายทราบว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2539 คณะกรรมการสภาทนายความมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2539 ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 43 ศาลชั้นต้นจึงออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหามาไต่สวนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบมาตรา 33 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ให้ลงโทษ 4 กระทงจำคุกกระทงละ 1 วัน รวมจำคุก 4 วัน ให้นับโทษจำคุกต่อจากโทษจำคุกของผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1242/2538 คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1551/2541 คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1260/2541 คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1583/2540 และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 364/2542 ของศาลชั้นต้น

            ผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์
            ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน

            ผู้ถูกกล่าวหาฎีกา
            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาประการแรกว่าการที่ผู้ถูกกล่าวหายกข้อเท็จจริงต่าง ๆ ขึ้นมาในชั้นนี้แล้วอ้างว่าไม่ถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแล้วขอให้ศาลฎีกาพิพากษาปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้พ้นผิดไปนั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหากลับให้การปฏิเสธในชั้นฎีกา ข้ออ้างตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การรับสารภาพผิดของผู้ถูกกล่าวหาฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ประการที่สองที่ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเรียงกระทงและนับโทษต่อจากคดีอื่นนั้นไม่ถูกต้อง เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 52(2) ที่ว่าห้ามทำการเป็นทนายความ ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาจะพ้นกำหนดห้ามทำการเป็นทนายความในวันที่ 23 มกราคม 2543 รายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสภาทนายความ ซึ่งเก็บอยู่ในสำนวนสารบาญเก็บอันดับที่ 9 นั้น เป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ...ให้แก่บุคคลอื่น ตามที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528มาตรา 33 บัญญัติไว้ ฉะนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหามาทำคำให้การให้จำเลย1 ครั้ง และว่าความในฐานะทนายความจำเลยอีก 3 ครั้ง ในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นสำหรับคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจพึงกระทำได้เพราะผู้ถูกกล่าวหายังไม่พ้นกำหนดห้ามทำการเป็นทนายความดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเสร็จเด็ดขาดในแต่ละครั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำ กรณีเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน ซึ่งต้องลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และเมื่อความปรากฏต่อศาลจากการรายงานของนายวิโรจน์ ธารรักษ์ ซึ่งเป็นจ่าศาลจังหวัดหนองคายว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเช่นเดียวกันนี้อีกหลายคดี ปรากฏตามบันทึกข้อความเรื่องนายสุพล ชุมแวงวาปีกระทำการเป็นทนายความในคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเก็บอยู่ในสำนวนสารบาญเก็บอันดับที่ 9 ศาลจึงมีอำนาจให้นับโทษของผู้ถูกกล่าวหาต่อจากคดีอื่นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ประการสุดท้ายที่ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความรู้กฎหมายย่อมทราบดีถึงสถานภาพในการเป็นทนายความของตน ย่อมต้องตระหนักถึงการปฏิบัติตนในศาลอันเป็นสถานที่ที่สำคัญที่ผู้ถูกกล่าวหาใช้เป็นที่ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนแต่กลับปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายและศาล พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาเช่นนี้จึงไม่มีเหตุอันควรปรานีที่จะรอการลงโทษได้ อีกทั้งยังเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงมานั้นเป็นคุณแก่ผู้ถูกกล่าวหาแล้วคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความมี 3 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือ
(3) ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ

ในกรณีประพฤติผิดมรรยาททนายความเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก ถ้าผู้มีอำนาจสั่งลงโทษตามมาตรา 66 มาตรา 67 หรือมาตรา 68 แล้วแต่กรณีเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
 




ฎีกาเกี่ยวกับมรรยาทนายความ

ผู้รับมอบอำนาจเรียงหรือแต่งคำฟ้องได้-ไม่ต้องมีตั๋วทนาย
ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในผลคดี
ว่าความอย่างทนายความ
ทนายความละเมิดอำนาจศาล | ขาดจากเป็นทนายความ
ห้ามทำการเป็นทนายความ