ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ทนายความละเมิดอำนาจศาล | ขาดจากเป็นทนายความ

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ขาดจากเป็นทนายความ

เมื่อคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาว่าความในศาลโดยไม่มีอำนาจ รวม 29 ครั้ง พิพากษาให้ลงโทษทุกกรรมรวม 29 กระทง จำคุกกระทงละ 1 วัน รวม 29 วัน

   คำพิพากษาฎีกาที่ 2174/2545

คำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 ย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 (4) ทันที แม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเพื่อให้วินิจฉัยอีกชั้นหนึ่งได้ การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33

        ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.

         คดีสืบเนื่องมาจากพนักงานอัยการจังหวัดหนองคายเป็นโจทก์ฟ้องนางสาวเสาวรส บุตรรส กับพวกรวม 3 คน เป็นจำเลย ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1583/2540 ของศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีหนังสือขอแรงทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ตั้งผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร้องเรียนต่อผู้พิพากษาในคดีของศาลชั้นต้นว่า ผู้ถูกกล่าวหาเรียกเงินค่าใช้จ่ายในการว่าความ ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงสภาทนายความให้ดำเนินคดีแก่ผู้ถูกกล่าวหาฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ สภาทนายความมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นแจ้งว่า ปัจจุบันผู้ถูกกล่าวหามิได้เป็นทนายความเนื่องจากขาดต่อใบอนุญาต ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า เมื่อคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งว่าผู้ถูกกล่าวหาขาดคุณสมบัติในการที่จะขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความแล้ว จึงให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความและผู้ถูกกล่าวหาทราบคำสั่งแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาย่อมว่าความในศาลไม่ได้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความโดยเข้าใจว่าตามพระราชบัญญัติทนายความ ฯ ผู้ถูกกล่าวหาว่าความได้ในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความไม่มีผลบังคับเพราะการอุทธรณ์คำสั่งนั้นไม่ และความเข้าใจของผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้เกิดจากความสุจริต เมื่อผู้ถูกกล่าวหาว่าความในศาลโดยไม่มีอำนาจ รวม 29 ครั้ง กรณีถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 33 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 พิพากษาให้ลงโทษทุกกรรมรวม 29 กระทง จำคุกกระทงละ 1 วัน รวม 29 วัน ให้นับโทษจำคุกต่อจากโทษจำคุกของผู้ถูกกล่าวหาในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1242/2538 คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1551/2541 และคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1260/2541 ของศาลชั้นต้น

         ผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์
         ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน

         ถูกกล่าวหาฎีกา
         ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า… พิเคราะห์แล้ว มีปัญหาตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาข้อแรกว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ เห็นว่า เมื่อคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 (4) ทันที แม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเพื่อให้วินิจฉัยอีกชั้นหนึ่งได้ แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33 ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2540 แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็ยังปฏิบัติหน้าที่ทนายความว่าความให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 และวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ตามลำดับเป็นต้นมา จนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542 จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังว่าผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจึงชอบแล้ว ฎีกาผู้ถูกกล่าวหาข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาข้อต่อมาว่า การกระทำความผิดของผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรรมเดียว และการที่ศาลให้นับโทษต่อจากคดีอื่นไม่ถูกต้อง เห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ส่วนที่ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นเนื่องจากผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจำนวนหลายคดี การที่ศาลให้นับโทษติดต่อกันจึงชอบแล้ว ฎีกาผู้ถูกกล่าวหาข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาข้อสุดท้ายขอให้ศาลรอการลงโทษ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาทราบดีว่าคณะกรรมการสภาทนายความได้มีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้วผู้ถูกกล่าวหายังฝ่าฝืนกระทำหน้าที่เป็นทนายความโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ การกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รอการลงโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหาจึงชอบแล้ว ฎีกาผู้ถูกกล่าวหาข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

                      พิพากษายืน.
             (วิรัช ลิ้มวิชัย - ทองหล่อ โฉมงาม - จิระวรรณ ศิริบุตร)

          พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

       มาตรา 43 เมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการว่า ทนายความผู้ใดเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 35 ไม่ว่าจะขาดคุณสมบัติก่อนหรือหลังจากจดทะเบียนและรับใบอนุญาต ให้ทนายความผู้นั้นพ้นสภาพการเป็นทนายความ และให้คณะกรรมการจำหน่ายชื่อทนายความผู้นั้นออกจากทะเบียนทนายความ
    (วรรคสอง)บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ทนายความผู้ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดหลังจากทนายความผู้นั้นได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตแล้ว
  (วรรคสาม)เมื่อมีการจำหน่ายชื่อทนายความออกจากทะเบียนทนายความตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 36 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด
(วรรคสี่)ให้นำบทบัญญัติมาตรา 70 มาใช้บังคับแก่การจำหน่ายชื่อทนายความออกจากทะเบียนทนายความตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

        มาตรา 35 ผู้ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต
(3) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรืออนุปริญญาจากสถาบันการศึกษาซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันการศึกษานั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(4) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่อง ในศีลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
(5) ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(6) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(7) ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
(8) ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(9) ไม่เป็นผู้มีกายพิการหรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพทนายความ
(10) ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำเว้นแต่ข้าราชการการเมือง
(11) ไม่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตตามมาตรา 71

       มาตรา 36 ภายใต้บังคับมาตรา 38 เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตแล้ว เห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติตามมาตรา 35 ให้คณะกรรมการพิจารณารับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว
   (วรรคสอง)ในกรณีที่คณะกรรมการไม่รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอคณะกรรมการต้องแสดงเหตุผลของการไม่รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตดังกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในกรณีเช่นนี้ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์การไม่รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตของสภาทนายความต่อสภานายกพิเศษได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ
(วรรคสาม)คำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด
       มาตรา 70 เมื่อมีคำสั่งอันถึงที่สุดลงโทษทนายความที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความ หรือมีคำสั่งลบชื่อทนายความออกจากทะเบียนทนายความ ให้นายทะเบียนทนายความจดแจ้งคำสั่งนั้นไว้ในทะเบียนทนายความและแจ้งคำสั่งนั้นให้ทนายความผู้ถูกกล่าวหาและผู้กล่าวหาทราบ
(วรรคสอง)ในกรณีที่คำสั่งตามวรรคหนึ่งเป็นคำสั่งห้ามทำการเป็นทนายความหรือคำสั่งลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ให้นายทะเบียนทนายความแจ้งคำสั่งนั้นให้ศาลทั่วราชอาณาจักรและเนติบัณฑิตยสภาทราบด้วย

 




ฎีกาเกี่ยวกับมรรยาทนายความ

ผู้รับมอบอำนาจเรียงหรือแต่งคำฟ้องได้-ไม่ต้องมีตั๋วทนาย
ถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความ
ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในผลคดี
ว่าความอย่างทนายความ
ห้ามทำการเป็นทนายความ