ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ขายสิทธิครอบครองและส่งมอบการครองครองที่ดิน

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ขายสิทธิครอบครองและส่งมอบการครองครองที่ดิน

จำเลยได้ขายสิทธิครอบครองและส่งมอบการครองครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อแล้วจำเลยไปจากที่ดิน ทำให้จำเลยขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมและหมดสิทธิในที่ดิน เท่ากับจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิไปขอออกโฉนดที่ดินนั่นเอง เพราะจำเลยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและยังขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมอีกด้วย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทให้ไม่ได้เข้าทำประโยชน์แต่จำเลยกลับนำสิทธิครอบครองในที่ดินไปขายและส่งมอบต่อ ๆ กันมาจนถึงบิดาโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ทองผาภูมิ บิดาของโจทก์และบริวารได้ครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน เมื่อบิดาของโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมได้รับสิทธิครอบครองในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12525/2553

          การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 แต่จำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยจำเลยได้ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ บ. ทำให้จำเลยขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และหมดสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาเมื่อ บ. ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จนเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การบรรยายฟ้องดังกล่าวเท่ากับเป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิไปออกโฉนดที่ดินพิพาทได้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 และมาตรา 12 ได้กำหนดให้ทางราชการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมที่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งสมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน แต่ภายในห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี แต่เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้ และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันเพียงแต่ราษฎรไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น แต่สามารถใช้ยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ เมื่อจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

            โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ ให้จำเลยถอนคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท หากจำเลยไม่ถอนคำขอออกโฉนดที่ดินให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          โจทก์อุทธรณ์
          ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยถึงแก่ความตาย นางสาวเฉลิมขวัญทายาทยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาต

          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          โจทก์ฎีกา

        ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 สมาชิกนิคมที่ได้รับการคัดเลือกและอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมนั้นจะต้องเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแล้วและได้เป็นสมาชิกนิคมมาเป็นเวลาเกินกว่าห้าปี ทั้งได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปและชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว จึงจะมีสิทธิได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ และสมาชิกนิคมที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ดังกล่าวสามารถนำหนังสือแสดงการทำประโยชน์ไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ โดยสมาชิกนิคมสหกรณ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ด้วยตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น สมาชิกนิคมที่ได้รับคัดเลือกจะมีสิทธิได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์เพื่อนำไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต้องเป็นสมาชิกนิคมที่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินด้วย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ต่อมาปี 2530 จำเลยได้ขายสิทธิครอบครองและส่งมอบการครองครองที่ดินพิพาทให้แก่นายบัญชาแล้วจำเลยไปจากที่ดินของนิคม ทำให้จำเลยขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมและหมดสิทธิในที่ดินพิพาท เท่ากับโจทก์ยืนยันว่าจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทนั่นเอง เพราะจำเลยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและยังขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมอีกด้วย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยทำนองว่าแม้จำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยยังเป็นสมาชิกนิคมอยู่จำเลยมีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินพิพาทได้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทให้ไม่ได้เข้าทำประโยชน์แต่จำเลยกลับนำสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไปขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่นายบัญชา และต่อมานายบัญชาได้ขายสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองให้แก่นายวิโรจน์บิดาของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ทองผาภูมิ บิดาของโจทก์และบริวารได้ครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นไม้และปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท เมื่อบิดาของโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมได้รับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีผู้ใดคัดค้านเท่ากับโจทก์ยืนยันว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทนั่นเอง แม้ว่าตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 จะมีบทบัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี แต่เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกัน เพียงแต่ราษฎรนั้นไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น แต่สามารถใช้ยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่า ที่ดินพิพาทจะต้องให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนพ้นห้าปีแล้วจึงจะสามารถโอนกันได้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย โจทก์สามารถมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทจนกระทั่งเจ้าพนักงานที่ดินต้องทำการไกล่เกลี่ยและไม่สามารถตกลงกันได้จึงแจ้งให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 ก็เพื่อให้ศาลพิจารณาพิพากษาว่าผู้ใดมีสิทธิดีกว่ากัน การที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

            พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

( สุรศักดิ์ กิตติพงษ์พัฒนา - วรพจน์ วิไลชนม์ - อนันต์ ชุมวิสูตร )

ศาลจังหวัดทองผาภูมิ - นายไพศาล ไพบูลย์วัฒนกิจ
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 - นายกอบกฤษณ์ จันทร์เจริญ

มาตรา 11 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 26 และ มาตรา 40 เมื่อสมาชิกนิคมได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว และได้เป็นสมาชิกนิคมมาเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีทั้งได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปตาม มาตรา 10 และชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว ให้ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่ผู้นั้น ผู้ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์แล้วจะขอให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดินได้

มาตรา 12 ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณีภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับ
คดี

มาตรา 40 สมาชิกนิคมสหกรณ์ซึ่งได้ปฏิบัติการถูกต้องตาม มาตรา 11 วรรคหนึ่งแล้ว จะขอให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่


 
 




ซื้อขายที่ดิน

ลักษณะการวางมัดจำหรือการชำระหนี้บางส่วน
ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่เจ้าของรวมได้หรือไม่?
หนังสือมอบอำนาจนอกวัตถุประสงค์
โอนสิทธิครอบครองที่ดินระหว่างราษฎรด้วยกัน
ซื้อขายที่ดินตามที่วัดได้จริง
สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม