ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่เจ้าของรวมได้หรือไม่?

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่เจ้าของรวมได้หรือไม่?

โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์แล้วอนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ชั่วคราว ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงได้บอกกล่าวให้จำเลยย้ายออกจากทาวน์เฮาส์ดังกล่าว แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยกับนายวุฒิไกรได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับนายวุฒิไกร ต่อมาได้จดทะเบียนหย่ากัน และได้ทำบันทึกข้อตกลงการหย่ากันว่าจะยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและทาวน์เฮาส์ให้แก่จำเลย จำเลยยังคงอาศัยอยู่ที่ทาวน์เฮาส์พิพาทตลอดมา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  960/2552

          ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาที่ว่าเรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านอันเป็นทรัพย์พิพาท ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัท หากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ร่วมทั้งหมด เพียงแต่ถ้าหากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533

          โจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายให้โจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท และจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้ ในกรณีที่ไม่อาจโอนส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์และโจทก์ร่วมต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาในส่วนนี้แทน

มาตรา 1361  เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้
แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันทรัพย์สินโดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้ ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์

มาตรา 1533  เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

           โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์เลขที่ 161/899 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 42733 โดยซื้อมาจากนายวุฒิไกร เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2540 แล้วอนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ชั่วคราว ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงได้บอกกล่าวให้จำเลยย้ายออกจากทาวน์เฮาส์ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือนละ 8,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากทาวน์เฮาส์ของโจทก์และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 8,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะย้ายทรัพย์สินออกจากทาวน์เฮาส์พิพาท

          จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาว่า จำเลยกับนายวุฒิไกรได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2527 ระหว่างอยู่กินด้วยกันได้ร่วมกันซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทเมื่อปี 2536 ที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับนายวุฒิไกร เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 จำเลยกับนายวุฒิไกรได้จดทะเบียนหย่ากัน และได้ทำบันทึกข้อตกลงการหย่ากันว่าจะยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทให้แก่จำเลย หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว จำเลยยังคงอาศัยอยู่ที่ทาวน์เฮาส์พิพาทตลอดมา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2540 นายวุฒิไกรจดทะเบียนโอนขายที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทให้แก่โจทก์ โดยจำเลยมิได้ให้ความยินยอมและเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต เพื่อมิให้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามบันทึกการหย่าให้แก่จำเลย สัญญาซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่กึ่งหนึ่ง และโจทก์เสียหายไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ขอให้ยกฟ้องและเพิกถอนการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทระหว่างโจทก์กับนายวุฒิไกรเฉพาะส่วนของจำเลย ให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง มิฉะนั้นให้ใช้ราคา 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจำเลยจะได้รับชำระแล้วเสร็จ

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทเป็นของนายวุฒิไกรแต่ผู้เดียว เนื่องจากตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าข้อ 2 มีความว่า “เรื่องทรัพย์สินที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาท ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนชำระต่อบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สินเคหการ จำกัด หากผ่อนชำระเสร็จสิ้นแล้ว จะยกกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย” มีความหมายว่า จำเลยกับนายวุฒิไกรได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งสินสมรสกัน โดยให้ที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทตกเป็นของนายวุฒิไกรแต่ผู้เดียว โดยนายวุฒิไกรให้คำมั่นว่า เมื่อนายวุฒิไกรผ่อนชำระราคาแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย ดังนี้ถือได้ว่าการแบ่งสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายวุฒิไกรได้เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว จำเลยจะมาโต้แย้งในภายหลังไม่ได้ ส่วนคำมั่นจะให้เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่ผูกพันนายวุฒิไกร ทั้งคำมั่นจะให้มีเงื่อนไขบังคับก่อนว่าจะมีผลเมื่อนายวุฒิไกรผ่อนชำระราคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อนายวุฒิไกรขายที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทเสียก่อนชำระราคาเสร็จสิ้น คำมั่นจึงไม่มีผลผูกพัน โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต หากจำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง ราคาที่ดินต้องใช้แทนเป็นเงินเพียง 435,500 บาท มิใช่ 1,000,000 บาท และไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ย ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกนายวุฒิไกรเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นอนุญาต
          โจทก์ร่วมขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์กับโจทก์ร่วมโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 42733 ตำบลบางขุนศรี (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พร้อมทาวน์เฮาส์พิพาทเลขที่ 161/899 เป็นของจำเลยกึ่งหนึ่ง หากโอนไม่ได้ให้ใช้ราคา 1,000,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ (ที่ถูกค่าฤชาธรรมเนียมทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งให้เป็นพับ)
          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนจำเลย
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสกับจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2527 ตามทะเบียนการสมรสเอกสารหมาย ล.1 ต่อมาวันที่ 5 ตุลาคม 2536 โจทก์ร่วมซื้อทาวน์เฮาส์เลขที่ 161/899 ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 42733 ตำบลบางขุนศรี (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จากบริษัทแสนชัยพล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยตามเอกสารหมาย ล.4 และโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สินเคหการ จำกัด ตามเอกสารหมาย จ.5 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 โจทก์ร่วมจดทะเบียนหย่ากับจำเลย ปรากฏตามใบสำคัญการหย่าเอกสารหมาย จ.3 ทะเบียนการหย่าเอกสารหมาย ล.6 และได้ทำบันทึกข้อตกลงด้านหลังของทะเบียนหย่าตามเอกสารหมาย จ.15 ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2540 โจทก์ร่วมได้ขายที่ดินและทาวน์เฮาส์ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นน้องสาวในราคา 2,000,000 บาท ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย แล้วโจทก์นำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามเอกสารหมาย จ.4 โจทก์ยอมรับในชั้นฎีกาว่าที่ดินและทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทเดิมเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย แต่ฎีกาว่าตามบันทึกหลังทะเบียนการหย่าเอกสารหมาย จ.15 ข้อ 2 นั้น หมายความว่า ในระหว่างที่โจทก์ร่วมยังผ่อนส่งชำระหนี้จำนองนั้นให้ตกเป็นของโจทก์ร่วมทั้งหมด เพียงแต่เมื่อโจทก์ร่วมผ่อนส่งชำระหนี้จำนองเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ร่วมจึงจะยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาททั้งหมดให้แก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ร่วมขายทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์นั้นยังผ่อนชำระราคาไม่หมด โจทก์ร่วมยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาททั้งหมดอยู่ โจทก์ผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาททั้งหมดเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาเห็นว่า ควรหยิบยกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าข้อ 2 ตามเอกสารหมาย จ.15 ขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนว่า มีความหมายอย่างไร ข้อตกลงข้อ 2 มีว่า “เรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 161/899 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จำกัด ซึ่งหากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง” เห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ร่วมทั้งหมด เพียงแต่ถ้าหากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ที่บัญญัติว่า ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน กล่าวคือ คนละกึ่งหนึ่ง ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเท่าที่โจทก์ร่วมผู้โอนมีอยู่คือกึ่งหนึ่งเท่านั้น มิใช่ทั้งหมดดังโจทก์ฎีกา แม้โจทก์จะรับซื้อมาโดยสุจริตก็ตาม และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท และจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องข้อให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้ ในกรณีที่ไม่อาจโอนส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์และโจทก์ร่วมต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาแทน

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นประการสุดท้ายมีว่า จำเลยมีสิทธิเรียกให้ชำระราคา 1,000,000 บาท หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทในราคา 2,000,000 บาท ส่วนของจำเลยจึงเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท การที่โจทก์ต้องไปกู้ยืมเงินและชำระราคาให้แก่โจทก์ร่วมไปแล้ว แม้จะมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์ก็ตาม เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาจากโจทก์ร่วมผู้ขายเอง จะให้จำเลยต้องรับผิดในผลอันเกิดจากการกระทำที่จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมให้นำทรัพย์พิพาทไปจำหน่ายด้วยหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมฟ้องเดิมและฟ้องแย้งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
( ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ - ฐานันท์ วรรณโกวิท - อัปษร หิรัญบูรณะ )
 
 

ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?

ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หรือจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จะมีผลอย่างไร? ถือว่าผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกเป็นเหตุให้ทายาทอื่นได้รับความเสียหายและมีสิทธิร้องขอให้ถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่? การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกหากผู้ร้องไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีทายาทโดยธรรม จะมีผลให้ให้ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นการปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่??

มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือครอบครองแทน

โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ สวนยางพาราโดยจดทะเบียนใส่ชื่อนายชัยสิน และจำเลย 9 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนโจทก์โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระหว่างการพิจารณาของศาลจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี

แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุด ซึ่งต้องดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตาย

อำนาจผู้จัดการมรดกขายเพื่อใช้หนี้กองมรดก

อำนาจของผู้จัดการมรดกในการขายที่ดินทรัพย์มรดกเพื่อใช้หนี้กองมรดก ผู้ซื้ออยู่ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแม้ยังไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขาย การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินให้โดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็นทางเสียเปรียบแก่ผู้ซื้อและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ผู้ซื้อที่ดินได้รับความเสียหายขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน

แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้

ฟ้องโดยอาศัยเหตุหย่าอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปีไม่ได้ระบุถึงการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา เหตุหย่าตาม มาตรา 1516 (4/2) นั้น ไม่ได้มีเพียงระยะเวลาที่แยกกันอยู่เกินสามปีเท่านั้น ยังต้องมีองค์ประกอบว่าต้องเป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงองค์ประกอบดังกล่าวไว้ ฟ้องของโจทก์ในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ

ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร

จำเลยอ้างว่า ค่าเช่าห้องเป็นดอกผลของสินสมรส จำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง เท่ากับจำเลยได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว เห็นว่า ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของบิดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมายจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดได้ เชื่อว่าโจทก์และจำเลยต่างก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล

เมื่อมีการประนีประนอมยอมความกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ชอบที่จะต้องขอนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ การที่โจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของผู้เยาว์ โดยไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลจึงตกเป็นโมฆะ
 

 




ซื้อขายที่ดิน

ลักษณะการวางมัดจำหรือการชำระหนี้บางส่วน
หนังสือมอบอำนาจนอกวัตถุประสงค์
โอนสิทธิครอบครองที่ดินระหว่างราษฎรด้วยกัน
ซื้อขายที่ดินตามที่วัดได้จริง
สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
ขายสิทธิครอบครองและส่งมอบการครองครองที่ดิน