
ซื้อขายที่ดินตามที่วัดได้จริง
-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) -ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 ซื้อขายที่ดินตามที่วัดได้จริง จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ตามที่วัดได้จริงหรือที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคา กล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินได้จำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนแล้ว มิใช่ให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมที่ดินก่อนวันรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดิน จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยระบุที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา ต่อมามีการทำสัญญากันใหม่โดยระบุจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อขายกันว่าให้ถือตามที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดิน การซื้อขายรายนี้จึงเป็นการซื้อขายที่ดิน โดยระบุจำนวนเนื้อที่ไว้ในสัญญามิใช่เป็นการซื้อขายแบบเหมายกแปลง ก่อนถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดตรวจสอบเนื้อที่ตามที่จำเลยร้องขอปรากฎว่าแท้จริงที่ดินมีจำนวน 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินจึงแก้ไขจำนวนเนื้อที่ที่ดิน ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2538 เดิมโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่4ไร่1งาน69ตารางวาในราคาตารางวาละ3,100บาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวใหม่โดยระบุว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อขายกันในราคาตารางวาละ3,100บาทเหมือนเดิมตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินต่อมาจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามจำเลยเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่คือ4ไร่2งาน424/10ตารางวาแต่โจทก์จะยอมรับซื้อและชำระราคาที่ดินเฉพาะจำเลยเนื้อที่4ไร่67ตารางวาเท่านั้นดังนั้นเมื่อปรากฎว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงเลื่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังทำการรังวัดไม่แล้วเสร็จย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกันตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคากล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทได้จำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนแล้วมิใช่ให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่ทำหน้งสือสัญญาจะซื้อขายดังนั้นการที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์ประสงค์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวอย่างไรก็ตามที่โจทก์จำเลยไปสำนักงานที่ดินเพื่อทำการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื่อขายแต่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาซึ่งไม่อาจตกลงกันได้และทั้งสองฝ่ายต้องการให้ศาลเป็นผู้ตัดสินแสดงว่าโจทก์ปฏิเสธที่จะรับโอนที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์เข้าใจว่าไม่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้นเห็นได้ว่ากรณีเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำหาได้ไม่ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2531 โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินตราจอง เลขที่ 2624 เลขที่ดิน 16ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน (ปราณบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เนื้อที่ 4 ไร่ 69 ตารางวา ราคาตารางวาละ 3,100 บาท เป็นเงิน5,173,900 บาท ตามสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อขายและตราจองเอกสารท้ายฟ้องหมาย 2 และ 3 ตกลงนัดไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในวันที่ 18 สิงหาคม 2531 เมื่อถึงวันนัดโจทก์เตรียมเงินไปชำระราคาที่ดินตามสัญญา แต่จำเลยขอเลื่อนไปอีก 45 วัน ต่อมาตกลงนัดไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในวันที่ 28 กันยายน 2531เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา แต่จะโอนกรรมสิทธิ์เนื้อที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10 ตารางวา ซึ่งไม่ตรงกับเนื้อที่ที่ระบุไว้ในตราจอง เลขที่ 2624 และจะให้โจทก์ชำระราคาที่ดินเป็นเงิน 5,483,900 บาท โดยอ้างว่าในขณะนั้นตราจอง เลขที่2624 ระบุที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10 ตารางวา การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายเพราะรังวัดเอาที่ดินข้างเคียงทางทิศเหนือซึ่งเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมเข้ากับที่ดินของจำเลยด้วย เป็นเหตุให้มีที่ดินเพิ่มขึ้นอีก173.4 ตารางวา อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินจำนวนที่เพิ่มนั้น ก่อนฟ้องจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงได้มีหนังสือตอบปฏิเสธและแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวและชำระค่าปรับ 825,000 บาท แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองเลขที่ 2624 เลขที่ดิน 16ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน (ปราณบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เนื้อที่ 4 ไร่ 69 ตารางวาเฉพาะส่วนที่ติดต่อกับที่ดินตราจองเลขที่ 1126 เลขที่ดิน 10 ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน (ปราณบุรี)จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แก่โจทก์ ในราคา 5,173,900 บาทหากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจำเลยให้จำเลยชำระค่าปรับ 825,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือภายหลังที่หักเงินมัดจำและค่าปรับตามสัญญาแล้วเป็นเงิน 3,248,900 บาท จากโจทก์ จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินตราจองเลขที่ 2624 ต่อกัน โดยระบุที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา ต่อมามีการทำสัญญากันใหม่ในวันที่3 มิถุนายน 2531 โดยระบุจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อขายกันว่าให้ถือตามที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การซื้อขายรายนี้จึงเป็นการซื้อขายที่ดิน โดยระบุจำนวนเนื้อที่ไว้ในสัญญามิใช่เป็นการซื้อขายแบบเหมายกแปลง ก่อนถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดตรวจสอบเนื้อที่ตามที่จำเลยร้องขอปรากฎว่าแท้จริงที่ดินมีจำนวน 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงแก้ไขจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในตราจอง เลขที่ 2624 ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่ ดังนั้น การซื้อขายที่ดินแปลงนี้จึงเป็นการซื้อขายที่ดินโดยระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาว่ามีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10ตารางวา ราคาตารางวาละ 3,100 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 5,711,440 บาทซึ่งที่ดินที่เจ้าพนักงานทำการรังวัดนี้ไม่ได้รังวัดรวมเอาที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเข้ากับที่ดินของจำเลยด้วยตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน จำเลยพร้อมที่จะส่งมอบและจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวตามจำนวนเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดใหม่ ในราคา 5,711,440 บาท แต่โจทก์ไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว จะชำระให้เพียง 5,173,900 บาท ตามจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ 69 ตารางวา ซึ่งไม่ถูกต้อง จำเลยจึงไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ โจทก์ฎีกา พิพากษายืน ( สมพงษ์ สนธิเณร - สมภพ โชติกวณิชย์ - ไพโรจน์ คำอ่อน ) มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย มาตรา 386 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายการเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
|