
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ การที่กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีหน้าที่แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบ ว่ามีสิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบสวนได้ แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียง่ทำให้ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่านั้น โดยไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2550 แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจ เข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบ ปากคำตนได้ และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้อง หาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบ ปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็หาทำให้การ สอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 5 เม็ด น้ำหนัก 0.45 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อเป็นเงินจำนวน 500 บาท เหตุเกิดที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน จำนวน 5 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายและยึดเงินจำนวน 500 บาท ซึ่งได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยและธนบัตรชนิดต่างๆ จำนวน 1,300 บาท ที่จำเลยได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นของกลางเมทแอมเฟตามีนของกลางหมด ไปในการตรวจพิสูจน์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66 คืนเงินที่ใช้ล่อซื้อแก่เจ้าของและริบเงินจำนวน 1,300 บาท จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 5 ปี คืนเงินล่อซื้อแก่เจ้าของ คำขอนอกจากนี้ให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ลงโทษจำคุก 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะฎีกาข้อ 2.2 ของจำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “สำหรับฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมมิได้เกิดจากความสมัคร ใจ เหตุที่จำเลยลงชื่อรับสารภาพในชั้นจับกุม เนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายจำเลยจนจำเลยเกิดความกลัว เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา คำรับสารภาพในชั้นจับกุมจึงไม่อาจนำมารับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่โต้เถียงว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะถูกทำร้ายร่าง กายจนจำเลยเกิดความกลัวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ก็เป็นการสั่งโดยผิดหลง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่าการตรวจค้นของพยานโจทก์ในคดีนี้ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าการตรวจค้นของพยานโจทก์จะได้กระทำลงไปโดยไม่มีหมาย ค้นอันจะทำให้การค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันอีก ส่วนหนึ่งต่างหากลำพังเพียงเหตุดังกล่าวเพียงเหตุเดียวไม่มีผลถึงกับทำให้ พยานโจทก์มีพิรุธตามที่จำเลยฎีกา ส่วนฎีกาข้อกฎหมายข้อสุดท้ายของจำเลยที่ว่า การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะพนักงานสอบสวนมิได้แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหา (จำเลย) ทราบว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวน ปากคำของตนได้และพนักงานสอบสวนมิได้ให้ทนายความหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจ เข้าฟังการสอบสวนด้วยนั้น เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจ เข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบ ปากคำตนได้และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสงนแจ้งให้ผู้ต้อง หาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบ ปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่าถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่งหรือก่อน ที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าพนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ข้างต้นก็ตามก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น อนึ่ง คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ริบเงินของกลาง 1,300 บาท ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนรายอื่น แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ริบนั้นพอแปลได้ว่าศาลล่างทั้งสองเห็นควรคืนให้แก่เจ้า ของ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคืนแก่เจ้าของ” หมายเหตุ เมื่อบทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคท้าย บัญญัติบทลงโทษการสอบปากคำที่ฝ่าฝืนมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 และการไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาตามมาตรา 134 วรรคหนึ่ง ว่าถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของผู้นั้นไม่ได้แสดงว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้ประสงค์ให้มีการ ลงโทษการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรานี้เฉพาะในเรื่องผลของการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน เท่านั้น เพราะหากจะประสงค์ให้การสอบสวนเสียไปก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นบทตัดพยาน เนื่องจากหากการสอบสวนไม่ชอบก็ตัดอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการโดยผลของ ป.วิ.อ. มาตรา 120 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้า พนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย มาตรา 134/3 ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ มาตรา 134/4 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี
|