ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont                   

 

กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ในกรณีเป็นที่สงสัยว่านายจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเสียก่อนจึงจะชอบด้วยกฏหมาย หรือนายจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องจนมีการเจรจาตกลงกันได้ นายจ้างไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้

  การที่นายจ้างปิดประกาศให้ลูกจ้างมารับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือหนังสือคู่มือพนักงาน ฉบับใหม่เพื่อใช้แทนฉบับเดิม อันมีสาระในการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องขั้นตอนการลงโทษกรณีโทษสถานเบา รายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรง โดยไม่ได้รับความยินยอมของลูกจ้างนั้น แม้นายจ้างจะได้นำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง(หนังสือคู่มือพนักงาน)ไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วก็ตามก็ไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง

               คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396 - 8399/2550

จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยวิธีปิดประกาศให้ลูกจ้างมารับเอกสารดังกล่าวตามหนังสือประกาศ จำเลยมิได้ดำเนินการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้างทราบตามขั้นตอน ทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

 

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 108 บังคับให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมาตรา 110 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โดยให้นายจ้างประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ไม่ได้บัญญัติถึงกระบวนการที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กระบวนการดังกล่าวได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 1 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมาตรา 10 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมิฉะนั้นจำเลยจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตามมาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ต่อไป

จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.2 ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 10 การที่จำเลยประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 โดยวิธีปิดประกาศให้ลูกจ้างมารับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (หนังสือคู่มือพนักงาน) ฉบับใหม่ มิใช่การดำเนินการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้างทราบตามขั้นตอนมาตรา 13 ทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

เมื่อจำเลยใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนที่ไม่เป็นคุณไม่มีผลใช้บังคับมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสี่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสี่ด้วย โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้อง

จำเลยใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 บังคับแก่ลูกจ้างทุกคน เมื่อเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนขั้นตอนการลงโทษกรณีโทษสถานเบา และรายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรง ข้อ 5, 22, 23, 25 ไม่มีผลใช้บังคับ ลูกจ้างอื่นของจำเลยจึงเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำพิพากษาผูกพันจำเลยและลูกจ้างอื่นของจำเลยด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 53

 

 

คดีทั้งสี่สำนวนนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน โดยเรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4

โจทก์ทั้งสี่สำนวนฟ้องขอให้เพิกถอนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับปัจจุบันในส่วนขั้นตอนการลงโทษกรณีความผิดโทษสถานเบา และรายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 5, 22, 23 และ 25 โดยขั้นตอนการลงโทษกรณีความผิดสถานเบาและความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 5 และ 23 นั้นเมื่อยกเลิกแล้วให้ใช้บังคับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (คู่มือพนักงาน) ฉบับแรก และให้คำพิพากษาผูกพันลูกจ้างอื่นของจำเลยด้วย

จำเลยทั้งสี่สำนวนให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรม โจทก์ทั้งสี่เป็นลูกจ้างจำเลย เดิมจำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.2 ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2534 ต่อมาจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานใหม่ตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 แล้ววินิจฉัยว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องและมีผลใช้บังคับมาแล้วในขณะที่สหภาพแรงงานโรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพแรงงานกิจการโรงแรมแห่งประเทศไทย) ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยขอเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.5 หรือ ล.2 วันที่ 2 เมษายน 2547 สหภาพแรงงานกับจำเลยตกลงกันได้ตามเอกสารหมาย ล.9 โดยตกลงให้ผู้แทนสหภาพแรงงานเก็บเงินค่าสมัครกับค่าบำรุงสมาชิกสหภาพแรงงาน และตกลงให้มีการจัดกระดานเพื่อให้สหภาพแรงงานปิดประกาศข่าวสารได้ ส่วนสภาพการจ้างอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับตามเดิม เมื่อจำเลยจดทะเบียนข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.9 ต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้มีอธิบดีมอบหมายตามเอกสารหมาย ล.10 แล้ว ย่อมมีผลให้บังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวผูกพันลูกจ้างและจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 18, 19 โจทก์ทั้งสี่จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนเกี่ยวกับวินัยขั้นตอนการลงโทษ และโทษสถานร้ายแรงอีกไม่ได้ โจทก์ที่ 1 เป็นประธานสหภาพแรงงานและร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนในการเจรจาข้อเรียกร้อง โจทก์ที่ 4 เป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อพิพาทแรงงาน เมื่อสามารถตกลงกันได้จำเลยประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเปิดเผยไว้ ณ สถานที่ลูกจ้างทำงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน และจำเลยนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแล้วตามเอกสารหมาย จ.10 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องและลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาทุกคนตามมาตรา 18, 19 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว พิพากษายกฟ้อง

โจทก์ทั้งสี่สำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า มีปัญหาวินิจฉัยประการแรกว่า คู่มือพนักงานซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนขั้นตอนการลงโทษกรณีโทษสถานเบา รายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 5, 22, 23 และ 25 ที่จำเลยประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 มีผลใช้บังคับหรือไม่ เห็นว่า คู่มือพนักงานตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.1 หรือ ล.13 เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 108 บังคับให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมาตรา 110 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยให้นายจ้างประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น แต่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่ได้บัญญัติถึงกระบวนการที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่กระบวนการดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 1 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมาตรา 10 วรรคสาม บัญญัติไว้ความว่า ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมิฉะนั้นจำเลยจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ต่อไป?

จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.2 ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 10 ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 โดยวิธีปิดประกาศให้ลูกจ้างมารับเอกสารดังกล่าวตามหนังสือประกาศสำคัญเอกสารหมาย จ.3 จำเลยมิได้ดำเนินการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้างทราบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ข้อนี้ฟังขึ้น

มีปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า เดิมจำเลยประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.2 ต่อมาจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.2 ในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องให้ฝ่ายลูกจ้างทราบและประกาศใช้บังคับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับใหม่คือเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ส่วนที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 คือขั้นตอนการลงโทษกรณีโทษสถานเบา และรายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 5, 22, 23 และ 25 ก่อนฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณนั้นแล้วแต่จำเลยไม่ยอมแก้ไข จำเลยให้การว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ข้อ 22 และ 25 จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ต่อศาลแรงงานกลาง โจทก์ที่ 3 ถูกจำเลยลงโทษโดยตักเตือนเป็นหนังสือและไม่ได้รับการพิจารณาขั้นเงินเดือน อันเป็นขั้นตอนการลงโทษกรณีโทษสถานเบาตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 แสดงว่าจำเลยใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 บังคับแก่ลูกจ้างทั้งหมดทั้งที่ความจริงไม่มีผลใช้บังคับตามที่วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นเพราะไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง แม้ว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามเอกสารหมาย ล.2 โจทก์ทั้งสี่ถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ตกลงกันได้ตามเอกสารหมาย ล.9 แต่เมื่อจำเลยใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนที่ไม่เป็นคุณไม่มีผลใช้บังคับมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสี่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสี่ด้วย โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ทั้งสี่ฟังขึ้น

การที่จำเลยประกาศให้ลูกจ้างนำหนังสือคู่มือพนักงานฉบับเก่ามาเปลี่ยนเพื่อขอรับหนังสือคู่มือพนักงานฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย จ.3 แสดงว่าจำเลยใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (คู่มือพนักงาน) เอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 บังคับแก่ลูกจ้างทุกคน เมื่อเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนขั้นตอนการลงโทษกรณีโทษสถานเบาและรายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 5, 22, 23 และ 25 ไม่มีผลใช้บังคับลูกจ้างอื่นของจำเลยจึงเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำพิพากษาผูกพันจำเลยและลูกจ้างอื่นของจำเลยด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 53

พิพากษากลับว่า คู่มือพนักงานซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.1 หรือ ล.13 ในส่วนรายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 22 และข้อ 25 ไม่มีผลใช้บังคับ สำหรับในส่วนขั้นตอนการลงโทษสถานเบาและรายละเอียดความผิดโทษสถานร้ายแรงข้อ 5 และข้อ 23 ให้ใช้บังคับตามคู่มือพนักงานซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย จ.2 ในส่วนโทษที่จะได้รับตามความผิดประเภท “ก” และประเภท “ค” ข้อ 5 และข้อ 20 ให้คำพิพากษานี้ผูกพันจำเลยและลูกจ้างของจำเลยทุกคน.

( วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ - พิชิต คำแฝง - จรัส พวงมณี )

ศาลแรงงานกลาง - นายฐนยศ คีรีนารถ

 

 สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย

ผู้คัดค้านอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายมาตั้งแต่เด็ก รับรองและแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นบุตร ส่งเสียให้การศึกษา ถือได้ว่าผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว แต่ผลของกฎหมายเพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้  

มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้

 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้