
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งห้าได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8598/2550 มาตรา 223 ทวิ ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทำเป็น คำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย อุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายใน กำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดย ตรงต่อศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคำร้องในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้องให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223คำสั่งของศาล ชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคำร้องในกรณีนี้ให้เป็น ที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าเป็นการ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ไปยังศาลฎีกาภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลฎีกาส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ชี้ขาดต่อไป โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งห้าได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและไม่เชื่อถือพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ เป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นข้อเท็จจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจมีกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 7 คน ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ท. และ ส. ฟ้องคดีนี้ซึ่งถือว่าเกินกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดและเป็นเสียงข้างมาก การวินิจฉัยชี้ขาดให้ฟ้องคดีถือว่าชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และระเบียบข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านโจทก์ เพราะระเบียบดังบกล่าวไม่ได้กำหนดว่าคณะกรรามการหมู่บ้านต้องมอบอำนาจให้ครบทั้ง 9 คน ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ส่วนคำเบิกความของ ท และ ส. ที่ว่าได้รับมอบอำนาจจากคณะกรราการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 9 คน ก็ไม่ขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์เพราะเป็นการเบิกความรวมถึงตัว ท. และ ส. ผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นกรรมการด้วย เมื่อ ท. และ ส. เบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุดใหม่ของโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้านั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้แล้วว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ถือเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายและอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า ระหว่างเดือนกันยายน 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 จำเลยทั้งห้ากระทำการทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไปหลายครั้ง รวมเป็นเงิน 484,728.08 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันชดใช้เงิน จำนวน 517,409.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 484,728.08 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ 5 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งห้าได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาพอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ววรรคหนึ่ง แล้ว สำหรับปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องที่โจทก์อุทธรณ์นั้นในปัญหานี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีนายทองดี ปิงใน และนายเสาร์แก้ว สายวงค์ปัญญา ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เป็นพยานเบิกความว่า ได้รับมอบอำนาจให้ฟัองคดีนี้ จากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 9 คน ลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจตามหนังนสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุดใหม่ซึ่งมีจำนวน 9 คน ก่อนทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีกรรมการลาออก 2 คน ที่ประชุมได้เลือกนายทองดีและนายเสาร์แก้วเป็นกรรมการแทน แต่โจทก์มิได้ส่งบันทึกการประชุมเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุดใหม่ การประชุมเลือกนายทองดีและนายเสาร์แก้วเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ลาออก และมติที่ประชุมเกี่ยวกับการฟ้องคดีนี้ต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งคำเบิกความของนายทองดีและนายเสาร์แก้วก็ขัดแย้งกับคำฟ้องที่ระบุว่าคณะกรราการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 7 คน เป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์มอบยอำนาจให้นายทองดีและนายเสาร์แก้วฟัองคดีนี้จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟัอง พิพากษายกฟัอง เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ฟ้องโจทก์ก็โดยวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและไม่เชื่อถือพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบดังกล่าวซึ่งเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจมีกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 7 คนลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้นายทองดี และนายเสาร์แก้วฟัองคดีนี้ซึ่งถือว่าเกินกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดและเป็นเสียงข้างมาก การวินิจฉัยชี้ขาดให้ฟัองคดีถือว่าชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และระเบียบข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านโจทก์ เพราะระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าคณะกรรมการหมู่บ้านต้องมอบอำนาจให้ครบทั้ง 9 คน ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ส่วนคำเบิกความของนายทองดีและนายเสาร์แก้ว ที่ว่า ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 9 คน ก็ไม่ขัดแยังกับคำฟัองของโจทก์เพราะเป็นการเบิกความรวมถึงตัวนายทองดีและนายเสาร์แก้ว ผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นกรรมการด้วย เมื่อนายทองดีและนายเสาร์แก้วเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจจากคณะกรรมการทองทุนหมู่บ้านชุดใหม่ของโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า นั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้แล้วว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ถือเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายและอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้น จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคยวามแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อพิจารณาต่อไป" พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาต่อไป (วีระชาติ เอี่ยาประไพ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - มนูพงศ์ รุจิกัณหะ) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลฎีกาส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ชี้ขาดต่อไป
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย ผู้คัดค้านอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายมาตั้งแต่เด็ก รับรองและแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นบุตร ส่งเสียให้การศึกษา ถือได้ว่าผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว แต่ผลของกฎหมายเพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
|