ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด

 ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont              

 อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด

อายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดต่มูลละเมิดมีได้สองกรณีคือ อายุความ 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรืออายุความ 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด คดีนี้เหตุละเมิดเกิดขึ้นในปี 2522 ถึง 2523 โจทก์ฟ้องในปี 2542 เกิน 10 ปีจึงขาดอายุความละเมิด

             คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2550

ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ บทบัญญัติดังกล่าวที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิดนั้นวันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น ส่วนผลของการทำละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่งวันทำละเมิดกับวันที่ผลของการทำละเมิดเกิดขึ้นจึงต่างกัน คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาณเลินเล่อ รังวัดที่ดินออก น.ส.3 ก. ของโจทก์ โดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2523 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองร่วมกันจงใจหรือประมาทเลินเล่อ โดยจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการตำแหน่งช่างรังวัดประจำสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ทำการรังวังที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของโจทก์ กับระบุความเป็นมาของที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของนายอ้วน  มีแนวเขตด้านทิศใต้และทิศตะวันออกบางส่วนจดที่ราชพัสดุ นายอ้วนได้ดำเนินการขอเปลี่ยนหลักฐานในที่ดินจาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. หลายแปลงเพื่อแบ่งขายให้โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการรังวัดออก น.ส.3 ก. ให้แก่นายอ้วน แล้วนายอ้วนขายที่ดิน 2 แปลงให้โจทก์ และโจทก์ได้ขอรังวัดรวมที่ดิน 2 แปลงเป็นแปลงเดียวกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการให้แล้วออกหลักฐานเป็น น.ส.3 ก. แก่โจทก์ ต่อมาราชพัสดุจังหวัดพะเยาได้ดำเนินการรังวัดที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ยื่นหนังสือคัดค้าน จึงถูกกระทรวงการคลังเป็นโจทก์ที่ 1 และกรมธนารักษ์เป็นโจทก์ที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ออกจากที่ดินคิดเป็นเนื้อที่ 76 ตารางวา คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 มีใจความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 2 รังวัดที่ดินเพื่อออก น.ส.3 ก. ให้แก่นายอ้วนและโจทก์โดยมิชอบ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียที่ดินเนื้อที่ 76 ตารางวา โจทก์ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในการต่อสู้คดี รวมทั้งค่าสิ่งปลูกสร้างในที่ดินสูญเสียรวมเป็นเงิน 210,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 210,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 โจทก์ฟัองคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 พ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความจำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัว ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ค่าเสียหายไม่ควรเกิน 45,556.64 บาท ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกมีว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขาดอายุความ บทบัญญัติดังกล่าวที่ให้นับอายุความสิบปีนับจากวันทำละเมิดนั้น วันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น ส่วนผลของการทำละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันทำละเมิดกับวันที่ผลของการทำละเมิดเกิดขึ้นจึงแตกต่างกัน คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน 2522 ถึงเดือนสิงหาคม 2523 จำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาทเลินเล่อรังวัดที่ดินออก น.ส.3 ก. ของโจทก์ โดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ มูลละเมิดย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2523 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลคดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ต่อไป”
พิพากษายืน

( สุรศักดิ์ สุวรรณประกร - รัตน กองแก้ว - สุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ )
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด

แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิด มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมา นั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ

 

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย

ผู้คัดค้านอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายมาตั้งแต่เด็ก รับรองและแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นบุตร ส่งเสียให้การศึกษา ถือได้ว่าผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว แต่ผลของกฎหมายเพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้