
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
-ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line :
(1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
เรื่อง ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่หากทรัพย์สินนั้นยังอยู่ในความครอบครองของผู้ขาย และทรัพย์นั้นถูกลูกจ้างของผู้ขายเองลักไปในระหว่างการส่งมอบให้ผู้ซื้อ จึงเกิดความเสียหายแก่ผู้ขาย ผู้ขายจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีร่วมกับพนักงานอัยการได้
คำว่า “ผู้เสียหาย” ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550
คำว่า “ผู้เสียหาย” ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองร่วมกันลักอาหารสัตว์ชนิดเม็ด 424 กิโลกรัม ราคา 4,240 บาท ของบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด ผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 335 (7) (11) และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 4,240 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณาบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 จำคุก คนละ 1 ปี ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 4,240 บาท แก่โจทก์ร่วม
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งในชั้นฎีการับฟังได้ว่า วันเกิดเหตุตามฟ้องเวลาประมาณ 8 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมขับรถยนต์บรรทุกอาหารสัตว์ของโจทก์ร่วมคันหมายเลข 31 บรรทุกอาหารสัตว์ชนิดเม็ดอันเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ร่วมออกจากโรงงานของโจทก์ร่วมที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมทำหน้าที่พนักงานประจำรถเพื่อนำอาหารสัตว์ที่บรรทุกไปส่งที่ฟาร์ม 156 ของบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ลูกค้าผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ร่วมที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ก่อนจำเลยที่ 1 ขับรถออกเดินทางได้มีการชั่งน้ำหนักรถยนต์บรรทุกอาหารสัตว์คันหมายเลข 31 ครั้งหนึ่ง แล้วชั่งน้ำหนักรถยนต์ดังกล่าวหลังจากนำอาหารสัตว์ขึ้นบรรทุกอีกครั้งหนึ่งเพื่อคำนวณน้ำหนักอาหารสุกรที่บรรทุก จากนั้นนายพิชัย บุญช่วยเจริญพร พนักงานแผนกจัดส่งอาหารสัตว์ของโจทก์ร่วมออกใบออกของชั่วคราวให้จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้บริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ลงชื่อรับสินค้าในใบออกของชั่วคราว เพื่อนำกลับมามอบให้โจทก์ร่วมกับนายพิชัยได้ออกใบผ่านออกนอกโรงงานสำหรับรถบรรทุกให้จำเลยที่ 1 วันเกิดเหตุหลังจากจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกอาหารสัตว์คันหมายเลข 31 ถึงฟาร์ม 156 แล้วได้มีการนำรถยนต์ดังกล่าวไปชั่งน้ำหนัก เพื่อคำนวณน้ำหนักอาหารสัตว์ที่บรรทุกด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักคอมพิวเตอร์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดอโศกอุตสาหกิจ ซึ่งประกอบกิจการรับโม่และย่อยหิน ตั้งอยู่ที่ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง ต่อหน้าจำเลยที่ 1 ผลปรากฏว่าน้ำหนักอาหารสัตว์ขาดจำนวนจากต้นทางไป 424 กิโลกรัม โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อรับทราบจำนวนน้ำหนักอาหารสัตว์ที่ขาดหายไปไว้ในใบออกของชั่วคราวที่ช่องหมายเหตุด้วย ต่อมาโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ผู้จัดการฝ่ายธุรการของโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นประการแรกว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักอาหารสัตว์ 424 กิโลกรัม ราคา 4,240 บาท อันเป็นอาหารสัตว์หนึ่งที่โจทก์ร่วมนำขึ้นบรรทุกรถยนต์บรรทุกอาหารสัตว์ค้นหมายเลข 31 เพื่อจัดส่งบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ลูกค้าผู้ซื้อในวันเกิดเหตุจริงหรือไม่ เห็นว่า พยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำรถยนต์คันเกิดเหตุขับออกนอกเส้นทางตามปกติเข้าไปในซอยเกิดเหตุแล้วอาหารสัตว์ที่บรรทุกหายไป 424 กิโลกรัม โดยซอยเกิดเหตุเป็นถนนลูกรังซึ่งมีสภาพเปลี่ยวและเป็นทางตัน จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะฟังว่าจำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์คันเกิดเหตุเข้าไปในซอยเกิดเหตุนั้นด้วยความสุจริต พยานแวดล้อมกรณีเหล่านี้เมื่อรับฟังประกอบกันแล้วรูปคดีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักอาหารสัตว์ 424 กิโลกรัม ราคา 4,240 บาท ไปจากรถยนต์บรรทุกอาหารสัตว์คันหมายเลข 31 จริง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองต่อไปว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายหรือไม่ โดยจำเลยทั้งสองอ้างในฎีกาทำนองว่า อาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมขายให้บริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด นั้น ได้มีการชั่งน้ำหนักจากต้นทางอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งแล้วกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่ชั่งน้ำหนักย่อมตกเป็นของบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ผู้ซื้อทันที บริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัดย่อมต้องรับภัยพิบัติหรือบาปเคราะห์ และเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าดำเนินคดีได้ ในปัญหาข้อนี้ เห็นว่า คำว่า “ผู้เสียหาย” ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความตามที่วินิจฉัยไว้ในปัญหาข้อแรกว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุอาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์รวมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ผู้ซื้อ โจทก์รวมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วยไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่ง โดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ขณะอยู่ในความครบครองของโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ จึงเห็นสมควรไม่วินิจฉัยชี้ชัดลงไปว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมครอบครองเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด ได้โอนไปยังบริษัทเซนทาโกฟาร์ม จำกัด แล้วหรือไม่ เพราะอาจเป็นเรื่องที่คู่สัญญามีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นแต่ไม่มีการนำข้อเท็จจริงเข้ามาสู่การพิจารณา ทั้งอาจทำให้การสั่งให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่เจ้าของที่แท้จริงมีผลคลาดเคลื่อนจากความจริงได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”
พิพากษายืน แต่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 4,240 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่เจ้าของ
( ปรีดา พูนคำ - องอาจ โรจนสุพจน์ - พิทักษ์ คงจันทร์ )
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ในเวลากลางคืน
(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือ ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะ อื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัย โอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัว ภยันตรายใด ๆ
(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ
(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทาง คนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วย ประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สอง คนขึ้นไป
(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้ บริการสาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ ในสถานที่นั้น ๆ
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถ หรือเรือสาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยาน สาธารณ
(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มา จากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะ ดังที่บัญญัติไว้ในอนุ มาตรา ดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุ มาตรา ขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับ ประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรานี้ เป็นการกระทำ โดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานและทรัพย์นั้นมีราคา เล็กน้อยศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ก็ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้
(1).....(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4, มาตรา 5 และ มาตรา 6
(5).....
มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อ แตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะ ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชกรีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับ ของโจร และทำให้เสียทรัพย์หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด โดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่ โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลย เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐาน ความผิดหรือบท มาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้
ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิด อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้
มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี