
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
สิทธิของผู้รับจำนองต่อทรัพย์ที่จำนองในกรณีที่ทรัพย์จำนองถูกเจ้าหนี้ อื่นยึดไว้ขายทอดตลาดนั้นต้องเป็นไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 289 คือให้นำเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ดังกล่าวได้นำมาชำระหนี้ให้ กับผู้รับจำเนองก่อน หากมีเงินเหลือเจ้าหนี้อื่นจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ผู้ จำนองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแม้ว่าผู้จำนองจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี ที่ทรัพย์ถูกยึดนำออกขายทอดตลาดก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้รับจำนองในฐานะเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิของเจ้า หนี้จำนองซึ่งถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเพื่อรับชำระหนี้จำนอง ในส่วนของทรัพย์ที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของรวม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2550 ผู้ร้อง(ธนาคารกรุงเทพ จำกัด) อ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ เนื่องจากผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวร่วมกับจำเลย ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองใน กึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แม้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย แต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิของเจ้า หนี้จำนองซึ่งถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเพื่อรับชำระหนี้จำนอง ในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ได้ ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของผู้คัดค้านจึงขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เห็นได้ว่าผู้ร้องตั้งเรื่องมาในคำร้องและระบุท้ายคำร้องชัดเจนว่าเป็นการขอ ใช้สิทธิตามมาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามกำหนดเวลาของมาตรา 289 วรรคสอง คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จำเลยชำระเงินจำนวน 581,250 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท นับจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540) ไปจนกว่าชำระเสร็จ โดยการผ่อนชำระ ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 20589 ตำบลหนองอ้อ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ของจำเลยเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษา ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่ผู้ร้องเป็น โจทก์ฟ้องจำเลยกับนางวไลพร ผู้คัดค้าน ต่อศาลจังหวัดราชบุรี คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 300/2540 และเป็นผู้รับจำนองที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดเพื่อบังคับคดี โดยผู้ร้องยินยอมให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้า หนี้อื่นในหนี้สินที่จำเลยค้างชำระตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ศาลชั้นต้นอนุญาต ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2545 ว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ ในราคา 4,725,000 บาท ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นในเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ได้ เฉพาะส่วนของผู้คัดค้านกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีไม่จำเป็นต้องไต่สวนเพราะผู้คัดค้านมิได้ถูกโจทก์ฟ้องในคดีนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองส่วนของผู้คัดค้านเข้ามาในคดีนี้ไม่ ได้ จึงให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องให้เป็นพับ ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดี นี้ ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ผู้คัดค้านฎีกา คดีมีปัญหาประการที่สองต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้แล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง หรือไม่ เห็นว่า ตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ใน คดีนี้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของผู้คัดค้านจึงขอใช้สิทธิตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 จากคำร้องดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า ผู้ร้องตั้งเรื่องมาในคำร้องและระบุท้ายคำร้องชัดเจนว่าเป็นการขอใช้สิทธิ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 ดังที่ได้วินิจฉัยแล้ว โดยมิได้อ้างสิทธิตามมาตรา 289 โดยตรง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามกำหนดเวลาของมาตรา 289 วรรคสอง ฎีกาของผู้คัดค้านในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ มาตรา 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับ เหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่น ว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้ มาตรา 289 ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัย อำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่ง บุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดั่งกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้ มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี
|