
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
หนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ทั้งสองจำนวน 1,187,093.-บาท ถือเป็นหนี้ร่วมที่ลูกหนี้ทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดเจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลาย ได้ เพราะเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งจนสิ้นเชิงหรือแต่โดย ส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่า หนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้ว เมื่อมิได้ชำระหนี้ดังกล่าวเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ ล้มละลายได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 1349/2550 จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาท และโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม การที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดย สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จ สิ้นเชิงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จ สิ้น โจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้ โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามพระราช บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบยอมรับว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำ พิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้คดีหมายเลขแดงที่ 3534/2547 จริง โดยคงให้การและนำสืบโต้แย้งเฉพาะในประเด็นว่าจำเลยทั้งสองไม่มีหนี้สินล้น พ้นตัวเท่านั้น และข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่อุทธรณ์โต้แย้งรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็น หนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ในคดีหมายเลขแดงที่ 3534/2547 ที่พิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2547 โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาทและโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2547 หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวสามารถแบ่งแยกจากกันได้โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิด เป็นส่วนเท่า ๆ กัน จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์เพียง 608,442.29 บาท นั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดย สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จ สิ้นเชิงแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จ สิ้นโจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนอง ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับ ชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่ โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี อายุความคดีมรดก กับอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก ในกรณีที่เจ้ามรดก ขณะถึงแก่ความตายไม่มีคู่สมรสและบุตร บิดามารดาถึงแก่ความตายไปแล้วมรดกจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มีปัญหาว่าถ้าพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกแล้วส่วนของพี่น้องที่ตายก่อนเจ้ามรดกจะตกได้แก่ผู้ใด?
|